Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/228
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โสภา อ่อนโอภาส | - |
dc.contributor.advisor | Sopa Onopas | - |
dc.contributor.author | ทศพล ศรีคูณ | - |
dc.contributor.author | Thodsapol Srikhoon | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-04T08:18:57Z | - |
dc.date.available | 2022-05-04T08:18:57Z | - |
dc.date.issued | 1999 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/228 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพของผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในด้านต่าง ๆ คือ 1. ด้านลักษณะทั่วไปและสภาวะทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 2. ด้านความพึงพอใจในงานที่ทำอยู่ปัจจุบัน 3. ด้านการรับรู้ข่าวสารข้อมูลทั้งภายนอกและภายในสถานประกอบการ 4. ด้านการปรับตัวของผู้ใช้แรงงานเพื่อสนองตอบสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 5. การเตรียมตัวของผู้ใช้แรงงานที่ต้องการเปลี่ยนและไม่เปลี่ยนอาชีพประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้แรงงานสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ลักษณะทั่วไปของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ความพอใจในงาน การรับรู้ข่าวสาร สภาวะทางเศรษฐกิจของผู้ใช้แรงงานการปรับตัวในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการเตรียมตัวด้านอาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการศึกษาพบว่า1. ลักษณะทั่วไปและสภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้แรงงาน เพศชายมีความต้องการเปลี่ยนงานมากกว่าเพศหญิง ผู้ที่มีอายุระหว่าง 21- 25 ปี มีมากที่สุด รองลงมา 26-30 ปี ผู้ที่มีอายุน้อยมีความต้องการเปลี่ยนงานและอาชีพลดลง เมื่อสูงอายุขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ที่ต้องดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่สมาชิกในครอบครัว ส่วนมากไม่ต้องการเปลี่ยนงาน ด้านที่อยู่อาศัย ส่วนมากเช่าบ้าน และค่าเช่าห้องชุดอยู่ ส่วนผู้ที่อยู่บ้านตนเอง ไม่ต้องการเปลี่ยนงานและอาชีพมากกว่าผู้ที่เช่าบ้านหรือห้องชุดอยู่ ด้านตำแหน่งงาน ส่วนใหญ่เป็นพนักงานในระดับปฏิบัติการลูกจ้างประจำมากที่สุด ในระดับผู้บริหารไม่มีผู้ใดต้องการเปลี่ยนงานและอาชีพ อายุการทำงาน ผู้มีอายุการทำงาน 1-3 ปี มีมากที่สุดลักษณะทางเศรษฐกิจของผู้ใช้แรงงาน ผู้ที่มีรายได้เท่าเดิมและลดลงมีจำนวนเท่า ๆ กัน ส่วนผู้ที่ไม่มีรายได้อื่น นอกเหนือจากรายได้ประจำ ส่วนใหญ่มีรายได้เท่าเดิมและบางส่วนไม่มีเงินออมหรือเงินออมลดลง ความเพียงพอของรายได้ ส่วนใหญ่ ไม่เพียงพอหรือมีเท่ากับรายจ่ายพอดี2.ด้านความพึงพอใจในงาน ส่วนใหญ่ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ดี และมีความภูมิใจในงานที่ทำอยู่ ในส่วนอื่น ๆ เช่น ความมั่นคงในงานที่ทำ ความพอใจในบริษัทที่ทำงานอยู่และสวัสดิการที่มีให้กับพนักงาน ผู้ใช้แรงงานมีความพอใจอยู่ในระดับกลาง สภาพโดยรวมของกลุ่มผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานและอาชีพมีความพึงพอใจต่องานที่ทำอยู่น้อยกว่ากลุ่มของผู้ที่ไม่ต้องการเปลี่ยนงานและอาชีพ 3.การรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภายนอกสถานที่ประกอบการ ผู้ใช้แรงงานรับรู้เกี่ยวกับเรื่องปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศมาก และรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจ้างงานพอสมควร ส่วนข้อมูลข่าวสารในสถานประกอบการ ผู้ใช้แรงงานทราบเกี่ยวกับความมั่นคงของบริษัทที่ทำงานอยู่ รวมทั้งการจ้างงานพอสมควรในระดับปานกลาง และเมื่อมีปัญหาในการทำงานมักปรึกษาเพื่อน รองลงมาปรึกษาหัวหน้า การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับอาชีพ ส่วนใหญ่ทราบถึงแหล่งงานและตำแหน่งงานที่รับสมัคร โดยทราบจากสื่อมวลชนเป็นส่วนมาก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ รองลงมาจะทราบจากเพื่อน4.การปรับตัวในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ส่วนใหญ่ลดค่าใช้จ่ายของตนลง สามารถปรับตัวเข้ากับปัญหาและมีกำลังใจดี ทั้งผู้ต้องการและไม่ต้องการเปลี่ยนงานและอาชีพ5.การเตรียมตัวด้านอาชีพ ส่วนใหญ่ต้องการเพิ่มความรู้ความสามารถทางด้านเทคนิคและทักษะการผลิต โดยใช้วิธีอ่านจากหนังสือเอกสารด้วยตนเอง และมีเป้าหมายที่จะได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ไม่ต้องการเปลี่ยนงานและอาชีพ ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น สนใจการทำการค้าขายและเกษตรกรรมมากที่สุดตามลำดับ ส่วนด้านอุตสาหกรรมการผลิตมีผู้ต้องการเปลี่ยนไปทำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด และต้องการได้รับการสนับสนุนเงินทุนไปประกอบอาชีพมากที่สุด รองลงมาคือ ต้องการได้รับความรู้ทักษะการประกอบอาชีพ | th |
dc.description.abstract | This thesis is aimed to study the condition of factory Worker during the economic recession in various aspects which include (1) general description and economic condition of Woker.(2) Worker’s satisfaction of present work, (3) Woker’s learning of both internal and external information, (4) Woker’s self-adjustment for responding to the economic recession and (5) Woker’s preparation in changing or maintaining occupation. People participating in this study are 300 workers is Samutprakarn factories. The questionnaires used as instruments consist of questions about general description of Worker, their satisfaction of present work, information learning, information learning, economic condition, self-adjustment during the economic recession and preparation of occupation. Statistics used in data analysis are percentages and average points. This study can be concluded as follows: (1) In relation to general description and economic condition of Worker, most female workers want to change their work when being compared to male workers. Those being 21-25 and 26-30 years old want to do so respectively. The young ones tend to maintain their work and occupation when becoming older. Those bearing all family expenses mostly maintain their work and occupation. As for residence, most workers rent houses or apartments and they mostly want to change their work and occupation when being compared to those living in their own houses. As for work positions, most of them are permanent employees, No executive staff want to change their work and occupation. As for working periods, those working for 1-3 years mostly want to do so. With respect to Worker’s economic condition, the numbers of those having the same and lower income are equal. Most workers gaining no more income than their regular wages have the same income and some of them have no savings or have lower savings. Most of them have unenough income or have it sufficiently for expenses.(2) In relation to Worker’s satisfaction of present work, most workers can well work jointly with their colleagues and feel proud of their work. They are rather satisfied with work stability, satisfaction of employing company and provision of employee’s welfare. These wanting to change their work and occupation are less satisfied with their present work when being compared to these wanting to maintain it.(3) In relation to Worker’s learning of external information, workers can learn a lot of information about national problems of economic recession and learn some information about employment while internal information about stability of employing company and employment is learnt to some extent. Most workers consult with their colleagues about their working problems and their chiefs are the second to solve them. As for learning of occupation information, most workers rather know work sources and positions which require employment from mass media, such as radio, television and newspaper, while the rest know them from their friends. (4) In relation to Worker’s self-adjustment during the economic recession, the workers wanting to change or maintain their work and occupation mostly reduce their expenses. They can adjust themselves to problems with courage. (5) In relation to Worker’s preparation of occupation, most workers want to increase their technical and manufacturing skill and knowledge by reading books and documents for their work promotion. Most of them do not want to change their work and occupation, Those wanting another occupation are mostly interested in trading and agriculture respectively. As for manufacturing industry, electronic components are mostly interesting. Financial support as well as skill and knowledge are needed for new occupation respectively. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | กรรมกร -- ไทย -- สมุทรปราการ. | th |
dc.subject | ความพอใจในการทำงาน | th |
dc.subject | Career development | th |
dc.subject | การพัฒนาอาชีพ. | th |
dc.subject | Labor -- Thailand -- Samut Prakarn | th |
dc.subject | Job satisfaction | th |
dc.title | สภาพและความต้องการเพื่อการเตรียมตัวด้านอาชีพของผู้ใช้แรงงานในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ศึกษาเฉพาะกรณี : ผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตในเขตจังหวัดสมุทรปราการ | th |
dc.title.alternative | Workers' Situation and Their Needs for Occupation Preparation during Economic Recession Case Study : Samutprakarn Factories | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 448.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontente.pdf | 325.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 773.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 146.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 820.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.