Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2985
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคกับระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือดและค่าดัชนีมวลกายของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | The Relationship between Food Consumption Behavior, and Blood Sugar, Lipid Levels, AND Body Mass Index Among Monks in Samutprakarn Province |
Authors: | สุชา จุลสำลี นนทยา ทางเรือ Sucha Chulsomlee Nonthaya Thangrua Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Medical Technology |
Keywords: | น้ำตาลในเลือด กลูโคสในเลือด Blood glucose โคเลสเตอรอล Cholesterol โคเลสเตอรอลในเลือด Blood cholesterol บริโภคนิสัย Food habits สงฆ์ -- ไทย -- สมุทรปราการ Buddhist monks -- Thailand -- Samut Prakarn Buddhist priests -- Thailand -- Samut Prakarn ไตรกลีเซอไรด์ Triglycerides ไขมันในเลือด Blood lipids |
Issue Date: | 2018 |
Citation: | วารสาร มฉก. วิชาการ 21, 42 (มกราคม-มิถุนายน 2561) : 107-121 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพของพระสงฆ์และปัจจัยพฤติกรรมการบริโภคที่มีผลต่อสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 283 รูป จากวัดใน 5 อำเภอ เข้าร่วมในการวิจัย ครั้งนี้พระสงฆ์จะได้รับ 1) การเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาล triglyceride, cholesterol, HDL-C และ LDL-C 2) ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อคำนวณค่าดัชนีมวลกาย และ 3) ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ พฤติกรรมการบริโภค จากการศึกษา พบว่า พระสงฆ์ที่อุปสมบทระยะเวลามากกว่า 1 พรรษา มีระดับ น้ำตาลในเลือดและระดับไขมันในเลือดทุกชนิด (triglyceride, cholesterol, HDL-C และ LDL-C) สูง เมื่อ เทียบกับพระสงฆ์ที่อุปสมบทระยะเวลาน้อยกว่า 1 พรรษา รวมทั้งระยะเวลาอุปสมบทที่แตกต่างกัน มีระดับน้ำตาลในเลือดและระดับ LDL-C แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p= 0.012 และ p= 0.033 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของพระสงฆ์โดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย พบว่า พระสงฆ์ร้อยละ 62.5 มีค่าดัชนีมวลกายเกินค่าปกติ(BMI ≥ 23.0 kg/m2 ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระสงฆ์มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน มากกว่าประชากรชายไทยทั่วไป นอกจากนั้นแล้วระยะเวลาอุปสมบทที่แตกต่างกัน มีค่าดัชนีมวลกาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p= 0.039) เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติพบว่า ค่าดัชนี มวลกายมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับน้ำตาลในเลือด (p = 0.000, r= 0.254) ระดับ cholesterol (p = 0.000, r= 0.223), triglyceride (p = 0.000, r= 0.403) และ LDL-C (p = 0.002, r= 0.181) แต่มี ความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับ HDL-C (p = 0.000, r= -0.307) การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ทางสถิติของ ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดกับพฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์พบว่า พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่ม ประเภทน้ำอัดลมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับ cholesterol (p= 0.014, r= -0.146) และ LDL-C p = 0.017, r= -0.144) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทของทอดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ค่าดัชนีมวลกาย (p= 0.043, r= 0.121) ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทไขมันสูง อาหารที่ผ่าน การปรุงด้วยกะทิเครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มประเภทนมเปรี้ยว น้ำผลไม้นมรสหวาน และอาหารประเภท ขนมหวานจัด ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย ระดับ cholesterol, triglyceride, HDL-C, และ LDL-C This study aimed to study monks’ health and food consumption behavior that may affect their health. Total of 283 monks from temples in five districts of Samutprakarn province participated in this study. All monks were subjected to 1) blood tests to assess the level of triglyceride, cholesterol, HDL-C and LDL-C 2) weight and height measurement to calculate BMI, and 3) respond to a series of questions. The study found that monks who had ordained for more than one year had higher blood sugar, triglyceride, cholesterol, HDL-C and LDL-C levels compared to those who had ordained less than one year. Moreover, statistical analysis on ordination period showed a significant difference between ordination period and blood sugar, and LDL-C (p= 0.012 and 0.033 respectively). Once, performing analysis on monks nutritional status by using body mass index (BMI), we found that 62.5% of monks had BMI ≥ 23.0 kg/m2 , indicating that monks were more likely to be obese than the general male population. Moreover, there was also a significant difference between ordination period and body mass index. Statistical analysis also showed a significant positive relationship between body mass index and blood sugar (p= 0.000, r= 0.254), cholesterol (p= 0.000, r= 0.223), triglyceride (p= 0.000, r= 0.403), and LDL-C (p= 0.002, r=0.181) levels. However, body mass index showed a significant negative relationship with HDL-C level (p= 0.000, r= -0.307). When exploring the relationship between monk food consumption behavior, blood sugar and lipid levels, statistical analysis showed a significant negative relationship between consumption of soft drinks and cholesterol level (p= 0.014, r= -0.146) and LDL-C (p= 0.017, r= -0.144). Also, consumption of high fat foods showed a positive significant relationship with BMI (p= 0.043, r= 0.121). However, consumption of foods cooked with coconut milk; consumption of energy drinks, yogurt, fruit juices, sweetened milk, and sweet desserts, had no significant effect on blood sugar, body mass index, cholesterol, triglyceride, HDL-C, and LDL-C levels. |
Description: | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/146759/108168 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2985 |
Appears in Collections: | Medical Technology - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
The-Relationship-between-Food-Consumption-Behavior-and-Blood-Sugar.pdf | 88.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.