Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2330
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนัทธวิทย์ สุขรักษ์-
dc.contributor.authorเอกชัย แดงสอาด-
dc.contributor.authorปิยะวดี ทองโปร่ง-
dc.contributor.authorอานุภาพ พ่วงสร้อย-
dc.contributor.authorนพนัฐ จำปาเทศ-
dc.contributor.authorปณิธี ธัมมวิจยะ-
dc.contributor.authorNutthavit Sookrak-
dc.contributor.authorEkkachai Daengsaard-
dc.contributor.authorPiyawadee Tongprong-
dc.contributor.authorAnuparp Puangsoi-
dc.contributor.authorNopphanath Chumpathat-
dc.contributor.authorPanithee Thammawijaya-
dc.contributor.otherDepartment of Disease Control. Division of AIDS and STIs. Bangrak STIs Centeren
dc.contributor.otherDepartment of Disease Control. Division of AIDS and STIs. Bangrak STIs Centeren
dc.contributor.otherRatchathani University. Faculty of Nursingen
dc.contributor.otherDepartment of Disease Control. Division of AIDS and STIs. Bangrak STIs Centeren
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingen
dc.contributor.otherDepartment of Disease Control. Division of Innovation and Researchen
dc.date.accessioned2024-05-25T06:37:41Z-
dc.date.available2024-05-25T06:37:41Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.citationวารสารควบคุมโรค 46, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) : 430-441en
dc.identifier.issn2651-1649 (Online)-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2330-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/236271/167111en
dc.description.abstractหูดอวัยวะเพศและทวารหนักยังคงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเพศชายที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุเกิดจากเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 6 หรือ 11 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความชุกของหูดอวัยะเพศและทวารหนัก (2) บรรยายลักษณะพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และ (3) ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเพศชายที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคหูดอวัยะเพศและทวารหนัก ผู้วิจัยทำการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนผู้มารับบริการเพศชาย จำนวน 9,160 ราย ระหว่าง ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง กันยายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ 95% confidence interval (95% CI) ผลการศึกษาพบความชุกของหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก ของผู้มารับบริการเพศชายที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 11.6 (95% CI = 10.9-12.2) กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง มีความชุกร้อยละ 8.0 (95% CI = 7.4-8.7) ส่วนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มีความชุกร้อยละ 21.4 (95% CI = 19.8-23.1) ปัจจัยด้านอายุพบว่า กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี มีความชุกมากที่สุด ร้อยละ 26.6 (95% CI = 22.9-30.7) ส่วนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่า 40 ปี มีความชุกมากที่สุด ร้อยละ 28.1 (95% CI = 24.4-32.1) พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ผู้มารับบริการเพศชายที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นหูดอวัยวะเพศและทวารหนักมีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพียงร้อยละ 13.6 ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง พบหูดที่ตำแหน่งหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมากที่สุด (ร้อยละ 61.2) ส่วนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พบตุ่มหูดที่ตำแหน่งในช่องทวารหนักมากที่สุด (ร้อยละ 73.7) ดังนั้นควรหามาตรการในการป้องกันหูดอวัยวะเพศและทวารหนักที่มีประสิทธิภาพ ในกลุ่มผู้มารับบริการเพศชาย ที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายen
dc.description.abstractAnogenital warts (AGW) remains one of the most common sexually transmitted infections STIs) among male patients visiting STIs clinics. AGW is caused by human papillomavirus, in particularly types 6 and 11. The objectives of this study were to (1) estimate the prevalence of AGW among male patients attending the STIs clinic, Department of Disease Control, (2) describe the sexual risk behaviors, and (3) describe the clinical manifestations among male patients diagnosed with AGW. We conducted a retrospective descriptive study using 9,160 medical records from male patients visiting the clinic between October 2010 and September 2015. Descriptive statistics, 95% confidence interval, and chi-square test were employed for data analysis. The findings indicated that the prevalence of AGW among male patients attending the clinic was 11.6% (95%CI = 10.9-12.2). The prevalence of AGW among men who have sex with women (MSW) was 8.0% (95% CI = 7.4-8.7) and among men who have sex with men (MSM) was 21.4% (95% CI = 19.8-23.1). The prevalence among MSW aged 40 years and older was 28.1% (95% CI = 24.4-32.1) and the prevalence among MSM aged 20-24 years was 26.6% (95% CI = 22.9-30.7). Among those male patients diagnosed with AGW, consistent condom use during sexual intercourse in the past 3 months were only 13.6%. Anatomical distribution of AGW found that prepuce was the most common location for AGW in MSW, and rectum was the most common in MSM. Eventually, effective interventions to reduce AGW transmission purposively for male patients attending the STIs clinic are needed, especially young MSM.en
dc.language.isothen
dc.subjectโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์en
dc.subjectSexually transmitted diseasesen
dc.subjectชายรักชายen
dc.subjectMale homosexualityen
dc.subjectรักร่วมเพศชายen
dc.subjectหูดหงอนไก่en
dc.subjectAnogenital wartsen
dc.titleความชุกของหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยชายที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativePrevalence of anogenital warts, sexual risk behaviors, and clinical manifestations among male patients attending sexually transmitted infections clinic, Bangkoken
dc.typeArticleen
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anogenital-warts.pdf125.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.