Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2369
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภุชงค์ เสนานุช | - |
dc.contributor.advisor | Puchong Senanuch | - |
dc.contributor.author | จีรพา กิจเต่ง | - |
dc.contributor.author | Girapha Kitteng | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2024-06-06T12:23:07Z | - |
dc.date.available | 2024-06-06T12:23:07Z | - |
dc.date.issued | 2013 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2369 | - |
dc.description | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556 | en |
dc.description.abstract | การศึกษา “รูปแบบการจัดบริการสังคมสำหรับเด็กพิเศษบ้านลอเรนโซ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของเด็กพิเศษ ศึกษากระบวนการทำงานในการดูแลเด็กพิเศษ ศึกษาการจัดบริการสังคมสำหรับเด็กพิเศษ และเพื่อสร้างข้อเสนอแนะต่อการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสังคมที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของเด็กพิเศษในบ้านลอเรนโซ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน คือ ผู้บริหาร โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเด็กโต กลุ่มเด็กเล็ก และกลุ่มพี่เลี้ยงเด็ก ใช้วิธีการสนทนากลุ่มแบบมีส่วนร่วม (Focus Group) ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งได้จากการสังเกตและการศึกษาเอกสาร เช่น ประวัติของสถานสงเคราะห์บ้านลอเรนโซและรายงานประจำปี เป็นต้น ซึ่งบ้านลอเรนโซ ถือเป็นสถานสงเคราะห์เอกชนที่ให้ความอุปการะแก่เด็กกำพร้าที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จากมารดา ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของเด็กพิเศษพบว่า กลุ่มเด็กโต ซึ่งประกอบด้วยเด็กจำนวน 8 คนเป็นหญิง 7 คนและชาย 1 คน อายุระหว่าง 12-18 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้นจำนวน 5 คน และระดับมัธยมปลายจำนวน 3 คน เด็กทุกคนอาศัยอยู่ในบ้านลอเรนโซ มากกว่า 5 ปีขึ้นไป และกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งประกอบด้วยเด็กจำนวน 6 คนเป็นเด็กหญิงทั้งหมดอายุระหว่าง 8-11 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมปีที่ 3 ถึงชั้นประถมปีที่ 5 เด็กทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจที่ได้รับการจัดบริการทางสังคมที่เหมาะสมในมิติต่างๆ เพียงพอต่อการดำรงชีวิต กลุ่มเด็กโตต้องการความเป็นส่วนตัวและแยกจากเด็กเล็ก เด็กโตเริ่มมองอนาคตของตนเมื่อจะต้องกลับสู่สังคม และเกิดความกังวลเกี่ยวกับการยอมรับจากสังคม การสร้างบรรยากาศครอบครัวในสถานสงเคราะห์ทำให้เด็กรู้สึกผูกพัน และการเสริมทักษะชีวิตกับเด็กในรูปแบบต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นมากเพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดความมั่นใจ ส่วนกลุ่มเด็กเด็ก ยังไม่คิดเกี่ยวกับอนาคตมากนัก เด็กได้รับการสอนให้เริ่มช่วยเหลือตนเอง และรับผิดชอบงานบางอย่าง ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเองเห็นคุณค่าของตนมากยิ่งขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่ของเด็กทั้งสองกลุ่ม คือ เรื่องที่เกี่ยวกับความเปราะบาง ด้านจิตใจ การขาดแรงจูงใจในชีวิต ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กควรให้ความสำคัญ กระบวนการทำงานของบ้านลอเรนโซในการดูแลเด็กพิเศษพบว่าในกระบวนการ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นแรกรับเข้า จนถึงขั้นการเตรียมเด็กกลับสู่สังคม และเพื่อให้กระบวนการต่างๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว ย่อมมีส่วนของกลไกบริหารจัดการ และกลไก การปฏิบัติงานในส่วนของผู้บริหาร และพี่เลี้ยงเด็ก เข้ามาขับเคลื่อนการทำงานในกระบวนการด้วย รูปแบบการจัดบริการสังคมของบ้านลอเรนโซ พบว่ามีองค์ประกอบ ของการจัดบริการด้านต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะที่เอื้อต่อการดูแลพิเศษ คือ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านโภชนาการ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านนันทนาการ ด้านความมั่นคงในชีวิตของเด็ก ด้านการฝึกทักษะชีวิต และด้านการอบรมคุณธรรมจริยธรรม ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนารูปแบบการจัดบริการสังคมที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของเด็กพิเศษในบ้านลอเรนโซ แยกตามประเด็นศึกษาพบว่า การทำงานในองค์กรยังค่อนข้างเป็นแนวตั้งรับอยู่ภายในองค์กร ดังนั้น เพื่อการพัฒนางานให้มีคุณภาพขึ้นจึงควรเริ่มขยายงานเชิงรุกด้วย ในรูปแบบของการออกสู่ชุมชนหรือสังคม ด้วยกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อจะทำให้ชุมชนหรือสังคมได้เปิดกว้างและยอมรับเด็กพิเศษมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับการส่งเด็กกลับสู่สังคม ข้อเสนอแนะด้านปัญหาและความต้องการของเด็กพิเศษบ้านลอเรนโซ พบว่า ควรมีการเตรียมการด้านการขยายบ้านเด็ก และแยกเด็กตามช่วงวัยให้ชัดเจน เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของเด็กได้อย่างเหมาะสม ควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตามความถนัดของเด็กให้หลากหลายขึ้น โดยการจัดหาครูมาสอนพิเศษ เพื่อเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาให้กับเด็ก ควรมีการเน้นในเรื่องของความสัมพันธ์ที่ดีในระหว่างผู้ดูแล พี่เลี้ยง กับเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีความผูกพันกับบ้าน เมื่อมีปัญหาทางด้านอารมณ์ บุคคลที่อยู่รอบข้างจะได้สามารถช่วยเหลือเด็กได้อย่างเกิดผล และควรจัดให้มีนันทนาการเสริมเพื่อช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายอารมณ์ได้หลากหลายขึ้น ควรเสริมทักษะในด้านต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง และเข้มแข็งเมื่อต้องเผชิญกับแรงเสียดทานจากสังคมและควรมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องที่ให้โอกาสแก่เด็กในการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการทำงานของบ้านลอเรนโซ พบว่าควรมีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลประวัติ เอกสาร และบันทึกของเด็ก โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับเด็กในแต่ละคน เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ภายในองค์กร และกับหน่วยงานอื่นได้ โดยจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการค้นหาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และควรจัดให้องค์กรมีนักจิตวิทยาที่มีความรู้และเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ด้านเด็ก สามารถช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างต่อเนื่อง จัดให้มีการเสริมพลังให้แก่กลุ่มพี่เลี้ยง และผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านที่จะเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรเหล่านี้ได้สามารถทำงานอยู่ในองค์กรได้นานๆ เนื่องจากการเปลี่ยนพี่เลี้ยงบ่อยจะมีผลต่อการปรับตัวและพฤติกรรมของเด็ก และควรเปิดโอกาสให้มีการเสริมทักษะในเรื่องการดูแลเด็ก การสร้างความเป็นผู้นำให้กับกลุ่มพี่เลี้ยงมากขึ้น ข้อเสนอแนะด้านการจัดบริการสังคมของบ้านลอเรนโซ พบว่าบริการสังคมที่บ้านลอเรนโซจัดให้กับเด็กพิเศษ มีลักษณะครอบคลุมและตอบสนองความต้องการของเด็ก แต่สิ่งที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาขึ้น คือ การเปิดโอกาสให้เด็กเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดเตรียมด้านต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง เช่น ด้านโภชนาการให้เด็กมีโอกาสเสนอเมนูอาหาร และมีโอกาสเตรียมอาหารด้วยตนเองในบางครั้ง บางคราว หรือรับผิดชอบการะทำสวน ปลูกผักเพื่อนำมาปรุงอาหาร เป็นต้น ในเรื่องของนันทนาการ ควรฝึกให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ มากขึ้น เพื่อสริมสร้างความมั่นใจให้กับเด็กต่อไป | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี | en |
dc.subject | HIV-positive children. | en |
dc.subject | สถานสงเคราะห์เด็ก | en |
dc.subject | Children -- Institutional care. | en |
dc.subject | บริการสังคม | en |
dc.subject | Social services | en |
dc.title | รูปแบบการจัดบริการสังคมสำหรับเด็กพิเศษบ้านลอเลนโซ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี | en |
dc.title.alternative | Pattern of Social Serviec Provision for Special Children in Lorenzw Home Phanatnikom District Chonburi Province | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม | en |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jirapa-Kitteng.pdf Restricted Access | 17.05 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.