Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/236
Title: รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้าน
Other Titles: Models of Social Welfare Arrangement for Home Workers
Authors: โชคชัย สุทธาเวศ
Chokchai Suttawet
ลือพงศ์ บัวเพ็ชร
Luepong Buapetch
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ผู้รับงานไปทำที่บ้าน
ค่าจ้างกับแรงงาน -- ไทย
นโยบายแรงงาน
กฎหมายแรงงาน
Home labor
Wages and labor productivity -- Thailand
Labor policy
Issue Date: 2000
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้รับงานไปทำที่บ้าน รูปแบบสวัสดิการสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดขึ้นและพัฒนาของสวัสดิการสังคมสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้าน และรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีสถานภาพเป็นลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน จำนวนผู้รับงานไปทำที่บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการรวมกลุ่มกันอย่างหลากหลาย มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาอาชีพเป็นระบบการจ้างงานสมัยใหม่ เช่น การทำงานบางเวลา การทำงานชั่วคราว การทำงานอิสระ โดยผู้รับจ้างรับงานไปทำที่บ้านนั้น ปัจจุบันมีการว่าจ้างกันอยู่ทั่วไปในกิจการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานในภาคบริการหรือภาคอุตสาหกรรม ในการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้าน จากผลการศึกษาพบว่านอกจากผู้รับงานไปทำที่บ้านจะได้รับค่าแรงถูก มีรายได้ต่ำ ขาดเงินทุนหมุนเวียน ไม่มีอำนาจต่อรอง ไม่ได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานแล้ว ยังพบว่าผู้รับงานไปทำที่บ้านส่วนมากเป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ มีความหลากหลายของผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีความหลากหลายในชนิดและประเภทของงาน มีความแตกต่างของบุคคล ของกลุ่มคน และมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณีตามลักษณะของท้องถิ่น หรือพื้นที่ที่รับงานไปทำที่บ้าน ในรูปแบบการจัดสวัสดิการ 3 รูปแบบ คือแบบเก็บตก แบบสถานบัน และแบบสัมฤทธิ์ผลทางอุตสาหกรรม กับการจ้างงานสมัยใหม่ของการรับงานไปทำที่บ้านนั้น ปรากฏว่าสวัสดิการสังคมที่มีสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสวัสดิการที่เข้าข่ายแบบสัมฤทธิ์ผลทางอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองความสำเร็จและคุณภาพของงาน เช่น กองทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ การจัดสวัสดิการในเชิงการให้การศึกษา การฝึกอบรมทักษะในฝีมือในการทำงานเป็นต้น เพราะฉะนั้น การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้าน ในอนาคตจำเป็นต้องจัดรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย และควรให้สอดคล้องกับอนุสัญญาและข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ปัจจุบันกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้จัดตั้งสำนักงานผู้รับงานไปทำที่บ้าน สังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และรัฐบาลได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านระดับชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายมาตรการ และแนวทางในการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านแล้ว ผู้วิจัยได้เสนอแนะประเด็นสำคัญ ๆ ถึงรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคม และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้าน ดังต่อไปนี้1. ควรปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านระดับชาติ โดยส่วนใหญ่ของสภาองค์การนายจ้างและสภาองค์การลูกจ้างนั้น ควรจะให้สิทธิ ทุกสภาพองค์การที่มีสถานภาพตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันได้มีสิทธิเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อความหลากหลายในแนวความคิด และเพื่อประโยชน์ในการสร้างเครือข่ายประสานงาน เพื่อช่วยเผยแพร่งานที่รับไปทำที่บ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึง และทำให้มีการรับรู้อย่างกว้างขวาง2. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ควรจัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมอาชีพผู้รับงานไปทำที่บ้าน” เพื่อสนับสนุนด้านสินเชื่อในลักษณะกึ่งอิสระ ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้านในการลงทุนประกอบอาชีพ3. สำนักงานผู้รับงานไปทำที่บ้าน ควรเร่งส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านจัดตั้งองค์การนิติบุคคลในรูปแบบสหกรณ์ของผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยเน้นให้จัดตั้งสหกรณ์การผลิต4. คณะกรรมการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ควรพิจารณาหามาตรการแก้ไขปัญหาการเงินของผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ได้จดทะเบียนไว้ ณ สำนักงานส่งเสริม พัฒนาและคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยใช้วิธีการเช่นเดียวกับวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการดำเนินการของคณะกรรมการพิจารณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร5. คณะกรรมการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ควรเสนอแนะให้รัฐบาลให้การรับรองสถานภาพของผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 177 และ ข้อเสนอแนะฉบับที่ 184 ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน ค.ศ.1996 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ6. ควรปรับปรุงการจดทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้านในรูปองค์กรหรือกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านแทนการจดทะเบียนเป็นรายบุคคล
The scope of the thesis is to study the real problems and the needs of home workers who perform their work at home. The study also includes the present social welfare available for home worker and the development of the suitable social welfare system for them in the future. It is found that the home workers are working in and informal employment scheme, outside legal control under the labour laws. A huge home workers growth rate increase rapidly. Home workers group themselves in various types according to their interests and a new system of employment, such as, pare time work, temporary work and independent work. Currently home workers supply their jobs to many business transactions, both in services and industrial enterprises. Home workers get low wages, low income, insufficient cash flows and they have no powers at all to negotiate for social welfare with any agency. Most of home workers are the low income earners. There are varieties in relating to home workers types of works, difference in persons, etc groups of people and difference in workers’ cultures and customs according to localities. According to the three theoretical models of the social welfare arrangement, namely. The residual model, the institutional model and the industrial achievement model. It is founded that the popular types of social welfare arrangement for the home workers are responsible to the industrial achievement model, for example, the occupational development fund, the education and training projects for home workers. Therefore, to set up a suitable social welfare arrangement for home workers it is necessary to use various concepts and many technics. The social welfare arrangement for home workers therefore, should follow the international labour Organization (ILO)’s conventions and recommendations. Presently the Ministry of Labour and Social Welfare had set up and office for home workers under control of the Social Welfare and Labour Protection Department. The Government has also appointed the National Promotion, Development and Protection for Home Worker Committees in order to set up policies and find ways and means to encourage, protect, and develop methods in assisting home workers. The researcher suggests important issues for a creation for a creation of various types of social welfare arrangement for home workers as following: 1. The National Promotion, Development and Protection for Home Workers Committees should be composed of the representatives of every national employer councils and the national labour congress, as for the benefits getting the varieties of ideas and for the creation of networking. Since all these organizations have their rights in representation. 2. The Ministry of Labour and Social Welfare should set up a “Home Workers Fund”to be as a semi-independent fund for helping home workers financially and to promote the take-home jobs.3. The office of Home Workers should speed up and encourage the cooperation of home workers in form of producer cooperatives. 4. The National Promotion, Development and Protection of Home Workers should solve the financial problems for home workers who are registered at the office of Home Workers, by using the same method as it is used in solving the farmers’s financial problem.5. The National Promotion. Development and Protection for Home Workers Committees should suggest to the government to ratity the OLO’s convention no. 177 and recommendation no. 184, 1966 on home workers. 6. The government should improve a registration system of home workers by emphasizing the registration in term of group or organization instead of registration in term of individuals.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/236
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf487.19 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontent.pdf178.33 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf446.43 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf144.28 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
references.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.