Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภรัฐ หงษ์มณี-
dc.contributor.authorกิตติ บุญรัตนเนตร-
dc.date.accessioned2022-05-04T03:09:53Z-
dc.date.available2022-05-04T03:09:53Z-
dc.date.issued1997-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/211-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2540th
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาถึงปัจจัยมีอิทธิผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสังคมประชากร การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ สัมพันธภาพของคู่สมรส กับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ของกลุ่มแรงงานชายในโรงงานอุตสาหกรรมเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 292 ราย ทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 3 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และนิคมอุตสาหกรรมบางปะกง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลด้านสังคมประชากร การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ สัมพันธภาพของคู่สมรส พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ สัมพันธภาพของคู่สมรส และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์อยู่ในระดับดีและสรุปตามสมมุติฐานได้ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านสังคมประชากร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาของการสมรส จำนวนบุตร จำนวนบุคลที่ต้องรับผิดชอบ และลักษณะของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 2. ปัจจัยด้านสังคมประชากรบางตัว มีความสัมพันธ์กับสัมพันธภาพของคู่สมรส ได้แก่ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสัมพันธภาพของคู่สมรส ด้านการมีเพศสัมพันธ์และรายได้ของครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพของคู่สมรสโดยรวม สัมพันธภาพด้านการแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นร่วมกัน ส่วนอายุ ระยะเวลาของการสมรส จำนวนบุตร จำนวนบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ และลักษณะของครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับสัมพันธภาพของคู่สมรส 3. ปัจจัยด้านสังคมประชากร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ได้แก่อายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ส่วนระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว ระยะเวลาของการสมรส จำนวนบุตร จำนวนบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ และลักษณะของครอบครัว มีความสัมพันธ์น้อยมากทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ 4. การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ได้แก่ การรับรู้ถึงความรุนแรงของโรคเอดส์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน และการรับรู้ถึงประโยชน์ของปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้านการมีเพศสัมพันธ์ 5. สัมพันธภาพของคู่สมรส มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ได้แก่สัมพันธภาพของคู่สมรสด้านการมีเพศสัมพันธ์และด้านความสอดคล้องกัน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้านการเนินชีวิตประจำวัน ส่วนสัมพันธภาพของคู่สมรสด้านแก้ไข ปัญหาความขัดแย้ง มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ด้านการมีเพศสัมพันธ์ และสัมพันธภาพของคู่สมรส ด้านความเป็นเอกลักษณ์ในชีวิตสมรสมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้านการมีเพศสัมพันธ์กับด้านการรับบริการตรวจสุขภาพ ส่วนสัมพันธภาพของคู่สมรสด้านการมีพันธะผูกพันต่อกันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ด้านการรับบริการตรวจสุขภาพ สรุปได้ว่า แรงงานชายที่มีสัมพันธภาพของคู่สมรสดี มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ถูกต้องจะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ที่ดี และยังพบว่าแรงงานชายที่มีอายุมากจะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ที่ดีด้วยเช่นกัน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสัมพันธภาพของคู่สมรสและการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์แบบเชิงรุก และการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องเอดส์ในกลุ่มแรงงาน อันจะส่งผลทำให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ที่ถูกต้องth
dc.description.abstractThe purpose of this survey research had to determine the factors which may have influence on prevention behavior of AIDS and to determine the relationship between people social factors, perception of AIDS, marital relationship and prevention behavior of AIDS on male labour group in Eastern Industrial Estates. The samples in this research were 292 cases in 3 Eastern Industrial Estates. Laem Chabang Industrial Estate, Map Ta Phut Industrial Estate and Bangpakong Industrial Estate. The instrument of collection the data was questionnaire composed with personal and social factors data, perception of AIDS, marital relationship and prevention behavior of AIDS. Statistical teachniques including frequencies, percent, mean, standard deviation, pearson’s correlation coefficient and multiple regression were implemented in the process of data analysis. The result revealed of that, the perception of AIDS, marital relationship and prevention behavior of AIDS of samples were in good level. The hypothetical results were concluded ad follows: 1. There were not significant correlation between perception of AIDS and personal and social factors which were age, education, family’s income, duration of marriage, number of children, number of people under responsibility and family’s characteristic. 2. There were significant correlation between some personal and social factors and marital relationship. This relation were, education which was significantly positive correlation with total marital relationship, conflict resolution marital relationship, identity marital relationship and expressiveness marital relationship. But age, duration of marriage, number of children, number of people under responsibility and family’s characteristic were not significant correlation with marital relationship. 3. There were significant correlation between personal and social factors and prevention behavior of AIDS. Social factor, age was significantly positive correlation with prevention behavior of AIDS, But education, family’s income, duration of marriage, number of children, number of people under responsibility and family’s characteristic were less significant correlation with prevention behavior of AIDS. 4. Perception of AIDS correlated with prevention behavior of AIDS. That were. AIDS severity perception was significantly positive correlation with prevention behavior of AIDS in daily life and perception in benefits of AIDS prevention instructions correlated with prevention behavior of AIDS in sexual activities. 5. Marital relationship correlated with prevention behavior of AIDS. That were, sexuality and compality marital relationship were significantly positive correlation with prevention behavior of AIDS in daily life. But conflict resolution marital relationship was significantly positive correlation with prevention behavior of AIDS in sexual activities. And identity marital relationship was significantly positive correlation with prevention behavior of AIDS in sexual activities and received health service. But Cohesion marital relationship was significantly positive correlation with prevention behavior of AIDS in received health service. The result of this research indicate that factors which affect good prevention behavior of AIDS were proper perception of AIDS and marital relationships. And old-age labours had better prevention behavior of AIDS. Therefore. The recommendation is that should be aware of the importance and campaign to promote marital relationship and perception of AIDS in active form and training education about AIDS. In order to gain effective prevention behavior of AIDS.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectโรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม -- ไทยth
dc.subjectกรรมกร -- ไทยth
dc.subjectแรงงาน -- ไทยth
dc.subjectเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกth
dc.subjectAIDS (Disease) -- Prevention -- Thailandth
dc.subjectLabor -- Thailandth
dc.subjectEastern Industrial Estatesth
dc.titleพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของกลุ่มแรงงานชายในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกth
dc.title.alternativePrevention Behavior of Acquired Immune Deficiency Syndrome on Male Labour Groups in Eastern Industrial Estatesth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf483.19 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf251.12 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf735.38 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf519.84 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf726.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.