Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2974
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิภาวรรณ สุนทรจามร | - |
dc.contributor.author | หทัย แซ่เจี่ย | - |
dc.contributor.author | ภูวกร ฉัตรบำรุงสุข | - |
dc.contributor.author | กำพล ปิยะศิริกุล | - |
dc.contributor.author | นริศ วศินานนท์ | - |
dc.contributor.author | กนกพร ศรีญาณลักษณ์ | - |
dc.contributor.author | Wipawan Sundarajamara | - |
dc.contributor.author | Hatai Jia | - |
dc.contributor.author | Puwakorn Chatbumrungsuk | - |
dc.contributor.author | Kampol Piyasirikul | - |
dc.contributor.author | Naris Wasinanon | - |
dc.contributor.author | Kanokporn Sriyanalug | - |
dc.contributor.author | 何福祥 | - |
dc.contributor.other | University of the Thai Chamber of Commerce. School of Humanities | en |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities | en |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities | en |
dc.contributor.other | Thammasat University. Pridi Banomyong International College | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies | en |
dc.contributor.other | Burapha University. Faculty of Humanities and Social Sciences | en |
dc.date.accessioned | 2024-10-05T07:00:14Z | - |
dc.date.available | 2024-10-05T07:00:14Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.isbn | 9786162701016 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2974 | - |
dc.description | สามารถเข้าถึงรายงานวิจัยฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่: http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/32/?paperid=32 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการในการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ ให้กับชาวต่างชาติในระดับอุดมศึกษาของจีน ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยโดยการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในส่วนของกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดี สำหรับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน (Best Practice) ที่คณะวิชาการเรียนการสอนภาษาจีนใน ฐานะภาษาต่างประเทศ (School of Chinese as a Second Language) มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการเข้าสังเกตการณ์การสอนในห้องเรียน รวมทั้งใช้วิธีการสัมภาษณ์บุคคล ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังใช้การศึกษาข้อมูลจากเอกสารในส่วนของการศึกษาประวัติความเป็นมา นโยบายและยุทธศาสตร์ของการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศของจีน กรณีศึกษาของแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับชาวต่างชาติในฐานะ ภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งในงานวิจัยฉบับนี้ เป็นการเน้นศึกษากระบวนการจัดระบบ การสอนในห้องเรียน สำหรับรายวิชาที่เป็นข้อมูลและกรอบในการศึกษาวิเคราะห์ จะเป็นรายวิชาในกลุ่ม วิชาภาษาจีนทักษะรวม วิชาเกี่ยวกับความรู้ภาษาจีนในด้านไวยากรณ์ และวิชาจีนปริทัศน์ ซึ่งเป็น รายวิชาที่เน้นความรู้ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมจีน ผลจากการศึกษาวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มรายวิชาบังคับทักษะรวมนี้ พบว่า ผู้สอนใช้แนวคิดในการจัดรูปแบบการสอนในเชิงปฏิสัมพันธ์เป็นหลัก สำหรับการจัดการเรียนการสอนใน รายวิชาเกี่ยวกับความรู้เฉพาะด้าน เช่น วิชาไวยากรณ์จีน และวิชาที่เกี่ยวกับความรู้ทางสังคมและ วัฒนธรรมจีน เช่น วิชาจีนปริทัศน์ แนวทางการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนที่โดดเด่นที่สุดก็คือ การนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเชิงประสบการณ์มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียน การสอนในห้องเรียน งานวิจัยฉบับนี้ พบว่า การที่หลักสูตรการเรียนการสอนของคณะวิชาการเรียนการสอนภาษาจีน ในฐานะภาษาต่างประเทศ (School of Chinese as a Second Language) ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนการสอนจนเป็นที่ประจักษ์ ไม่ได้เกิดจากเฉพาะกระบวนการสอนที่ดีมี ประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังขึ้นอยู่กับโครงสร้างของระบบการบริหารจัดการทั้งกระบวนการ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ โดยเริ่มตั้งแต่สถาบันการศึกษานั้นๆ จะ ต้องมีการกำหนดแผนแม่แบบของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ นอกจาก จะมีแผนแม่บทแล้ว ยังต้องกำหนดและออกแบบกระบวนการของการเรียนการสอนให้มีความเชื่อมโยง กับกระบวนการอื่นๆ ของระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติอีกด้วย ข้อมูลและแนวคิดจากกรณีศึกษาของงานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นเพื่อหวังว่าจะเป็นประโยชน์ และเพื่อ เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทย ให้มี คุณภาพ สามารถผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านภาษาจีน เพื่อรองรับภารกิจในตลาด แรงงาน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนาคต | en |
dc.description.sponsorship | ชุด โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีนในประเทศไทย | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา | en |
dc.subject | ภาษาจีน – การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- จีน | en |
dc.subject | 汉语 -- 学习和教学 (大学) -- 中国 | en |
dc.subject | Chinese language -- Study and teaching (Higher) -- China | en |
dc.subject | ภาษาจีน -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ | en |
dc.subject | 汉语 -- 外国人教科书 | en |
dc.subject | Chinese language -- Textbooks for foreign speakers | en |
dc.subject | มหาวิทยาลัยปักกิ่ง | en |
dc.subject | Peking University | en |
dc.subject | 北京大学 | - |
dc.title | กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษาให้แก่ชาวต่างชาติของมหาวิทยาลัยในปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน | en |
dc.title.alternative | รายงานการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสอนภาษาจีนให้แก่ชาวต่างชาติ | en |
dc.type | Technical Report | en |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Study-of-Best-Practice-in-Chinese-Language-Teaching.pdf | 97.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.