Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2865
Title: การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล : ด้านครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม และวัฒนธรรม
Other Titles: A Life Style Adjustment of the Occupants in Bangkok Metropolitan Suburbs and Its Peripheral Areas : Their Family, Socialization and Culture
Authors: ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
ต้องจิต นาคบุญชัย
Thongchit Narrboonchai
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Families -- Thailand -- Bangkok.
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
Social change
การดำเนินชีวิต
Conduct of life
สังคมประกิต
Socialization
การเลี้ยงดูเด็ก
Child rearing
การขัดเกลาทางสังคม
Issue Date: 1995
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในด้านครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม และการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของผู้อยู่อาศัยในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชากรของกรุงเทพมหานครในเขตลาดกระบัง และประชากรของจังหวัดสมุทรปราการในอำเภอที่ติดต่อกัน 3 อำเภอ คือ อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ และกิ่งอำเภอบางเสาธง จำนวน 784 คน ใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่งประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับขนาดครอบครัว ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว การขัดเกลาทางสังคมและถ่ายทอดวัฒนธรรม ได้รับแบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์กลับคืนมา จำนวน 618 ฉบับ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า1. ด้านขนาดครอบครัวพบว่าในปัจจุบันมีขนาดเล็กลง คือ อดีตเฉลี่ย 4.268 คน ที่พบมากที่สุดมีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 35.90 ปัจจุบันเฉลี่ยเพียง 3.351 คน ที่พบมากที่สุด คือ มีสมาชิกครอบครัวละ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 35.902. ด้านความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว พบว่า ปัจจุบันความสัมพันธ์ในครอบครัวมีค่าเฉลี่ยลดลงจากอดีตทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญบางสถิติที่ระดับ .0013. ด้านการขัดเกลาทางสังคม ในเรื่องของการอบรมนิสัยและการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญจากผู้อาวุโส พบว่า ปัจจุบันการอบรมนิสัยและการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญมีค่าเฉลี่ยลดต่ำลงจากในอดีตทั้ง 2 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0014. เรื่องการอบรมสั่งสอนให้เด็กเป็นคนเก่งโดยเน้นพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมพบว่า ในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง ไม่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับปานนกลาง แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันก็ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวเหมือนในอดีต ส่วนในเรื่องการช่วยเหลือตนเอง การเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ การปฏิบัติตามมารยาททางสังคม และการรู้จักยอมรับผิดเมื่อกระทำผิด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยในปัจจุบันต่ำกว่าในอดีตทุกลักษณะ5. เรื่องการอบรมสั่งสอนเพื่อให้เด็กเป็นคนดีโดยเน้นพัฒนาการด้านจริยธรรม พบว่าในเรื่องการมีใจเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว การตรงต่อเวลา และการเคารพกฎระเบียบวินัยไม่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับปานกลางแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญเหมือนในอดีต สำหรับเรื่องการมีสัมมาคารวะ และการเกรงใจผู้อื่น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการกตัญญูกตเวที และการปฏิบัติตามหลักศาสนาม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยในปัจจุบันต่ำกว่าในอดีตทุกลักษณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปฏิบัติตามหลักศาสนา6. เรื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรม พบว่า ในเรื่องการซื่อสัตย์กับคู่ครอง การถือคติจะไปก็ลาจะมาก็ไหว้ การตอบแทนบุญคุณผู้มีพระคุณ การถือความซื่อสัตย์สุจริต และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เมื่อมีภัย ไม่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับปานกลางทุกลักษณะ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างในปัจจุบันคงมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้กับเด็กรุ่นหลัง เหมือนในอดีต ส่วนในเรื่องการให้ความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ การทำความเคารพผู้ใหญ่ การนิยมศิลปะไทย มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญมีระดับ .05 สำหรับเรื่องการรักนวลสงวนตัว การมีพิธีแต่งงาน การที่ผู้ชายต้องบวชทดแทนคุณพ่อและแม่ การไม่โต้แย้งผู้ใหญ่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเกือบทุกลักษณะมีค่าเฉลี่ยในปัจจุบันลดลงกว่าในอดีตโดยเฉพาะการไม่โต้แย้งผู้ใหญ่ มีเพียงการนิยมศิลปะไทยเท่านั้น ที่มีค่าเฉลี่ยในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตผลงานวิจ้ยในครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้ ในเรื่องวัฒนธรรมควรให้การศึกษาอบรมสร้างเสริมปลูกฝังให้แก่เด็กรุ่นหลังในส่วนที่ยังขาดหายไป เพื่อพัฒนาไปพร้อมๆ กับวัฒนธรรมในด้านอื่นที่ยังคงยืดถืออยู่ ในเรื่องความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวและในด้านวัฒนธรรม ผู้อาวุโสหรือพ่อและแม่ควรชี้แจงให้เห็นถึงผลดีและผลเสียเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติตนต่อตนเอง และผู้อื่น ในสถานศึกษาควรเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนให้ความรู้ในด้านครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรม
Description: ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2538
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2865
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
A-life-style-adjustment-of-the-occupants-in-Bangkok.pdf
  Restricted Access
16.43 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.