Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/217
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขัตติยา กรรณสูต | - |
dc.contributor.advisor | Kattiya Kannasut | - |
dc.contributor.author | สุพจน์ สุทธา | - |
dc.contributor.author | Supoj Suttha | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-04T04:41:17Z | - |
dc.date.available | 2022-05-04T04:41:17Z | - |
dc.date.issued | 1996 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/217 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2539 | th |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถูประสงค์เพื่อสำรวจถึงปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลทำให้ผู้ต้องขังเข้ารวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง1. ปัจจัยที่เป็นภูมิหลังโดยทั่วไป และที่เกี่ยวข้องกับการต้องโทษของผู้ต้องขัง 2. สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเรือนจำ เนื่องจากการปฏิบัติงานควบคุมกักขังผู้ต้องขัง3. ปัจจัยที่เป็นความต้องการด้านร่างกายในเรื่องความต้องการปัจจัยการดำรงชีพที่จำเป็นต่อร่างกายของผู้ต้องขัง4. ปัจจัยที่เป็นความต้องการด้านจิตใจของผู้ต้องขัง5. ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของผู้ต้องขัง ความต้องการปัจจัยการดำรงชีพที่จำเป็นต่อร่างกายความต้องการด้านจิตใจกับการเข้ารวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของผู้ต้องขังผู้ศึกษาได้กำหนดสมมติฐานเพื่อการศึกษาไว้ 4 ประการ1. ปัจจัยที่เป็นภูมิหลังทั่วไปของผู้ต้องขัง ได้แก่ อายุ การศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพเดิม มีความสัมพันธ์กับการเข้ารวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ 2.ปัจจัยที่เป็นภูมิหลังเกี่ยวกับการต้องโทษของผู้ต้องขัง ได้แก่ ประเภทคดี ระยะเวลาการต้องโทษ จำนวนครั้งการต้องโทษ กิจกรรมที่เรือนจำมอบหมายให้รับผิดชอบ มีความสัมพันธ์กับการเข้ารวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ3.ความต้องการด้านร่างกายของผู้ต้องขังในเรื่อง ความต้องการปัจจัยการดำรงชีพที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ อาหารที่ชอบ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ฯลฯ4.ความต้องการด้นจิตใจของผู้ต้องขังในเรื่อง ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย เป็นอิสระจากความกลัวเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นภายในเรือนจำ ได้แก่ กลัวถูกทำร้าย กลัวถูกข่มขืน กลัวถูกขโมยทรัพย์สิน กลัวถูกผู้อื่นหลอกลวงเอาทรัพย์สิ่งของและความต้องการด้านจิตใจในเรื่อง ความต้องการความรัก เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น เพื่อผ่อนคลายจากภาวะอึดอัด กังวลใจ เนื่องจากถูกบังคับให้อยู่แต่ภายในเรือนจำและต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานกฎระเบียบของเรือนจำอย่างเคร่งครัด มีความสัมพันธ์กับการเข้ารวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการการวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการหาค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต ( X ) ค่าความแปรปรวน ( F-Test ) และค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ ของ ( Pearson ) การศึกษาครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ต้องขังชายที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำกลางสมุทรปราการมาแล้วตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจำนวน 210 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมเครื่องมือผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ สรุปได้ว่า1.ผู้ต้องขังกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่ม ยังเป็นโสด มีการศึกษาต่ำ ประกอบอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป เป็นผู้กระทำผิดประเภทคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ มีกำหนดระยะเวลาต้องโทษไม่นานนักและต้องโทษครั้งนี้เป็นครั้งแรก เมื่ออยู่ภายในเรือนจำได้รับมอบหมายให้ทำงานใช้แรงงานรับจ้าง2.กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเห็นว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือนจำทำให้นำยารักษาโรคเข้ามาใช้ภายในเรือนจำทำได้ยากมาก และภายในเรือนจำมีเหตุการณ์ผู้ต้องขังระบายออกทางเพศด้วยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองมากที่สุด ส่วนการระบายออกทางเพศที่แสดงถึงความวิปริตทางจิตใจ และมีปรากฏอยู่น้อยในสังคมภายนอกก็เกิดขึ้นภายในเรือนจำ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้ต้องขังรวมกลุ่มกันเช่น การร่วมเพศกับกระเทย และการร่มเพศกับชายที่ไม่ใช่กระเทยเป็นต้น ภายในเรือนจำมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น คือ การข่มขืน การทำร้ายร่างกาย การขโมยทรัพย์สินสิ่งของ และการหลอกลวงเพื่อเอาทรัพย์สินสิ่งของกัน แต่มีระดับการเกิดติดต่อกัน โดยผู้ต้องขังส่วนมากเห็นว่าเหตุการณ์ขโมยทรัพย์สินสิ่งของกันเกิดขึ้นค่อนข้างมากส่วนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องขังกับเจ้าพนักงานเรือนจำนั้นเป็นไปในทางลบ กล่าวคือ เจ้าพนักงานในเรือนจำมักไม่ให้ความเป็นกันเองกับผู้ต้องขังและแสดงตนอยู่เหนือผู้ต้องขัง3.ผู้ต้องขังกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สิ่งของเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ฯลฯ ค่อนข้างมาก4.ผู้ต้องขังมีความรู้สึกกลัวเหตุการณ์รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นภายในเรือนจำ คือ กลัวถูกทำร้าย กลัวถูกข่มขืน กลัวถูกขโมยทรัพย์สิน กลัวถูกผู้อื่นหลอกลวงเอาทรัพย์แต่มีความกลัวในระดับแตกต่างกัน คือผู้ต้องขังจำนวนมากกลัวเหตุการณ์ดังกล่าวแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และผู้ต้องขังจำนวนมาดเกิดความรู้สึกอึดอัดค่อนข้างมากและมาก เพราะถูกบังคับให้อยู่แต่ภายในเรือนจำ ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎของเรือนจำคำสั่งของเจ้าพนักงานอย่างเคร่งครัดผู้ต้องขังส่วยมากได้เข้ารวมกลุ่มกับเพื่อน เพื่อต้องการผู้ช่วยปรับทุกข์ระบายความในใจซึ่งเป็นความต้องการด้านจิตใจเมื่อพิจารณาถึงผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ต้องขังที่มีระดับการศึกษาต่ำมีแนวโน้มเข้ารวมกลุ่มสูงกว่าผู้ต้องขังที่มีระดับการศึกษาสูงผู้ต้องขังที่มีกำหนอระยะเวลาการต้องโทษสูง มีแนวโน้มเข้ารวมกันสูงกว่าผู้ต้องขังที่มีกำหนดระยะเวลาการต้องโทษต่ำผู้ต้องขังที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในหน่วยงานรับจ้าง มีแนวโน้มเข้ารวมกันสูงกว่าผู้ต้องขังที่ได้รับมอบหมายให้เข้าวิชาชีพตามหน่วยงานฝึกวิชาชีพผลจากการศึกษา ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าก.ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย กรมราชทัณฑ์ควรจะส่งเสริมให้มีการนำเอาวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องขังให้เหมาะสมตามสภาพการณ์จริงข. ข้อเสนอแนะในระดับปฏิบัติการ 1. เรือนจำควรส่งเสริมให้กลุ่มของผู้ต้องขังได้ประกอบกิจกรรมในทางสร้างสรรค์ โดยการนำเอากระบวนการกลุ่มมาใช้ประโยชน์ เช่น จัดกลุ่มพูดไพเราะ หรือกลุ่มจริงใจไม่หลอกลวง เป็นต้น2. เจ้าหน้าที่ควรให้ความสนใจคอยสอดส่องพฤติกรรมของกลุ่มผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด คอยแนะนำหรือห้ามปราม หากกลุ่มมีการดำเนินงานไปในแนวทางที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของเรือนจำ เช่น เมื่อกลุ่มจะรวมตัวกันมุ่งก่อความไม่สงบเรียบร้อยหรือเมื่อเห็นว่ากลุ่มจะกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนิสัยการประกอบอาชญากรรม3. ในเรือนจำที่มีผู้ต้องขังวัยหนุ่มอยู่มาก ควรมีกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น การกีฬา การดนตรี หรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมในรูปแบบต่างๆ เพื่อความผ่อนคลายทางเพศ4. เรือนจำควรจัดสวัสดิการและกิจกรรมต่างๆ โดยมุ่งผลให้ผู้ต้องขังได้พึงพาอาศัยทุกรณีเพื่อจะมีส่วนร่วมในกระบวนการกลุ่มที่เกิดขึ้นภายในเรือนจำ อันจะส่งเสริมให้เกิดผลดีต่อจุดมุ่งหมายการปฏิบัติงานของเรือนจำ5. เรือนจำควรจัดสวัสดิการเพื่อให้ผู้ต้องขังได้พึ่งพาทางด้านจิตใจ เช่น ตั้งหน่วยงานทำหน้าที่ให้คำปรึกษา( counseling ) ค. ข้อเสนอแนะในการสำหรับการศึกษาขั้นต่อไปการศึกษาครั้งนี้มีข้อจำกัดบางประการ กล่าวคือ ผู้ต้องขังกลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการศึกษานั้น มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น ระดับการศึกษา ประเภทคดี ประวัติการต้องโทษและช่วงเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น การศึกษาครั้งต่อไป ควรจะศึกษาเรื่องดั่งกล่าวจากกลุ่มผู้ต้องขัง ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ | th |
dc.description.abstract | The purpose of this study is to investigate the factors influencing the informal participation of Prisoners.The objectives for this study: Aim at:1)The factors concerning general background and the penalty of prisoners.2)The environmental events in prison concerning the practice of correctional officers.3)The factors concerning the basic needs of prisoners.4)The factors concerning the mental needs of prisoners.5)Studying the relation of prisoners’ background to basic needs and mental needs influencing the informal participation of prisoners.The hypothesis of this study can be categorized as: 1)Factors concerning general background eg. Age, educational background, marriage status, former occupation influencing the informal participation of prisoners.2)Factors concerning penalty of prisoners, duration of sentence, frequency of penalty, activities assigned officers influencing the informal participation of prisoners.3) Basic needs of prisoners eg. Favorite food, clothing medicament, consumer products (soap, toothpaste) influencing the informal participation. 4)Mental needs of prisoners. eg. Sense of security, sense of affection, sense of recognition, fearlessness of the violence occurring in the prison such as. Fear of being assaulted, fear of being draped, fear of theft, fear of being cheated by others, this psychological mechanism help to relive the prisoners’ Frustration drug to the regulations and rules of the prison. These mental needs influence the informal participation of prisoners. For analysis and interpreting the collected data, The researcher use frequency, percentage, means, F-test and pearsonian multi-factorial Co-efficience as mathematical procedure.The samples for this study are 210 male prisoners are sentenced at least six months imprisonment or more in the Samutprakan Central Prison. Questionnaires are utilized as tool to collect data.The conclusion for this study:1)Most of the samples for this study are; male, low-educated, manual-labor, mostly charge with larceny and first-time sentenced. Most of them are assigned to work as manual-labor by correctional officers.2)Most of the samples have ideas toward the situation in prison that because of tough rules and regulations, difficulties with medicament delivery take place among their relation. Masterbation appear common among prisoners to release their sexual drive. Sodomy, a kind of sexual deviation appears more prevalent than external society. Raping, theft duress, cheating are common violent phenomena in the prison. The interrelationship among the samples and correctional officers appears negative because of sense of authoritarianism of correctional officers toward the samples. 3)Consumer products (Soap, toothpaste, detergents). Are mostly stipulated by the samples.4)Violent phenomeana which Irritate the samples are fear of being raped, fear of being assaulted, fear of theft, fear of being raped, fear of being assaulted, fear of theft, rear of being cheated. Strict rules and regulations effect negatively to the samples, Participation as social-interaction among the samples helps to release the sample’s frustration. The results for the hypothesis of this study.-The informal participation occurs among cow-educated prisoner more than well-educated prisoners.-The informal participation occurs among prisoners with long-term sentence imprisonment more than those with short-term imprisonment.-The informal participation occurs among prisoners with manual labor more than prisoner with draftsmanship.The researcher’s suggestion for this study.A. Suggestion for the policy of the Department of Correction.The Department of Correction should introduce innovations and current tecnologies to improve prisoner’s behavior and practical pattern of correctional officers in globerized phenomena .B. suggestion for practical level1) The constructive activities among prisoners and group therapy eg. Sweet-words group, non-liar group, should be introduced by correctional officers.2) Correctional officers should pay more attention to prisoners’ behavior. When correctional officers observe the tendency of unpleasant behavior of prisoners eg. Riot-forming act, that unpleasant behavior should be terminated and advised to improve by correctional officers. Punishment be force should not be introduced.3) Recreational activities eg. Music, sport should be available to prisoners when routine task is finished. Up. In order to release prisoner’s frustration. 4) To raise prisoners’ standard of living, welfare and activities should be introduced in order to 5) Counseling department should be established in each prison in order to release prisoner’s frustration or tensionSuggestion for continuing study:Some constraints for this study are the resemblance of the samples eg. Educational background criminal background, range of age. The variations of prisoners’ backgrounds should be sought for discernment. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | เรือนจำกลางสมุทรปราการ | th |
dc.subject | ทัณฑสถาน | th |
dc.subject | Correctional institutions | th |
dc.subject | นักโทษ | th |
dc.subject | Prisoners | th |
dc.subject | เรือนจำ | th |
dc.subject | Prisons | th |
dc.subject | กลุ่มคน | th |
dc.subject | Crowds | th |
dc.subject | พฤติกรรมรวมหมู่ | th |
dc.subject | Collective behavior | th |
dc.title | ปัจจัยที่ทำให้ผู้ต้องขังเข้ารวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลางสมุทรปราการ | th |
dc.title.alternative | Factors Influencing Prisoners to Participate into Informal Group : A Case Study of the Prisoners of Samutprakarn Central Prison | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 645.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontent.pdf | 210.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 510.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 656.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Reference.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.