Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2863
Title: การจัดการรายกรณีสำหรับเด็กด้อยโอกาสเชิงพื้นที :กรณีศึกษาโครงการคลองเตยโมเดล
Other Titles: Area Based Case Management for Underprivileged Chidren : A Case Study of Klong Toei Model Project
Authors: ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
Thipaporn Phothithawil
ดำรงศิลป์ เป็งใจ
Damrongsin Pengchai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: การสงเคราะห์เด็ก -- ไทย -- กรุงเทพฯ (คลองเตย)
Child welfare -- Thailand -- ฺBangkok (Klong Toei)
ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ (คลองเตย)
Slums -- Thailand -- Bangkok (Klong Toei)
สังคมสงเคราะห์เฉพาะราย
Social case work
โครงการคลองเตยโมเดล
Klong Toei Model Project
เด็กด้อยโอกาส -- การสงเคราะห์
Underprivileged chidren
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษา “การจัดการรายกรณีสำหรับเด็กด้อยโอกาสเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษาโครงการคลองเตยโมเดล” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการรายกรณีสำหรับเด็กด้อยโอกาสเชิงพื้นที่ชุมชนคลองเตย 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการรายกรณี ผลการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการรายกรณี จุดแข็งและปัญหาอุปสรรคของผู้จัดการรายกรณีในชุมชนคลองเตย และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการจัดการรายกรณีที่เหมาะสมสำหรับเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ชุมชนคลองเตย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้จัดการโครงการคลองเตยโมเดล ผู้นิเทศงานโครงการคลองเตยโมเดล หัวหน้างานผู้จัดการรายกรณี และการสนทนากลุ่มของผู้จัดการรายกรณีผลการศึกษา พบว่า 1) การจัดการรายกรณีสำหรับเด็กด้อยโอกาสเชิงพื้นที่ชุมชนคลองเตย เป็นแนวคิดและวิธีการทำงานโดยผู้จัดการรายกรณีซึ่งเป็นคนในพื้นที่ มีระบบส่งต่อระหว่างองค์กร ในรูปแบบสหวิชาชีพและทำงานร่วมกับชุมชน 2) กระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการรายกรณี คือ การหลอมรวมแนวคิด การอบรมและเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงาน การนิเทศงาน ผลของการพัฒนาศักยภาพ ทำให้ผู้จัดการรายกรณีมีทัศนคติเขิงบวก ได้รับความรู้ เกิดเครือข่ายและต่อยอดการปฏิบัติงาน และผลของการพัฒนาศักยภาพที่มีต่อเด็กด้อยโอกาส คือ เด็กได้รับการบริการเชิงรุกและเป็นระบบมากขึ้น ส่วนจุดแข็งของการจัดการรายกรณี คือ การส่งต่อระหว่างหน่วยงาน การมีความเข้าใจชุมชนและสถานการณ์ของเด็ก ประสบการณ์การทำงาน ความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพในพื้นที่ ความตั้งใจปฏิบัติงาน การมีศักยภาพในการทำงาน ปัญหาอุปสรรคของการจัดการรายกรณี คือ การมีงานที่หลากหลายทำให้ขาดการทำงานเขิงลึก การทำหน้าที่ของผู้จัดการรายกรณีส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพที่ดีกับคนในชุมชน ความเคยชินกับวิธีการทำงานแบบเดิมๆ ความก้าวหน้าในงานและความชำนาญในวิชาชีพยังไม่เพียงพอ ไม่ได้รับความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพ และ 3) ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการจัดการรายกรณีที่เหมาะสมสำหรับเด็กด้อยโอกาสในชุมชนคลองเตย คือ ควรส่งเสริมบทบาทของผู้จัดการรายกรณีและพัฒนาศักยภาพให้มีความชำนาญ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับนโยบายระหว่างหน่วยงานและปฏิบัติงานเชิงลึกกับเด็กและครอบครัวได้ ตลอดจนส่งเสริมให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กด้อยโอกาสในชุมชนคลองเตย ควรส่งเสริมให้มีหน่วยงานที่มีความชำนาญในวิชาชีพเป็นศูนย์กลางประสานในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กด้อยโอกาสและให้ความสำคัญกับบทบาทผู้จัดการรายกรณีในการร่วมทีมสหวิชาชีพ
The objectives of this study were 1) to study an area based case management for underprivileged children in Klong Toei area 2) to study the case manager capacity building process, its result, and the strength and obstacles of case manager in Klong Toei community area 3) to find out the suggestion of case management development for underprivilege children in Klong Toei area. Collecting data was using qualitative research by an in-depth interview of Klong Toei model project manager, supervisor, head of the case managers and group discussion.The study revealed that 1) Area based case management for underprivileged children in Kloy Toei area is a concept and procedure of local case manager which is a referral system to the organizations concerning with multidisciplinary model and work with the community. 2) The case manager capacity building processes were a concept convergence, training, active learning and supervision. Its result bring to the case manager’s positive attitude and knowledge. There were network and extending practice. It also results to underprivileged children to get more proactive service systematically. The strength of case management was the referral system to the concern organizations, understanding of community and children situation, working experience, coordinating of local multidisciplinary team, working intention, and work capacity. The obstacle of case management were that the case manager works a variety so they couldn’t work in-depth. Carrying out case manager’s duty affects to community relationship, getting use to a routine work, job advancement, insufficient professional expertise, and lack of co-operation of multidisciplinary team. 3) The suggestion for case management development for underprivileged children in Klong Toey area was that the case manager’s role should be encouraged and also build up his/her capacity. The case manager should be able to work with the policy level and work in-depth with children and family. In addition, there should have a professional co-ordination unit providing a capacity building for workers who working with underprivileged children in Klong Toei as well as an awareness of the importance of case manager and also multidisciplinary team.
Description: การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2863
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Area-Based-Case-Management-for-Underprivileged-Children.pdf
  Restricted Access
19.45 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.