Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2893
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการตรวจสุขภาพของผู้เข้ารับบริการจากอำเภอเมือง อำเภอบ้านบึง อำเภอพนัสนิคม และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในโครงการบริการชุมชน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2556
Other Titles: Determinants of Health Checkups among participants from Muang, Ban Bung, Phanat Nikhom and Sri Racha District, Chonburi Province in Huachiew Chalermprakiet University Community Service Project during 2007-2013
Authors: นนทยา ทางเรือ
สุชา จุลสำลี
วัชรัตน์ ตราดธารทิพย์
อัจฉรา ศรีวรรณ
Nonthaya Thangrua
Sucha Chulsomlee
Watcharat Tratthanthip
Auchara Sriwan
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology. Student of Bachelor of Medical Technology
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology. Student of Bachelor of Medical Technology
Keywords: การตรวจสุขภาพ
Periodic health examinations
พฤติกรรมสุขภาพ
Health behavior
การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ
Health risk assessment
การสำรวจสุขภาพ
Health surveys
Issue Date: 2018
Abstract: การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยโดยไม่รู้ตัว เช่น การบริโภคอาหารที่รวดเร็วและทันเวลา ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการสูบบุหรี่ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพ จากการศึกษาผลการตรวจสุขภาพของผู้มารับบริการจากอำเภอเมือง อำเภอบ้านบึง อำเภอพนัสนิคม และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่เข้าร่วมการตรวจสุขภาพโดยโครงการ มฉก. บริการชุมชนระหว่างปี พ.ศ. 2550-2556 จำนวน 347 ราย พบผู้มารับบริการที่ไม่มีโรคประจำตัวและมีดัชนีมวลกายสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 46 ราย (ร้อยละ 13.3) ระดับความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์จำนวน 38 ราย (ร้อยละ 11.0) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 2.3) และระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์จำนวน 117 ราย (ร้อยละ 33.7) นอกจากนี้ยังพบแนวโน้มของระดับความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลจากแบบสอบถามและผลการตรวจสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างทุกราย พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย และการออกกำลังกาย (p=0.000, p=0.000 และ p=0.001 ตามลำดับ) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัวได้แก่ อายุ และดัชนีมวลกาย (p=0.000 และ p=0.000) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย และการออกกำลังกาย (p=0.000, p=0.034 และ p=0.048 ตามลำดับ) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (p=0.002) จากการศึกษาในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง จึงควรมีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพในประชากรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นการให้ความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพ รวมทั้งการหาแนวทางในการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการรักษา อีกทั้งยังช่วยให้มีสุขภาพที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
Nowadays, hurry up lifestyle affected in Thai health. Regularly eating fast food can seriously damage on health especially the non-communicable diseases such as diabetes and hypertension. Eating behavior, exercising, alcohol drinking, and smoking are major risk factors that effect on health. This study, Results from health checkups among 347 participants from Muang, Ban Bung, Phanat Nikhom and Sri Racha District, Chonburi Province in Huachiew Chalermprakiet University Community Service Project during 2007-2013. The study found 46 (13.3%) participants with no medical history had high body mass index, 38 (11.0%) had high blood pressure, 8 (2.3%) had high fasting blood glucose and 117 (33.7%) had high total cholesterol. Moreover, we found the trend of elevated blood pressure was increased in every survey year. When exploring the relationship between questionnaire and health checkups of all samples, the study show that age, body mass index and exercise was statistically associated with systolic blood pressure. (p=0.000, p=0.000 and p=0.001, respectively) and the factors that was statistically associated with diastolic blood pressure was age and body mass index (p=0.000 and p=0.000). The factors that was statistically associated with blood glucose was age, body mass index and exercise (p=0.000, p=0.034 and p=0.048 respectively). Lastly, the factors that was statistically associated with total cholesterol was age (p=0.002). This study showed the behavioral risk factors for hypertension, diabetes and hypercholesterolemia. Therefore, we should enhance Thai people to aware of their health and encourage them to be able to take care of themselves. Especially, constant education allows them to understand the importance of health checkups including finding the way to prevent and avoid the risk factors affecting their health in order to reduce disease rate and complication including reduce healthcare costs and have a long and healthy life.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ก้าวตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน” (The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 : Science, Technology and Innovation: Following the Wisdom of the King for Sustainable National Development) วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (พื้นที่ส่วนขยาย มฉก. 2) : หน้า HS-32 – HS-38
สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1zVB-vqbNqfTqr-ZYUmiY8wS2uN1amtOy/view
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2893
Appears in Collections:Medical Technology - Proceeding Document

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Determinants-of-Health-Checkups-among-participants .pdf117.3 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.