Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2975
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิภาวรรณ สุนทรจามร | - |
dc.contributor.author | หทัย แซ่เจี่ย | - |
dc.contributor.author | ภูวกร ฉัตรบำรุงสุข | - |
dc.contributor.author | กำพล ปิยะศิริกุล | - |
dc.contributor.author | นริศ วศินานนท์ | - |
dc.contributor.author | กนกพร ศรีญาณลักษณ์ | - |
dc.contributor.author | Wipawan Sundarajamara | - |
dc.contributor.author | Hatai Jia | - |
dc.contributor.author | Puwakorn Chatbumrungsuk | - |
dc.contributor.author | Kampol Piyasirikul | - |
dc.contributor.author | Naris Wasinanon | - |
dc.contributor.author | Kanokporn Sriyanalug | - |
dc.contributor.author | 何福祥 | - |
dc.contributor.other | University of the Thai Chamber of Commerce. School of Humanitie | en |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities | en |
dc.contributor.other | Srinakharinwirot University. Faculty of Humanities | en |
dc.contributor.other | Thammasat University. Pridi Banomyong International College | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies | en |
dc.contributor.other | Burapha University. Faculty of Humanities and Social Sciences | en |
dc.date.accessioned | 2024-10-05T07:22:15Z | - |
dc.date.available | 2024-10-05T07:22:15Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.isbn | 9786162701016 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2975 | - |
dc.description | สามารถเข้าถึงรายงานฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : http://www.thaiedresearch.org/home/paperview/29/? | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยการบริหารจัดการ หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น รวมถึงปัญหาความเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับอื่น เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ละเอียด และใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด(ใช้ข้อมูลปีการศึกษา 2557 เป็นหลัก) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชนที่สอนภาษาจีนในประเทศไทย มีสถานศึกษาตอบแบบสอบถามจำนวน 85 แห่ง ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สุดท้ายเรียบเรียงออกมาเป็นผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ในด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษาให้ความสำคัญกับการวางแผนมากที่สุดแต่กลับนำผลประเมินมาปรับปรุงในปีต่อไปน้อยลง แต่จากข้อมูลเรื่องปัญหาด้านการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีนจะเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วสถานศึกษายังขาดระบบในการบริหารจัดการที่ดี ในด้านหลักสูตร สถานศึกษาเปิดรายวิชาภาษาจีนตามหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กำหนดทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีสถานศึกษาหลายแห่งเปิดรายวิชาภาษาจีนในระดับที่สูงขึ้นด้วยปัญหาหลักที่พบ คือความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับอื่น ในด้านสื่อการเรียนการสอน ปัจจุบันสถานศึกษาเลือกใช้หนังสือเรียนภาษาจีนอย่างหลากหลาย มีทั้งหนังสือของประเทศจีน และหนังสือที่เรียบเรียงโดยอาจารย์ชาวไทยเอง ทั้งนี้ เนื่องมาจาก สอศ. ไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่ากำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งใช้หนังสือเรียนภาษาจีนเล่มใดโดยเฉพาะ นอกจากนั้น สถานศึกษายังขาดแคลนสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านผู้สอน สถาบันอาชีวศึกษาส่วนใหญ่ยังพึ่งพาครูอาสาสมัครจีนส่วนครูสัญชาติไทยอยู่ในลำดับที่สอง ที่เหลือคือครูสัญชาติจีนที่สถานศึกษาจัดหาเอง ครู/อาจารย์พิเศษและครูสัญชาติอื่น ในบรรดาครูสอนภาษาจีนทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาด้านภาษาจีน มีครูสอนภาษาจีนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านภาษาจีน ในด้านผู้เรียน พบว่า ปัญหาด้านผู้เรียนที่สำคัญที่สุดคือผู้เรียนขาดสภาพแวดล้อมทางภาษาจีน ดังนั้น การสร้างสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาให้มากขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการฝึกทักษะและปฏิบัติจริงสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมนี้ได้ ในด้านความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น สถานศึกษายังขาดความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยยังขาดความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาของประเทศจีน ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนที่เป็นรูปธรรม | en |
dc.description.sponsorship | ชุด โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีนในประเทศไทย | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา | en |
dc.subject | ภาษาจีน – การศึกษาและการสอน (อาชีวศึกษา) – ไทย | en |
dc.subject | Chinese language -- Study and teaching (Vocational education) – Thailand | en |
dc.subject | 汉语 -- 学习和教学 (职业教育) -- 泰国 | en |
dc.subject | ภาษาจีน – หลักสูตร | en |
dc.subject | 汉语 -- 课程 | en |
dc.subject | Chinese language -- Curricula | en |
dc.subject | ภาษาจีน -- ตำราสำหรับชนต่างชาติ | en |
dc.subject | 汉语 -- 外国人教科书 | en |
dc.subject | Chinese language -- Textbooks for foreign speakers | en |
dc.subject | ครูภาษาจีน – ไทย | en |
dc.subject | 中文老师 -- 泰国 | en |
dc.subject | Chinese teachers -- Thailand | en |
dc.title | รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ระดับอาชีวศึกษา | en |
dc.title.alternative | รายงานการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศ ระดับอาชีวศึกษา | en |
dc.type | Technical Report | en |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Study-of-Chinese-Language-Teaching-Vocation.pdf | 90.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.