Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/273
Title: | การปรับปรุงการจัดตารางการผลิตในอุตสาหกรรมเล่นส์แว่นตา : กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง |
Other Titles: | Improvements of Production Scheduling for Lenses Industrial : A Case Study Industrial at Ladkrabang Industrial Estate |
Authors: | แววมยุรา คำสุข Wawmayura Chamsuk สายชล จำปาอ่อน Saichon Champaon Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | อุตสาหกรรมเลนส์แว่นตา เลนส์แว่นตา การกำหนดงานการผลิต Production scheduling Lenses Industrial Lenses |
Issue Date: | 2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและการปรับปรุงการจัดตารางการผลิตเลนส์แว่นตาตามคำสั่งซื้อ ประกอบด้วยเลนส์แว่นตาที่มีความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์ ชนิด ขนาด ทำให้การจัดงานลงเครื่องมัลติโค๊ต จำนวน 8 เครื่อง มีความซับซ้อน ส่งผลให้เกิดปัญหาประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่าแผนการผลิต ดังนั้นวัตถุประสงค์การปรับปรุงการจัดตารางการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยใช้วิธีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป ORACLE และประมวลผลด้วย Microsoft Excel การพัฒนาระบบนำหลักการ พัฒนาระบบแบบ SDLC (System Development Life Cycle) และใช้วิธีการพยากรณ์ Moving Average เพื่อนำค่าการพยากรณ์ไปทำการจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) และได้รวบรวมข้อมูลกระบวนการผลิตและการจัดตารางการผลิตแบบเดิมมาวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาสู่ระบบใหม่ ผลการวิจัยพบว่า การจัดตารางการผลิตรูปแบบใหม่ ค่าเฉลี่ยรวมของผลผลิตจริง (Actual output) ต่อเครื่อง เพิ่มขึ้น จากเดิม 1422 ชิ้น เพิ่มขึ้น 1549 ชิ้น มีผลต่าง 127 ชิ้น คิดเป็น 8.93% และเปอร์เซ็นต์การใช้งานเครื่องจักรมัลติโค๊ตที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 74% เพิ่มขึ้น 82% มีผลต่าง 8% ดังนั้นการจัดตารางการผลิตที่มีการปรับปรุงนี้สามารถนำไปใช้งานได้จริงและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต This research involves the study and techniques to improve lenses scheduling to orders due to lenses with a variety of sizes the event into a multicoat total 8 machine is complex. The problem of production efficiency, lower production plan which primarily aims to enhance efficienct of lenses scheduling in production by using ORACLE and Mircosoft Office Excel. The system has been developed through System Development Life Cycle and Moving Average forecasting method. The result from this research will be applied in the Master Production Scheduling. Besides, there will be data collection and analysis of old production scheduling in order to find the right approach in system improvement. The research found that the average actual yield per unit of new scheduuling had increased from 1,422 pieces to 1,549 pieces with a difference of 127 pieces, representing 8.93%. The utilization design percentage had also increased from 74% to 82% with a difference of 8%. In conclusion, the improved production scheduling from this research can be substantially applied and increase productivity in production system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กจ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/273 |
Appears in Collections: | Business Administration - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SAICHON-CHAMPAON.pdf Restricted Access | 4.83 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.