Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2262
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธัญญารัตน์ สงสม | - |
dc.contributor.author | กาณจนาภรณ์ เปียปิ่นทอง | - |
dc.contributor.author | สุพรรณษา สร้อยโพธิ์ | - |
dc.contributor.author | นิษฐา วงศ์คำจันทร | - |
dc.contributor.author | นุชนาถ แช่มช้อย | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม | en |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม | en |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม | en |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม | en |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม | en |
dc.date.accessioned | 2024-05-17T13:53:18Z | - |
dc.date.available | 2024-05-17T13:53:18Z | - |
dc.date.issued | 2017 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2262 | - |
dc.description | Proceedings of the 5th National and International Conference on "Research to Serve Society", 26th May 2017 at Huachiew Chalermprakiet University, Bangphli District, Samutprakarn, Thailand. p. 873-883. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาปริมาณของแข็งและปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในเศษของเสียจากผลไม้ 7 ชนิด ได้แก่ 7 ชนิด ได้แก่ เปลือกกล้วยน้ำว้า จุกสับปะรด เปลือกส้มเขียวหวาน เปลือกเงาะโรงเรียน เปลือกลองกอง เปลือกมะนาว และเปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แล้วทำการประเมินปริมาณกรดซิตริกจากค่าปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในเศษของเสียจากผลไม้ รวมทั้งศึกษาผลของการปรับสภาพเศษของเสียจากผลไม้ที่มีต่อปริมาณน้ำตาลทั้งหมดที่วิเคราะห์ได้ โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณของแข็งทั้งหมดและของแข็งระเหยด้วยการทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 103-105 องศาเซลเซียส แล้วนำไปเผาต่อที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดวิเคราะห์โดยใช้ค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องสเปกโตโฟโตมิเตอร์ ส่วนปริมาณกรดซิตริกคำนวณจากสมการการหมักแบบใช้อากาศ จากผลการศึกษา พบว่า เปลือกเงาะโรงเรียน มีปริมาณของแข็งทั้งหมดและของแข็งระเหยสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 23.98% และ 23.20% รองลงมาได้แก่ เปลือกส้มเขียวหวาน เปลือกลองกอง เปลือกมะนาว เปลือกกล้วยน้ำว้า เปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง และจุกสับปะรด ตามลำดับ สำหรับปริมาณน้ำตาลทั้งหมด พบว่า เปลือกส้มเขียวหวานมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 45.25 mg/L รองลงมาได้แก่ เปลือกกล้วยน้ำว้า เปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง เปลือกลองกอง เปลือกมะนาว และจุดสับปะรด ตามลำดับ ในขณะที่เปลือกเงาะโรงเรียนมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดต่ำที่สุด โดยจากการคำนวณปริมาณผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด พบว่า เปลือกกล้วยน้ำว้า มีปริมาณผลผลิตน้ำตาลทั้งหมดสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 44.95% Total Sugar/gVS รองลงมาได้แก่ เปลือกส้มเขียวหวาน เปลือกแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง เปลือกลองกอง จุกสับปะรด และเปลือกมะนาว ตามลำดับ ในขณะที่เปลือกเงาะโรงเรียนมีปริมาณผลผลิตน้ำตาลทั้งหมดต่ำที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า การปรับสภาพเศษของเสียจากผลไม้โดยการนำไปนึ่งที่อุณหภูมิ 121 °C เป็นเวลา 15 นาที แล้วปรับสภาพต่อด้วยกรดซัลฟิวริก 98% มีผลต่อปริมาณน้ำตาลทั้งหมดที่วิเคราะห์ได้ โดยทำให้ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดมีค่าต่ำกว่า เมื่อผ่านการปรับสภาพด้วยกรดซัลฟิวริก 98% เพียงอย่างเดียว โดยผลการประมาณการปริมาณกรดซิตริกจากปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในเศษของเสียจากผลไม้ พบว่า หากทำการหมักเปลือกส้มเขียวหวานและเปลือกกล้วยน้ำว้าจะได้กรดซิตริกในปริมาณสูง โดยมีค่าประมาณการเท่ากับ 48.27 mg/L และ 47.69 mg/L ซึ่งจากผลการศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า เปลือกส้มเขียวหวานและเปลือกกล้วยน้ำว้า มีศักยภาพสูงสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ต่อไป | en |
dc.description.abstract | This research was an experimental research for studying of the amount of solids and total sugar in seven types of fruit waste such as the banana peel, the pineapple stopper, the tangerine peel, the rambutan peel, the longkong peel, the lime peel, and the dragon fruit peel. The assessment of citric acid was carried out consequently using the amount of total sugar from such fruit wastes. The effect from fruit wastes treatment to the analyzed total sugar was also observed. The total solids and volatile solid were analyzed by drying at the temperature of 103-105 °C and burn future at the temperature of 550 °C. The total sugar was analyzed by using the absorbance values obtained from spectrophotometer. For the amount of citric acid, it was calculated from the aerobic fermentation equation. From the results, it was found that the rambutan peel contained highest amount of total solids and volatile solid with the value of 23.98% and 23.20%. The tangerine peel, the longkong peel, the lime peel, the banana peel, the dragon fruit peel, and the pineapple stopper contained lower amount of total solids and volatile solids, respectively. For the amount of total sugar, the tangerine peel showed highest amount of total sugar with the value of 45.25 mg/L. The banana peel, the dragon fruit peel, the longkong peel, the lime peel, and the pineapple stopper contained lower amount of total sugar, respectively. While, the rambutan peel showed lowest amount of total sugar. From the total sugar yield calculation, it indicated that the banana peel contained highest amount of total sugar yield with 44.95% Total Sugar/gVS. The tangerine peel, the dragon fruit peel, the longkong peel, the pineapple stopper, and the lime peel contains lower amount of total sugar yield, respectively. While, the rambutan peel showed lowest amount of total sugar yield. Moreover, it was found that the fruit wastes treatment by autoclave at 121 °C for 15 minutes and then continue with sulfuric acid 98% effect to the obtained analyzed total sugar as the obtained amount was lower than the amount from treatment by sulfuric acid 98% only. The results of assessment of citric acid amount from total sugar in fruit wastes showed that under fermentation, the tangerine peel and the banana peel will provide high amount of citric acid with the expected amount of 48.27 mg/L and 47.69 mg/L. The result from this study indicated that the tangerine peel and the banana peel contained high potential for future utilization in various forms. | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | กรดมะนาว | en |
dc.subject | Citric acid | en |
dc.subject | ของเสียทางการเกษตร -- การนำกลับมาใช้ใหม่ | en |
dc.subject | Agricultural wastes -- Recycling | en |
dc.title | การประเมินปริมาณกรดซิตริกจากปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในเศษของเสียจากผลไม้ | en |
dc.title.alternative | Assessment of Citric Acid Amount from Total Sugar in Fruit Wastes | en |
dc.type | Proceeding Document | en |
Appears in Collections: | Public and Environmental Health - Proceeding Document |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ST-1-Assessment-of-Citric-Acid.pdf | 264.22 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.