Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2853
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorNuttsa Sanitvong Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorณัฐสนันท์ หอมกลิ่นเทียน-
dc.contributor.authorNutsanun Homklinthain-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2024-09-22T07:39:25Z-
dc.date.available2024-09-22T07:39:25Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2853-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546en
dc.description.abstractการศึกษาเครือข่ายทางสังคมและการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของสตรีโสด อายุ 45-60 ปี ในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครือข่ายสังคม และการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของสตรีโสด ที่มีการเป็นโสดรูปแบบต่างๆ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน เป็นสตรีโสดที่หลากหลายอาชีพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ โดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดให้มีตัวแปร 3 กลุ่ม คือ ตัวแปรอิสระ ได้แก่ 1) รูปแบบของการเป็นโสด การเป็นโสดโดยสมัครใจ และไม่สมัครใจ ทั้งแบบโสดชั่วคราว และโสดถาวร 2) ตัวแปรแบ่งกลุ่ม แบ่งเป็นตัวแปรด้านชีวสังคม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และการอยู่อาศัย 3) ตัวแปรปัญหา คือ เครือข่ายทางสังคมและการเตรียมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 46-50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ระหว่าง 10,001-20,000 บาท ซึ่งเพียงพอเหลือเก็บ ส่วนใหญ่มีบ้านเป็นของตนเองและอาศัยอยู่กับครอบครัวส่วนรูปแบบของการเป็นโสด กลุ่มตัวอย่างที่มีความต้องการอยู่เป็นโสดอย่างถาวรด้วยความสมัครใจ มีสัดส่วนสูงที่สุด รองลงมา คือ ไม่ได้สมัครใจอยู่เป็นโสด แต่ยังไม่พบคนที่ถูกใจและสมัครใจอยู่เป็นโสดเพียงชั่วคราวมีน้อยที่สุดจากการศึกษาด้าน เครือข่ายทางสังคมของสตรีโสด พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวสูง ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่สตรีโสดมีการติดต่อมาเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด มีปฏิสัมพันธ์โดยการพบปะพูดคุยจากการศึกษาการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของสตรีโสดในด้านต่างๆ พบว่า สตรีโสดส่วนใหญ่ จะมีการเตรียมตัวด้านร่างกายและสุขภาพสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านการเงินและการใช้จ่าย ด้านที่พักอาศัย ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม และด้านการใช้เวลาและงานอดิเรกมีน้อยที่สุดจากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเผยแพร่และสนับสนุนในแง่ของการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางสังคม สวัสดิการด้านการดูแลสำหรับสตรีโสด และการเตรียมตัวที่ดีในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อม เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุที่แท้จริงและเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectสตรีโสดen
dc.subjectSingle womenen
dc.subjectเครือข่ายสังคมen
dc.subjectSocial networksen
dc.subjectวัยสูงอายุen
dc.subjectOld ageen
dc.subjectPre-aging womenen
dc.titleการศึกษาเครือข่ายทางสังคมและการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของสตรีโสดอายุ 45-60 ปี ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA Study on Social Network and Aging Preparation of Single Women Aged 45-60 Years Old in Bangkoken
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
A-Study-on-Social-Network-and-Aging-Preparation-of-Single-Women.pdf
  Restricted Access
18.53 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.