Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2295
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภาวดี ศรีปัด-
dc.contributor.authorจริยาวัตร คมพยัคฆ์-
dc.contributor.authorพรศิริ พันธรังสี-
dc.contributor.authorSupawadee Sripad-
dc.contributor.authorJariyawat Kompayak-
dc.contributor.authorPornsiri Pantasri-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Master of Nursing Scienceen
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingen
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingen
dc.date.accessioned2024-05-22T05:30:47Z-
dc.date.available2024-05-22T05:30:47Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.citationวารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 17,33 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2559) : 6-19en
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2295-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/article/view/139876/103763en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้การกลืนอย่างปลอดภัย ทักษะการกลืนอย่างปลอดภัย และความพร้อมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ความรู้ การฝึกทักษะและการเตรียมความพร้อมด้วยการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายเพื่อการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของ คิง ซึ่งเป็นโปรแกรมในการให้ความรู้และฝึกทักษะรายบุคคล จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 45-60 นาที รวม 3 วัน และเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบประเมินความรู้การกลืนอย่างปลอดภัย แบบประเมินทักษะการกลืนอย่างปลอดภัย และแบบประเมินความพร้อมการกลืนอย่างปลอดภัย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและทดลองหลังจากได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลราชบุรี วิเคราะห์เปรียบเทียบความรู้การกลืนอย่างปลอดภัย ทักษะการกลืนอย่างปลอดภัย และความพร้อมการกลืนอย่างปลอดภัยด้วยสถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความรู้การกลืนอย่างปลอดภัยอยู่ในระดับน้อย มีทักษะการกลืนอย่างปลอดภัยและมีความพร้อมการกลืนอย่างปลอดภัยระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 8.74, 9.64 และ 6.95 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.73, 3.50 และ 1.45 ตามลำดับ) หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทักษะการกลืนอย่างปลอดภัยระดับมาก ส่วนความพร้อมการกลืนอย่างปลอดภัยระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 14.36, 12.24 และ 7.86 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.16, 2.43 และ 1.12 ตามลำดับ) นอกจากนี้ความรู้ ทักษะ และความพร้อมการกลืนอย่างปลอดภัยหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001, 0.000 และ 0.000 ตามลำดับen
dc.description.abstractThis quasi-experimental research aimed to compare health education in safety swallowing, swallowing skill practice and preparedness for safety swallowing in stroke patients. The sample was forty-two stroke patients who were admitted at medical ward of Ratchaburi hospital. The research instruments consisted of transactional program on health education, skill practice and preparedness for safety swallowing in stroke patients. The researcher developed research instruments from King's transactional theory, which this program offered education and skill practice for times in three days individually for forty-five to sixty minutes. The instruments for data collection were patient's demographic record, knowledge of safety swallowing assessment form, skill practice for safety swallowing assessment, preparedness for safety swallowing assessment. The data were collected after the research had been approved from the research ethical committees of Huachiew Chalermprakiet University and Rachaburi hospital. The comparisons of education, skill practice and preparedness for safety swallowing were analyzed using paired t-test. The result showed that the samples had low level of education, moderate level of skill practice and preparedness for safety swallowing before receiving the program (x̄=8.74, 9.64, and 6.95, S.D.=2.73, 3.50, and 1.45). The samples had high level of education and skill practice swallowing for safety, but moderate level of preparedness for safety swallowing after recurring the program (x̄=14.36, 12.24, and 7.86, S.D.=1.16, 2.43, and 1.12). Moreover, the scores on education, skill practice, and preparedness for safety swallowing after the program were higher than before the program significantly at 0.001, 0.000, and 0.000, respectively.en
dc.language.isothen
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองen
dc.subjectCerebrovascular diseaseen
dc.subjectการกลืนen
dc.subjectDeglutitionen
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ความรู้ การฝึกทักษะและการเตรียมความพร้อม ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายเพื่อการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen
dc.title.alternativeEffects of Transactional Program on Knowledge, Skill Practice and Preparedness for Safety Swallowing in Stroke Patienten
dc.typeArticleen
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Safety-Swallowing-in-Stroke-Patient.pdf95.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.