Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนี นามจันทรา-
dc.contributor.advisorกนกพร นทีธนสมบัติ-
dc.contributor.advisorRachanee Namjuntra-
dc.contributor.advisorKanokporn Nateetanasombat-
dc.contributor.authorสุมานี ศรีกำเหนิด-
dc.contributor.authorSumanee Srikumnerd-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-05-13T12:59:19Z-
dc.date.available2022-05-13T12:59:19Z-
dc.date.issued2009-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/292-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามการรับรู้ของผู้ป่วย ครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้องในชุมชน และศึกษาการจัดการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ของ ครอบครัวและบุคคลที่เกี่ยวข้องในชุมชน ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 10 ราย สมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย 7 ราย และบุคคลที่เกี่ยวข้องในชุมชน 22 ราย ได้แก่ ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่มูลนิธิจุฬามณี และพยาบาลประจำหน่วยบริการปฐมภูมิ พื้นที่ที่ศึกษาคือชุมชนในเขตอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลรับรู้สถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายว่า มีแนวโน้มการเกิดโรคมากขึ้น เกิดได้ทุกระบบ เป็นโรคที่ร้ายแรง เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นโรคที่เกิดจากกรรมเก่า ปัญหาและความต้องการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย มี 5 ประเด็น คือ1) ปัญหาทางด้านผู้ป่วย ได้แก่ ความทุกข์ทรมานทางกาย มีอาการ/ภาวะแทรกซ้อน ปัญหาทาง ด้านจิตใจ และปัญหาทางด้านการสื่อสาร 2) ปัญหาทางด้านผู้ดูแล คือ เครียด ไม่มีผู้ดูแลเป็นบางเวลา และญาติขาดทักษะในการดูแล 3) ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ คือ มีค่าใช้จ่ายสูงต้องหยุดงาน ขาดรายได้ และมีหนี้สิน 4) ปัญหาทางด้านระบบบริการสุขภาพ ได้แก่ ไม่ได้รับข้อมูล บริการใช้เวลานาน ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน ไม่มียาแก้ปวดที่แรงพอในสถานีอนามัย การส่งต่อมีข้อจำกัด เจ้าหน้าที่ไม่มีเวลา เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง เจ้าหน้าที่ขาดความชำนาญ และเจ้าหน้าที่ไม่สนใจ 5) ความต้องการในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย คือ ให้มีแพทย์รักษาโรคมะเร็งอยู่ใกล้ ๆ ชุมชน มีเจ้าหน้าที่มาบริการที่บ้าน ขยายขอบเขตการให้ยาแก้ปวด กำลังใจ ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และเงินช่วยเหลือ สำหรับการจัดการการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชนแบ่งได้ 3 ระดับคือ 1) ระดับบุคคลและครอบครัว คือ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ดูแล ด้านจิตใจ รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แสวงหาการรักษาทางเลือกอื่น ๆ การจัดการอาการต่าง ๆ ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ระดับชุมชน คือ สร้างกำลังใจ ช่วยเหลือสนับสนุน และ 3) ระดับสังคม คือ จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ และมีแหล่งให้ยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ข้อความรู้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการปรับกระบวนทัศน์ของผู้ให้บริการในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและครอบครัว และให้แนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติกิจกรรมพยาบาล สำหรับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และเสนอเป็นแนวนโยบายในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชนth
dc.description.abstractThis descriptive research using qualitative method aimed to describe the perception of patients with terminal-stage cancer, their families, and related people in community on 1) situation of illness with terminal-stage cancer, 2) problems and needs of care for terminal-stage cancer patients, and 3) management of care for terminal-stage cancer patients. Key informants included ten individuals diagnosed with terminal-stage cancer, seven family caregivers and twenty-two stakeholders such as monks, leaders of community, village health volunteers, Juramanee’s staffs, and nurses of primary care unit. The study took place in Bangkhontee district, Samuthsongkram province. In-depth interview, participant observation and field note were used for data collection and the data was analyzed by content analysis.The result revealed that the situation of illness with terminal-stage cancer were viewed as 1) having high incidence, 2) occurrence in all body systems, 3) serious disease, 4) chronic disease and 5) previously karma disease. Problems and needs of care for terminal-stage cancer patients were 1) patient’s problems such as physical suffering, having symptoms/complications, psychological problems and communication problems; 2) caregiver’s problems such as stress, sometimes no caregiver and have no skill for care; 3) economic problems such as high expense, leave their jobs and loss income, and have a debt; 4) problems of health care system such as out of reach information, long time in service, complicated process, no strong analgesics in primary care unit, limitation of referral system, staffs have no time, uncovered care of staffs, unskillful staffs, and staffs’ unconcern; and 5) needs of care for terminal-stage cancer patients were having oncologist near community, having staffs to provide care at home, extended boundary for providing analgesics, will power, information related to the illness, and financial support. Management of care for terminal-stage cancer patients was devided into three levels, 1) personal and family level, such as maintaining physical health, psychological care , continuing treatment, seeking for complementary therapy and symptoms management by local wisdom; 2) community level such as building morale, and supporting; and 3) social level such as establishing financial fund, and providing resources for borrowing medical equipments.Knowledge of this study would be beneficial for adjustment of healthcare personnel’s perspective in providing care for terminal-stage cancer patients. Moreover, it would provide guidelines to develop nursing practice and to propose policy to improve care for terminal-stage cancer patients in community.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectมะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล.th
dc.subjectCancer -- Patients -- Careth
dc.subjectผู้ป่วยระยะสุดท้าย -- การดูแลth
dc.subjectTerminal careth
dc.titleการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชนth
dc.title.alternativeCaring for Terminal-Stage Cancer Patients in Communityth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf
  Restricted Access
132.09 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
TableofContents.pdf
  Restricted Access
184.7 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter1.pdf
  Restricted Access
109.76 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter2.pdf
  Restricted Access
374.56 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter3.pdf
  Restricted Access
184.53 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter4.pdf
  Restricted Access
542.15 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter5.pdf
  Restricted Access
219.5 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
References.pdf
  Restricted Access
256.88 kBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.