Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorThanya Sanitwongse Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorจักรวาล ต่างมงคล-
dc.contributor.authorJakrawal Tangmongkol-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2024-04-27T13:29:21Z-
dc.date.available2024-04-27T13:29:21Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2069-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545th
dc.description.abstractการศึกษาการปฏิบัติตนทางพุทธศาสนาของผู้สูงอายุ ในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุในศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุ กรมประชาสงเคราะห์ กรุงเทพมหานคร มีการปฏิบัติตนทางพุทธศาสนาแตกต่างกัน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะถดถอยของผู้สูงอายุ การทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ ความเชื่อทางพุทธศาสนา และทัศนคติต่อการสูงอายุกับการปฏิบัติตนทางพุทธศาสนาของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ทั้งชายและหญิงที่นับถือศาสนาพุทธ ที่เข้าร่วมกิจกรรมในศูนย์บริการทางสังคมผู้สูงอายุรวมทั้งหมดจำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นผู้มีสถานภาพสมรสเป็นผู้สมรส ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่จะอยู่กับบุตร และมีบ้านเป็นของตัวเอง รายได้ส่วนใหญ่มีพอใข้ และไม่มีหนี้สิน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกชมรมและมีโรคเป็นบางครั้ง ในส่วนของภาวะถดถอยของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีลักษณะถดถอย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของการศึกษานี้มีความรู้สึกอ่อนแอ เป็นทุกข์ เบื่อหน่าย กลัว เห็นว่าตนเองเป็นคนไร้ค่า ฯลฯ ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ในด้านการทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ พบว่าในด้านการทำกิจกรรม การร่วมกิจกรรมทางศาสนามากเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ กิจกรรมการอ่านหนังสือ ถัดมาคือการออกกำลังกาย กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมอาชีวะบำบัด และกิจกรรมอาสาสมัครตามลำดับ ในด้านทัศนคติของผู้สูงอายุ ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการสูงอายุค่อนข้างดี ยอมรับภาวะการสูงอายุของตนได้ในระดับค่อนข้างสูง สำหรับการศึกษาความเชื่อทางพุทธศาสนา ผู้สูงอายุมีความเชื่อทางพุทธศาสนาในระดับค่อนข้างสูง จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าผู้สูงอายุที่มีรายได้พอใช้มีการปฏิบัติทางพุทธศาสนาสูงกว่าผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่พอใช้จ่ายและไม่เหลือ ในด้านหนี้สิน ผู้สูงอายุที่ไม่มีหนี้สินมีการปฏิบัติทางพุทธศาสนาสูงกว่าผู้สูงอายุที่มีหนี้สิน เนื่องจากผู้สูงอายุที่มีหนี้สินน่าจะอยู่ในกลุ่มที่มีรายได้น้อย จึงน่าจะเป็นผู้ที่ต้องทำงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงชีพและชดเชยหนี้สิน ในด้านการเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมมีการปฏิบัติทางพุทธศาสนามากกว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกชมรม เนื่องจากผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม น่าจะเป็นผู้ที่มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน เช่น น่าจะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยเหลือตนเองได้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจพอใช้ มีเวลาว่างพอเพียง จึงสามารถร่วมกิจกรรมชมรมได้ ซึ่งอาจจะมีการชักชวนกันระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุ น่าจะมีการปฏิบัติตนตามแนวทางพุทธศาสนา ภาวะถดถอย ผู้สูงอายุที่มีภาวะถดถอยมาก มีความรู้สึกเป็นทุกข์ เบื่อ ยอมรับความแก่ ท้อแท้ ฯลฯ ในระดับสูงจะมีการปฏิบัติทางศาสนาน้อย การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ผู้สูงอายุที่มีการร่วมกิจกรรมทางศาสนามากส่งผลให้ปฏิบัติตนทางพุทธศาสนามาก ในส่วนของทัศนคติต่อการสูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีทัศนคติการสูงอายุดี จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเรื่องสภาพร่างกายาและสรีระได้ดี ส่วนผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อการสูงอายุต่ำ จะไม่ค่อยยอมรับความจริงของสภาพการสูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีทัศนคติที่ดีต่อการสูงอายุมีการปฏิบัติทางพุทธศาสนาสูงกว่าผู้ที่มีทัศนคติที่ไม่ดี ทั้งนี้อาจจะเกิดจากผู้ที่ยอมรับการสูงอายุหรือทำใจได้ในการสูงอายุ ยอมรับความแก่ความเสื่อมถอยทางร่างกายได้ เป็นผู้ที่มีพัฒนาการปกติตามวัยของผู้สูงอายุ ส่วนความเชื่อทางพุทธศาสนา ผู้สูงอายุที่มีความเชื่อทางพุทธศาสนาสูงมีการปฏิบัติทางพุทธศาสนาสูงด้วย ข้อเสนอแนะให้ภาครัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจัดสวัสดิการเพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมทางศาสนาให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุเพื่อสนองตอบกับความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เพื่อผู้สูงอายุได้เข้าสู่วัยสูงอายุอย่างเป็นสุข และสถาบันศาสนา ควรทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาให้แก่ประชาชน เพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจและใช้ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวอันจะทำให้ทุกคนมีชีวิตที่เป็นสุขth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectผู้สูงอายุth
dc.subjectOlder peopleth
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิตth
dc.subjectOder people -- Conduct of lifeth
dc.subjectการปฏิบัติธรรมth
dc.subjectMeditationth
dc.subjectธรรมะกับชีวิตประจำวันth
dc.titleการปฏิบัติตนทางพุทธศาสนาของผู้สูงอายุ : ศึกษาเฉพาะผู้ใช้บริการในศูนย์บริการเขตเมืองทางสังคมผู้สูงอายุ กรมประชาสงเคราะห์ กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeElderly's Buddhist Practice : A Study of the Elderly in the Metropolitan Socal Service Center, Public Welfare Department, Bangkokth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chakkrawan-Tangmongkol.pdf
  Restricted Access
12.4 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.