Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2970
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิภาวรรณ สุนทรจามร-
dc.contributor.authorหทัย แซ่เจี่ย-
dc.contributor.authorภูวกร ฉัตรบำรุงสุข-
dc.contributor.authorกำพล ปิยะศิริกุล-
dc.contributor.authorนริศ วศินานนท์-
dc.contributor.authorกนกพร ศรีญาณลักษณ์-
dc.contributor.authorWipawan Sundarajamara-
dc.contributor.authorHatai Jia-
dc.contributor.authorPuwakorn Chatbumrungsuk-
dc.contributor.authorKampol Piyasirikul-
dc.contributor.authorNaris Wasinanon-
dc.contributor.authorKanokporn Sriyanalug-
dc.contributor.author何福祥-
dc.contributor.otherUniversity of the Thai Chamber of Commerce. School of Humanitiesen
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Humanitiesen
dc.contributor.otherSrinakharinwirot University. Faculty of Humanitiesen
dc.contributor.otherThammasat University. Pridi Banomyong International Collegeen
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studiesen
dc.contributor.otherBurapha University. Faculty of Humanities and Social Sciencesen
dc.date.accessioned2024-10-05T06:05:01Z-
dc.date.available2024-10-05T06:05:01Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.isbn9786162701016-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2970-
dc.descriptionชุด โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีนในประเทศไทยen
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันของการการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ อุดมศึกษาในประเทศไทย เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ อุดมศึกษาในประเทศไทย และความเชื่อมโยงของระดับมัธยมศึกษากับระดับอุดมศึกษา และเพื่อ เสนอแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามจากสถาบันอุดมศึกษา ที่เปิดการเรียนการสอนภาษาจีนทั่วประเทศ จำนวน 80 แห่ง และการสัมภาษณ์อาจารย์หรือผู้เกี่ยวข้องอีกจำนวน 10 คน เพื่อวิเคราะห์ปัญหา การจัดการเรียนการสอนในหลายด้าน ได้แก่ นโยบายและการส่งเสริมการเรียนการสอน หลักสูตร ตำราหนังสือแบบเรียนและสื่อการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และความร่วมมือการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีนระดับสถาบันและระดับหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมถึงความเชื่อมโยงของการจัดการเรียน การสอนระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา จากการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า ระบบการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาของไทย แม้ว่าจะมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ คอยกำกับดูแลและสนับสนุนส่งเสริมก็ตาม จากการศึกษาทำให้เห็นถึงสภาพ และปัญหาในหลายด้าน คือ นโยบายส่งเสริมในภาครัฐนั้น แม้ว่ามีการกำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์ ที่ชัดเจน แต่ในทางปฏิบัตินั้นยังไม่เห็นเป็นที่ประจักษ์และไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิศทางของ การเรียนการสอนภาษาจีนในอนาคต ระดับกระทรวงยังขาดหน่วยงานเฉพาะที่กำกับดูแลรับผิดด้าน การเรียนการสอนภาษาจีน หลักสูตรภาษาจีนของสถาบันอุดมศึกษายังเป็นหลักสูตรภาษาจีน ส่วนใหญ่ แต่มีแนวโน้มเป็นหลักสูตรด้านวิชาชีพมากขึ้น รวมถึงเปิดสอนเป็นวิชาเลือกให้แก่ผู้สนใจ ต่างคณะวิชาและหลักสูตรภาษาจีนจะเข้าสู่ระบบสหกิจศึกษามากขึ้น จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่เปิด หลักสูตรภาษาจีนขยายตัวไม่มาก แสดงถึงการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาใกล้ถึงจุดอิ่มตัว สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาตำราหนังสือและสื่อการสอนมากขึ้น ผู้สอนแม้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่ ส่วนใหญ่ประสบการณ์การสอนยังไม่มาก จำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งวิชาการของผู้สอนภาษาจีน ระดับอุดมศึกษามีน้อย ผู้เรียนส่วนใหญ่มีพื้นความรู้ภาษาจีนมาก่อนและส่วนใหญ่เคยเรียนในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี แต่การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ได้เชื่อมโยง ความรู้หรือจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่ทำให้เกิดการสูญเปล่า ทางการศึกษา ความร่วมมือในระดับสถาบันอุดมศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ มีการขยายตัว รวมถึงหน่วยงานที่จัดตั้งภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลจีนและไทย ความร่วมมือระดับรัฐบาลของไทยกับประเทศจีนยังไม่ได้แสดงศักยภาพในการส่งเสริมหรืออำนวยประโยชน์ต่อสถาบัน อุดมศึกษาอย่างเต็มที่ จากการศึกษาปัญหาดังกล่าวทำให้ทราบถึงข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ปัญหาอันเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนให้ดีขึ้น ได้แก่ รัฐบาลควรมีหน่วยงานที่กำกับ ดูแลการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาโดยตรง ซึ่งกำหนดนโยบายและติดตามประเมินผล การดำเนินงานในแต่ละปี เพื่อทราบปัญหาและสนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนอย่าง จริงจัง สถาบันอุดมศึกษาควรมีระบบการจัดการเรียนการสอนที่ต่อเนื่องรองรับและพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียนจากมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการควรมีหนังสือแบบเรียนหรือตำราพื้นฐานที่สามารถ ใช้สอนในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาควรส่งเสริมผู้สอนสร้างผลงานวิชาการและตำแหน่ง วิชาการมากขึ้น สร้างลักษณะวิสัยของผู้เรียนให้ใฝ่รู้หมั่นศึกษาอย่างมีเป้าหมายในอนาคต สภาพการจัด การเรียนการสอนและปัญหา รวมถึงข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขทั้งในจุลภาคและมหภาคเหล่านี้ จะช่วยให้สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงาน ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องสามารถมองปัญหาการพัฒนาระบบ การศึกษาการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นen
dc.description.sponsorshipสามารถเข้าถึงรายงานฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/30en
dc.language.isothen
dc.publisherสำนักเลขาธิการสภาการศึกษาen
dc.subjectภาษาจีน – การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) – ไทยen
dc.subject汉语 -- 学习和教学 (大学) -- 泰国en
dc.subjectChinese language -- Study and teaching (Higher) --Thailanden
dc.subjectภาษาจีน – หลักสูตรen
dc.subject汉语$x课程en
dc.subjectChinese language -- Curriculaen
dc.subjectภาษาจีน -- ตำราสำหรับชนต่างชาติen
dc.subject汉语 -- 外国人教科书en
dc.subjectChinese language -- Textbooks for foreign speakersen
dc.subjectครูภาษาจีน – ไทยen
dc.subject中文老师 -- 泰国en
dc.subjectChinese teachers -- Thailanden
dc.titleรายงานการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับอุดมศึกษาen
dc.title.alternativeรายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับอุดมศึกษาen
dc.typeTechnical Reporten
Appears in Collections:College Of Chinese Studies - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Study-of-Chinese-Language-Teaching-Higher.pdf87.18 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.