Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2856
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.advisorจริยาวัตร คมพยัคฆ์-
dc.contributor.advisorRachanee Namjuntra-
dc.contributor.advisorJariyawat Kompayak-
dc.contributor.authorณิชาพร คงบันเทิง-
dc.contributor.authorNichaporn Kongbanthueng-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2024-09-22T09:50:00Z-
dc.date.available2024-09-22T09:50:00Z-
dc.date.issued2008-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2856-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551en
dc.description.abstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูง อาการอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อาการเตือน จนถึงอาการรุนแรงเฉียบพลัน หากมีอาการรุนแรงไม่ได้รับการช่วยเหลือจากแพททย์อาจทำให้ทุพพลภาพหรืออันตรายถึงกับชีวิตได้ การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างมีประสิทธิภาพคือ การป้องกันผู้ป่วยเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยควบคุมระดับความดันโลหิตตั้งแต่แรกการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจากภาวะความดันโลหิตสูง โดยใช้รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ศึกษาได้คัดเลือกหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 16 เรื่อง นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แนวปฏิบัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบด้วย การซักประวัติ การตรวจร่างกายและการประเมินความเครียด และส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งประกอบด้วย การระบุความเสี่ยง การให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่ม แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเป็นไปได้ของการปฏิบัติโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่าน จากนั้นผู้ศึกษาได้นำไปให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานที่แผนกผู้ป่วยนอกทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะเวลา 2 สัปดาห์ จำนวน 4 ราย ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลมีความพึงพอใจต่อแบบประเมินความเสี่ยง เนื่องจากใช้งานง่าย อีกทั้งช่วยให้พยาบาลดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้นข้อเสนอแนะในการศึกษา ควรมีการจัดอบรมแก่พยาบาลในงานผู้ป่วยนอกก่อนการใช้งานแนวปฏิบัติจริง อีกทั้งควรได้รับความรู้และทักษะในการประเมินประวัติการเจ็บป่วยในอดีตที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และควรมีการศึกษาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแนวปฏิบัตินี้ เพื่อให้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป๋วยโรคความดันโลหิดสูงต่อไปen
dc.description.abstractStroke is a significant complication of Hypertension. Signs of stroke could begin from warning sign to acute severely signs. Loss of life or disability could be happened when patients with severely signs did not receive promptly care from physicians. Controlling blood pressure level at the beginning was an efficient care for patients with hypertension to prevent stroke.The purpose of this study was to develop clinical nursing practice guideline for preventing stroke occurring from high blood pressure. The evidence based practice model was used as a framework in this CNPG. Sixteen relevant evidences were analyzed and synthesized in order to develop the clinical nursing practice guideline for preventing stroke among hypertension patients. This CNPG was divided into two parts. First part was the risk assessment for occurring stroke, which consisted of history, physical examination and stress assessment. Second part was the guideline for preventing stroke, which consisted of identifying risks,, providing education and promoting health behavior by using group process. This CNPG was validated by two experts. After that, it had been applied with hypertension patients at the outpatients department for two weeks. This study found that risk assessment due to easy application. This CNPG also helped nurses for caring hypertension patients more confident.This study suggested that training nurses how to use this CNPG before actual use, providing knowledge and skill for accessing past history related to risk factor for occurring stroke. Furthermore, there should have a study for evaluating the effectiveness of this CNPG in order to develop this CNPG continuously, which would be beneficial to hypertension patients regarding to their health and their quality of life.en
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมอง -- การป้องกันen
dc.subjectCerebrovascular disease -- Preventionen
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วยen
dc.subjectHypertension -- Patientsen
dc.titleการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงen
dc.title.alternativeThe Development of Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke Prevention among Hypertensive Patientsen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนen
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Development-of-Clinical-Nursing-Practice-Guideline-for-Stroke.pdf
  Restricted Access
14.57 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.