Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2948
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง
Other Titles: The relationship between health beliefs and stroke preventive behaviors in Diabetes Mellitus patients with hypertension
Authors: พรรณทิพย์ คำภิชัย
กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
จริยําวัตร คมพยัคฆ์
Pantip Compichai
Kamontip Khungtumneam
Jariyawat Kompayak
Medical Correctional Institution Bangkok
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การส่งเสริมสุขภาพ
Health promotion
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Self-care, Health
ผู้ป่วยเบาหวาน
Diabetics
โรคหลอดเลือดสมอง -- การป้องกัน
Cerebrovascular disease -- Prevention
Issue Date: 2022
Citation: วารสารพยาบาล 71, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2565) : 1-9
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะส่วนบุคคลและความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 110 ราย เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และความเชื่อด้านสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่ําดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.875-1.000 และนำไปทดสอบได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค เท่ากับ .867, .753, .718, .726, .768 และ .700 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน การทดสอบแมนท์-วิทนีย์ ยู และครัสคําลวอลลิส ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมกํารป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.35, SD = 0.333) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ สถานภาพสมรส (KW = 9.688, p < .05) การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง (rs = .303, p < .001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (rs = .267, p < .01) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (rs = .249, p < .01) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (rs = .228, p < .05)
This research aimed to study the relationship between health beliefs and stroke preventive behaviors in diabetes mellitus patients with hypertension. The sample consisted of diabetes mellitus patients with hypertension who came to receive services in Nongprue of Tambon Health Promoting Hospital, Samut Prakan province, purposively collected 110 people. Research tools were questionnaires on stroke preventive behaviors, and health beliefs. Pass the validation check content oriented from 3 experts and content validity index [CVI] = .0875-1.000 The Cronbach’s alpha coeffificients are equal to .867, .753, .718, .726, .768 and .700. The data is analyzed by mean, standard deviation, Spearman Rank Correlation, Mann-Whitney U Test, and Kruskal-Wallis H Test. The results showed that the sample group had overall stroke preventive behaviors at a moderate level (X = 3.35, SD = 0.333). There were signifificant factors associated with stroke preventive behaviors; marital status (KW = 9.688, p < .05), perceived severity of stroke (rs = .303, p < .001), perceived susceptibility of stroke (rs = .267, p < .01), perceived benefifits to stroke preventive behaviors (rs = .249, p < .01), and perceived self-effificacy to stroke preventive behaviors (rs = .228, p < .05)
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/254027/176886
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2948
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-relationship-between-health-beliefs-and-stroke-preventive-behaviors .pdf86.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.