Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/287
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนิจ นิจอนันต์ชัย-
dc.contributor.authorวันเพ็ญ อื้อฉาว-
dc.contributor.authorWanpen Au-Chae-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-05-13T07:33:37Z-
dc.date.available2022-05-13T07:33:37Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/287-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการใช้ยาเสพติดของเด็กเร่ร่อน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ยาเสพติดของเด็กเร่ร่อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการการศึกษาได้แก่ เด็กเร่ร่อนจำนวน 200 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS For Window เพื่อหาค่าร้อยละ (Percent) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)ผลการศึกษาพบว่า เด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 15-19 ปี อายุเฉลี่ย 17 ปี ส่วนใหญ่เป็นลูกคนโต มีการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภูมิลำเนาเกิดในกรุงเทพมหานครมากที่สุด ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน โดยเฉลี่ยมี 5 คนก่อนออกจากบ้านมาเร่ร่อนพักอยู่กับพ่อแม่มากที่สุด เด็กส่วนใหญ่มีอาชีพขอทาน เด็กมีรายได้ตั้งแต่1-100 บาท ซึ่งจะใช้เวลาช่วง 10.00-18.00 น.เพื่อออกหารายได้ เด็กส่วนใหญ่ออกจากบ้านมาเร่ร่อน 1-3 ปี สาเหตุที่ออกจากบ้านเพราะทะเลาะกับพ่อแม่ ความคาดหวังด้านอาชีพเด็กส่วนใหญ่อยากเป็นทหาร พบว่าเด็กมีความทุกข์กังวลเกี่ยวกับปัญหาพ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยครั้ง เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่เท่าเทียมกับเด็กอื่น ๆ และเด็กเร่ร่อนคิดว่าคนในสังคมมองเขาว่าเป็นเด็กไม่ดีเร่ร่อนจรจัด เด็กคิดว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี พบว่าเด็กส่วนใหญ่เคยทะเลาะกับคนอื่น ๆ ถึงขั้นตีและชกต่อยกัน พ่อแม่ของเด็กส่วนใหญ่แยกทางกัน และส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป การสนับสนุนจากครอบครัว ชุมชน สังคมและสถาบัน จากการศึกษา พบว่า 1) การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวที่เด็กส่วนใหญ่ได้รับ คือ การบอกถึงโทษแดละพิษภัยของยาเสพติด 2) การสนับสนุนทางสังคมจากชุมชนที่เด็กส่วนใหญ่ได้รับ คือการสนับสนุนด้านอาหาร เด็กส่วนใหญ่เคยร่วมกิจกรรมด้านยาเสพติดกับชุมชน 3) การสนับสนุนทางสังคมจากสังคมและสถาบันพบว่า สิ่งที่เด็กประทับใจมากที่สุดในการไปใช้บริการ ได้แก่การสนับสนุนด้านอาหารส่วนสิ่งที่เห็นควรให้การปรับปรุงได้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้บริการเด็กเร่ร่อนควรดูแลเรื่องปัญหาความขัดแย้งระหว่างเด็กเก่าและเด็กใหม่ที่เข้าไปใช้บริการปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ยาเสพติดของเด็กเร่ร่อน 1) ด้านทัศนคติต่อยาเสพติด พบว่าเด็กส่วนใหญ่คิดว่ายาเสพติดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเชื่อว่าถ้าใช้ยาเสพติดบ่อยครั้งและจะทำให้ติดและเลิกได้ยาก 2) ด้านสภาพปัญหาจากครอบครัว พบว่าเด็กถูกทำรายร่างกายอย่างรุนแรงจากครอบครัว เช่นการตบหน้า การผลัก 3) ด้านอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนเด็กส่วนใหญ่มีเพื่อนในกลุ่มประมาณ 3-4 คน เพื่อในกลุ่มส่วนใหญ่ใช้ยาเสพติดประเภทสารระเหย 4) ด้านสภาพแวดล้อมที่ใกล้ชิดผู้ใช้ยาเสพติด เด็กส่วนใหญ่เร่ร่อนและพักอาศัยอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะพื้นที่ที่ชอบไปมากที่สุดได้แก่สนามหลวง โดยให้เหตุผลว่าชอบไปเที่ยวช่วงเทศกาลต่าง ๆ และไปขอเงิน พื้นที่ที่แร่ร่อนหรือพักอาศัยส่วนใหญ่มีคนใช้ยาเสพติด เด็กส่วนใหญ่ใช้ยาเสพติดมาแล้วประมาณ 3-4 ปี ยาเสพติดที่ใช้ครั้งแรกได้แก่บุหรี่ ผลการทดสอบสมมติฐานในการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ยาเสพติด ได้แก่ เพศ ภูมิลำเนา การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง และการคบเพื่อนที่ใช้ยาเสพติดเพศในการศึกษานี้มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของเด็กเร่ร่อน กล่าวคือ เด็กเร่ร่อนเพศหญิง มีระยะเวลาการใช้ยาเสพติดยาวนานกว่าเพศชาย แต่ในด้านปริมาณเพศชายใช้ยาเสพติดมากกว่าเพศหญิงภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ยาเสพติดของเด็กเร่ร่อน กล่าวคือ เด็กเร่ร่อนที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้ยาเสพติดมากกว่าเด็กเร่ร่อนที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการใช้ยาเสพติดของเด็กเร่ร่อน กล่าวคือการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ผู้ศึกษาใช้การสนับสนุนด้านปัจจัยขั้นพื้นฐาน การให้เงินการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ในการศึกษา พบว่าเด็กเร่ร่อนที่ได้รับการสนับสนุนดังกล่าวมาก มีโอกาสใช้ยาเสพติดมากกว่าเด็กเร่ร่อนที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมดังกล่าวน้อยสภาพปัญหาของครอบครัว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการใช้ยาเสพติดของเด็กเร่ร่อน กล่าวคือ เด็กเร่ร่อนที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงจากครอบครัว มีโอกาสใช้ยาเสพติดมากกว่า เด็กเร่ร่อนที่ไม่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงข้อเสนอแนะของผู้วิจัยสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) ควรรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ครอบครัว งดใช้ความรุนแรงกับบุตร ครอบครัวควรดูแลเรื่องพัฒนาการด้านอารมณ์ และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเด็ก 2) ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลสมาชิกในชุมชนกำหนดมาตรการทางสังคมลงโทษกับผู้ที่ยังใช้ยาเสพติด และส่งผู้ติดยาเสพติดไปบำบัด 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้เกี่ยวกับการครองเรือน ควรมีการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงปัญหาเด็กเร่ร่อน หน่วยงานที่ให้บริการเด็กเร่ร่อนควรป้องกันปัญหาความขัดแย้งระหว่างเด็กที่เข้าไปใช้บริการในหน่วยงานth
dc.description.abstractThe objectives of this study were to examine the risk factors, drugs use and their decisions on using drugs of street children in Bangkok and Peripheral areas. There were 200 samples and SPSS for Window was used to analyse percentage, correlation and Multiple Regression. It was found that the majority of samples was male, aged between 15-19 years, with the mean age of 17. Most of them were grand children, who had education at primary 4-6 level. They were born in Bangkok. And lived with an average of 5 family members. The samples lived with their fathers. They were beggars who had an average income of 1-100 bath per day and worked between 10.00-18.00. Most were street children for 1-3 years. The reason for being street children as having a quarrel with their parents. Most of them expected to be soldier and had anxiety about their family problems such as quarrelling of parants and felt inferior to other children, they believed that society thought of them as bed children. They though drugs were bad things. Most of them had experience of quarreling with other people at the level of beating and boxing. Most of them parents were separated, they were general employees.The support from family, community society and institution were 1) Family on support activities on drugs prevention. 2) Community support on food and activities on drugs prevention. 3) The social support on food from non-government organization Factors effecting drug use were, 1) Attitude factor ; street children believed that drugs were bad for their health and frequent use of drugs made them addicted to them and difficult to abstain. 2) Family problem ; they were physically abused by caretakers. The physical abuse were in the form pushing and slaping. 3) Friend influence ; most had friends in group of 3-4. Most of them addicted to evaporate substances. 4) Most street children lived near public park. They liked to go to the Phra Meru Ground mostly because they wanted to visit fairs and festivals and begged for money from the pass-by persons. Their visited areas had drugs addicted people. From the Multiple Regression, variables that statistical significantly correlated with drugs use were sex, birth place, family support, severely physical abuse, having friends who were using drugs. From the testing of the hypothesis, it was found that Sex had influence on drugs use. That is, the female street children used drugs more than male street children. In terms of duration, the female street children used drugs longer than male street children, but in term of quantity, male street children used drug more than female street children. Birth place had positive correlation on drugs use. That is, street children who were born in Bangkok had more risk of using drugs than those, who were of born in other provinces. Social support had negative correlation on drugs use. That is, street children who got social support from their families money and more risk of using drugs than those who received little of those supports. Family problem had positive correlation on drugs use. That is street children who were abused by their families by means of beating had more risk of using drugs than those who have never been abused. The recommendations are as follows :1. There should be a campaigning program to raise awareness of family on child caring especially on emotional development and building close relation with their children. 2. Community should keep an eye on its members, specified social punishment to those who are using drugs and refer them to rehabilitation centers. 3. Related organizations should have a campaigning activity on family living and enable society to aware of problem of having street children. As for NGOs, those who provided services for street children should try to release conflicts between children who earlier approached to the center and those who lately arrived in.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectYouth -- Drug useth
dc.subjectเยาวชน -- การใช้ยาth
dc.subjectเด็กจรจัดth
dc.subjectVagrant childrenth
dc.titleเด็กเร่ร่อนกับการใช้ยาเสพติดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลth
dc.title.alternativeDrugs Use of Street Children in Bangkok and Peripheral Areasth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abtract.pdf933.83 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf299.94 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf978.17 kBAdobe PDFView/Open
chapter2-1.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open
chapter2-2.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf538.84 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
references.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.