Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2003
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนิจ นิจอนันต์ชัย-
dc.contributor.authorสุเมธ มิ่งดอนไพร-
dc.date.accessioned2024-04-06T14:14:20Z-
dc.date.available2024-04-06T14:14:20Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2003-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546.th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทุนทางสังคมของชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทุนทางสังคมของชุมชนชาวอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 304 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์โดยใช้ตารางไขว้และค่าไค-สแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 31-40 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา สถานภาพสมรส เป็นผู้สมรสและอยู่ด้วยกัน ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้ต่อเดือน 6,001 บาทขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชุมชน ระหว่าง 21-40 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทุนทางสังคมในระดับให้ความสนใจในปัญหาและชักชวนคนอื่นๆ ให้ร่วมกันอนุรักษ์ทุนทางสังคม โดยกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมอนุรัก์ในระดับสูงสุด คือ การวางแผนและร่วมกิจกรรม ได้แก่ การอนุรักษ์การจัดงานประเพณีนมัสการองค์หลวงปู่ปานบางบ่อ รองลงมา คือ การอนุรักษ์การปลูกฝังคุณธรรม เรื่อง ความกตัญญูและความซื่อสัตย์ให้แก่บุตรหลาน จากกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยได้พิจารณาตัวแปรด้านเพศ อาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน พบว่าตัวแปรทั้ง 4 ตัว มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมดังนี้ คือด้านเพศ ปรากฏว่า เพศชายมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ขึ้นไป จนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าเพศหญิง ด้านอาชีพ ปรากฏว่า อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ขึ้นไป จนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ด้านระดับการศึกษาพบว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงมีความสนใจ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ไปจนถึงการเข้าร่วมกิจกรรม ด้านทุนทางกายภาพ ในเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำในคลองสกปรก เน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของเรื่องสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่า ส่วนด้านระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนพบว่า ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทุนทางสังคม ตั้งแต่ระดับการวางแผนอนุรักษ์ขึ้นไปจนถึงการเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้ คือ ผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 10-20 ปี มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การทำบุญในวันพระ การถือศีบ 5 อย่างเคร่งครัดในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 21-30 ปี มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านทุนทางกายภาพได้แก่ การเลี้ยงปลาสลิด การทำปลาสลิดตากแห้ง และการใช้แพทย์แผนโบราณในการรักษาโรค ส่วนทุนทางด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การถือศีล 5 อย่างเคร่งครัดในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ การรักท้องถิ่นด้วยการคงอยู่ในท้องถิ่น ความสามัคคีของชุมชน เช่น การขอแรงกัน (การลงแขก) ผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 31-40 ปี มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านทุนทางกายภาพ ได้แก่ การใช้แพทย์แผนโบราณในการรักษาโรค ส่วนผู้ที่อยู่อาศัยระยะเวลา 40 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคม ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การจัดงานประเพณีนมัสการองค์หลวงปู่ปานบางบ่อ และการปลูกฝังคุณธรรมและความซื่อสัตย์ให้แก่บุตรหลาน จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ประชาชนเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมดังต่อไปนี้ 1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมของสตรีให้เพิ่มมากขึ้น 2. ส่งเสริมอาชีพให้คนอยู่ในพื้นที่ได้นานๆ จะได้มีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมได้ 3. ปลูกจิตสำนึกของประชาชนในชุมชน ให้รู้สึกรักและหวงแหนทุนทางสังคมที่มีอยู่และช่วยกันรักษา ปกป้อง ร่วมถึงการช่วยกันสืบทอดสู่ลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป 4. ต้องส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนแปลงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในหลายๆ ด้าน ให้เป็นสินทรัพย์โดยที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมและมีผลประโยชน์ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้การบริหารที่ดี โปร่งใส่ เป็นธรรม เมื่อประชาชนมีรายได้ที่ดี พออยู่ พอกิน พอใช้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนและครอบครัว ก็จะทำให้ใส่ใจสนใจเรื่องอื่นๆ ซึ่งก็รวมกึงการมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมก็จะมีสูงขึ้นไปด้วย 5. ควรมีหน่วยงานโดยเฉพาะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับทุนทางสังคมเพื่อคอยให้คำแนะนำปรึกษา สนับสนุน ส่งเสริม ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมที่มีอยู่ในแต่ละชุมชน โดยใช้บุคลากรหรือองค์การที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น งานพัฒนาชุมชน เกษตรอำเภอ สาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งกระจายกันอยู่ทุกอำเภอทั่วประเทศไทยอยู่แล้ว 6. ควรบรรจุวิชาทุนทางสังคมเบื้องต้นในหลักสูตรประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นการทำความเข้าใจ สนับสนุน ส่งเสริม และปลูกฝังให้เยาวชนได้มีความรู้และตื่นตัวตั้งแต่ยังเล็กๆ ในการเข้ามีส่วนร่วมในการรักษาทุนทางสังคมth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectSocial participation -- Thailand -- Samut Prakarn.th
dc.subjectบางบ่อ (สมุทรปราการ) -- ความเป็นอยู่และประเพณีth
dc.subjectBang Bo (Samut Prakarn) -- Social life and customsth
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- บางบ่อ (สมุทรปราการ)th
dc.subjectLocal wisdom -- Thailand -- Bang Bo (Samut Prakarn)th
dc.subjectทุนทางสังคม -- ไทย -- บางบ่อ (สมุทรปราการ)th
dc.subjectSocial capital (Sociology) -- Thailand -- Bang Bo (Samut Prakarn)th
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาทุนทางสังคม : ศึกษาเฉพาะชุมชนอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativePeople' s Participation in Social Capital Keep : A Case Study of Community in Amphur Bangbo, Samutprakarn Provinceth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumet-Mingdonprai.pdf15.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.