Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2077
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโชคชัย สุทธาเวศ-
dc.contributor.advisorChokchai Suttawet-
dc.contributor.authorคำนวณ หลีเสงี่ยม-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2024-04-27T15:17:31Z-
dc.date.available2024-04-27T15:17:31Z-
dc.date.issued1998-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2077-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541th
dc.description.abstractการศึกษาถึงสถานภาพที่เป็นจริงและความต้องการการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลต่างกันมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงานความต้องการในรูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความคาดหวังในอนาคตทางการศึกษา อาชีพและการได้รับประโยชน์จากการศึกษาทั้งในด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าต่อการงานภายหลังสำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดสมุทรปราการร ที่เข้ารับบริการการศึกษา และผู้ใช้แรงงานที่สำเร็จการศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 365 คน จากศูนย์บริการจำนวน 6 ศูนย์ 94 หน่วยบริการ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ และแบบประมาณค่าห้าตัวเลือก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมการศึกษานอกระบบโรงเรียน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สายสามัญ แบบเรียนทางไกล ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานหญิง โสด อายุต่ำกว่า 30 ปี มีรายได้เฉลี่ยระหว่าง 5,000-7,000 บาท เป็นแรงงานที่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าร้อยละ 50 ได้เข้าศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนหลักสูตรมัธยมศึกษา ที่เปิดบริการในสถานประกอบการและนอกสถานประกอบการที่เป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ จากการศึกษาถึงสถานภาพและความต้องการ การศึกษาของผู้ใช้แรงงานเหล่านี้ พบว่า 1. ประโยชน์ของการสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ใช้แรงงานโดยส่วนรวมได้ใช้วุฒิทางการศึกษาเพื่อศึกษาต่อไปในระดับสูงขึ้นไป และพัฒนาตนเองในด้านการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต มีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่มากที่ได้รับการเพิ่มเงินเดือนและเปลี่ยนตำแหน่งทางหน้าที่การงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ทั้งนี้ เพราะผู้ใช้แรงงานเข้าศึกษาโดยไม่มีเงื่อนไขตกลงไว้กับสถานประกอบการ 2. ความก้าวหน้าในหน้าที่ภายหลังสำเร็จการศึกษา มีสถานประกอบการจำนวนไม่มากที่ได้ดำเนินการในความก้าวหน้าทางอาชีพของผู้ใช้แรงงาน เช่น ในรูปของการสนับสนุนให้ศึกษาต่อขึ้นไป เพิ่มเงินเดือน และเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นไป ความคาดหวังของผู้ใช้แรงงานในด้านนี้อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ใช้แรงงานดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างหรือมีเงื่อนไขตกลงกับสถานประกอบการในเรื่องการเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3. ความต้องการการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงาน โดยส่วนรวมมีความต้องการการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่จัดในสถานประกอบการหรือสถานที่สถานประกอบการสนับสนุนโดยมีเหตุผลสำคัญที่สุด คือ มั่นใจว่าเข้าเรียนแล้วสำเร็จการศึกษา ในอีกส่วนหนึ่ง คือ ได้รับการสนับสนุนจากสถานประกอบการให้เข้าศึกษา การสนับสนุนอาจจะอยู่ในรูปวัตถุหรือการให้เงื่อนไข ข้อตกลง จากการศึกษายังพบอีกว่าค่าใช้จ่ายในการศึกษาผู้ใช้แรงงานที่เข้าร่วมศึกษาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเอง แต่มีสถานประกอบการให้การสนับสนุนบ้างทั้งในด้านการเงิน อุปกรณ์การศึกษา และการผ่อนผันระยะเวลาในการทำงาน / เลิกงานในระหว่างเข้ารับการศึกษา 4. ความคาดหวังในระดับการศึกษาสูงสุดในอนาคต คือ ระดับชั้นมัธยมศึกษา รองลงมา คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี โดยรอโอกาศที่เหมาะสม ในด้านความต้องการทักษะอาชีพ ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ต้องการได้รับการฝึกอาชีพเพิ่มเติมในระยะสั้น มีผู้ใช้แรงงานส่วนมากมีความคาดหวังว่าจะมีความก้าวหน้าทางการงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผลจากการวิจัยครั้งนี้ พอที่จะยืนยันได้ว่าผู้ใช้แรงงานไทยต้องการที่จะพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับสูงขึ้นไปเพื่อพัฒนาไปสู่แรงงานที่มีระดับฝีมือ โดยใช้บริการทางการศึกษาจากการศึกษานอกโรงเรียนเป็นการต่อวงจรการศึกษา จึงควรที่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้ผู้ใช้แรงงานได้พัฒนาคุณภาพชีวิตทางการศึกษาไปจนถึงระดับสูงสุดที่เขาต้องการ โดยผู้วิจัยขอเสนอแนะแนวทางในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับผู้ใช้แรงงานดังต่อไปนี้ 1. ในระดับสถานประกอบการหรือผู้มีส่วนรับผิดชอบในการศึกษาของบุคลากร ควรสร้างตัวแทนหรือผู้ประสานงานในสถานประกอบการที่พอจะให้แนวทางหรือคำแนะนำเรื่องการศึกษานอกระบบโรงเรียนแก่ผู้ใช้แรงงาน โดยควรมีตัวแทนทุกสถานประกอบการ ทั้งนี้ควรมีการติดตามผลการศึกษา และการดำเนินการภายหลังการศึกษาด้วย 2. ในส่วนของการศึกษานอกระบบโรงเรียน ควรประสานงานกับองค์กรต่างๆ ที่พิทักษ์สิทธิของผู้ใช้แรงงาน เช่น สหภาพแรงงาน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้แก่ผู้ใช้แรงงาน โดยกระจายไปอย่างทั่วถึง 3. ในระดับนโยบาย รัฐควรจัดวางความสำคัญของการศึกษาผู้ใช้แรงงานอยู่ในระดับนโยบายที่เอื้ออำนวยมาตรการให้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานต่อเนื่อง และไม่ฝากเรียนไว้กับหน่วยงานต่างๆ ที่ไม่ได้รับผิดชอบต่อการศึกษาของผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริงth
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนth
dc.subjectNon-formal educationth
dc.subjectการศึกษาผู้ใหญ่th
dc.subjectAdult educationth
dc.subjectแรงงาน -- ไทยth
dc.subjectLabor -- Thailandth
dc.subjectโรงงาน -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectFactories -- Thailand -- Samut Prakarn.th
dc.subjectการพัฒนาอาชีพth
dc.subjectCareer developmentth
dc.titleการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ : สถานภาพที่เป็นจริงและความต้องการth
dc.title.alternativeA Study on Nonformal Education of Industrial Workers in Samutprakan Province : Situation and Needsth
dc.typeIndependent Studiesth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kumnuan-Leesangiam.pdf20.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.