Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/298
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย | - |
dc.contributor.advisor | จริยาวัตร คมพยัคฆ์ | - |
dc.contributor.advisor | Vanida Durongrittichai | - |
dc.contributor.advisor | Jariyawat Kompayak | - |
dc.contributor.author | ไพรัช ม่วงศรี | - |
dc.contributor.author | Phairuch Moungsri | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-14T07:08:30Z | - |
dc.date.available | 2022-05-14T07:08:30Z | - |
dc.date.issued | 2012 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/298 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเยี่ยมบ้านที่พัฒนาขึ้นภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมต่อความสามารถในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน การดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมการหายของโรค การดูแลตนเองเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและอัตราการตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้น กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ด้วยสูตรยามาตรฐานระยะสั้น 6 เดือน จำนวน 15 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการดูแลตนเองภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความสามารถในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ส่วนที่ 3 ความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมการหายของโรคของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ 2) แบบประเมินการตรวจร่างกายผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ 3)แบบบันทึกผลการตรวจเสมหะ และ 4) แผนการเยี่ยมบ้านที่เน้นการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้สัปดาห์ละ 1 ครั้งรวม 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยการให้คำแนะนำ การสอน การสาธิต การสาธิตย้อนกลับ และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยพัฒนาความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการการดูแลตนเอง เครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่านและมีค่าความเชื่อมั่น (KR - 20) 0.94 ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 60.00) อายุระหว่าง 20-59 ปี และอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากที่สุด (ร้อยละ 46.70 และ ร้อยละ 46.70) สถานภาพสมรสคู่ คิดเป็นร้อยละ 66.70 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 80.00 เป็นหัวหน้าครอบครัว มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยประจำร่วมกันมากที่สุด 2 คน (ร้อยละ 60.00) ทุกคนนับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 53.30) รายได้รวมของครอบครัวส่วนใหญ่พอใช้ (ร้อยละ 80.00) เป็นหนี้สินญาติพี่น้องของตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 53.30) สภาพแวดล้อมของบ้านพบว่าส่วนใหญ่มีการถ่ายเทอากาศในตัวบ้านได้ดี (ร้อยละ 60.00) ส่วนใหญ่จัดบ้านไม่เป็นระเบียบ ส่วนใหญ่สามีหรือภรรยาเป็นพี่เลี้ยงหรือผู้กำกับการรับประทานยา (ร้อยละ 60.00) และใน 1 เดือนที่ผ่านมารับประทานยานอนหลับสัปดาห์ละครั้งมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 66.00 2) คะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่หลังการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 8.93 เปรียบเทียบกับก่อนการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 4.40 (P=0.001) 3) คะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมการหายของโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่หลังการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 10.33 เปรียบเทียบกับก่อนการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 4.80 (P=0.001) 4) คะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะ พบเชื้อรายใหม่หลังการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 24.00 ก่อนการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 11.67 (P=0.001) 5) ผลการตรวจเสมหะเมื่อรับประทานยาวัณโรคครบ 2 เดือน ไม่พบเชื้อวัณโรคคิดเป็นร้อยละ 93.33 การเยี่ยมบ้านภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลโอเรม ทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการดูแลตนเองทั้ง 3 ด้านเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น สถานบริการสาธารณสุข สามารถนำแผนการเยี่ยมบ้านภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรม ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสม เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน การดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมการหายของโรคและการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ดีขึ้น | th |
dc.description.abstract | This study is semi-ezperimental research on single group with pre and post measurement. It aims to examine the result of home visiting developed under Orem's nursing theory for enhancing self-care capabilities in daily life, self-care for recovery, self-care to prevent the spread of disease, and negative result on Tuberculosis test at the end of intensive treatment. The samples were selected specifically. They were 15 new Tuberculosis patients registered at Tuberculosis clinic, Tubclor Hospital, Tunclor district, Pichit province. Short-term medication at 6 months period was applies. Research tools consists of: 1. Questionnaire on self-care under Orem's nursing theory, consisting of 4 parts as follows: 1. Personal information 2. Self-care capacities in daily life of new Tuberculosis pateints. 3. Self-care capabilities to support recovery of new Tuberculosis patients. 4) Self-care capabilitie s of new Tuberculosis pateints to prevent the spread of disease 2. Checkup evaluation of new Tuberculosis patients 3. Record of sputum test, and 4. Hone visiting plan emphasizing on supportive nursing and education, once a week, totally 6 weeks, consisting of suggestion, support, teaching, demonstration, reversing demonstration, and creating supportive environment for the patients to develop self-care capabilities. The tools were checked for content validity by 4 experts. Reliability value is (KR -20) 0.94. The results are follows. 1)From personal information of new Tuberculosis patients, it was found that most patients are male (60.00%). Most of them are aged between 20-59 years and 60 years over (46.70% and 46.70%). About marital status, most are married (66.70%). Most graduated primary education (80.00%). They are heads of the families. The highest number of family members living together is 2 persons (60.00%). Everyone os Buddhist. They work as employees (53.30%). Most families earn enough income (80.00%). They were mostly in debt with their own relatives (53.30%). About the environment of the house, it was found that most of them had good ventilation (60.00%). Most of the houses are not in order. Husband or wife usually assists in taking medicine (60.00%). In the past one month, they mostly take sleeping pill once a weak (66.70%) 2) Average score of self-care in daily life of new Tuberculosis patients after home visiting is equal to 8.93 comaring to before home visiting 4.40 (p=0.001). 3) Average score of self-care to support recovery of new Tuberculosis patients after home visiting is equal to 10.33 comparing to before home visiting 4.80 (p=0.001). 4) Average score of self-care to prevent the spread of disease of new Tuberculosis patients after home visiting is equal to 24.00 comparing to before home visiting 11.68 (p=0.001). 5) In the result of sputum test after taking Tuberculosis medicine for 2 months, negative result is equal to 93.33%. Home visiting under Orem's nursing theory increased patients' self-care capability in all 3 aspects. Therefore, public health services can apply home visiting plan under Orem's nursing theory with new Tuberculosis pateints in each area appropriately. This is to increase self-care capability in daily life, self-care to support recovery, and self-care to prevent the spread of disease. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | th |
dc.subject | Self-care, Health | th |
dc.subject | วัณโรคปอด | th |
dc.subject | Tuberculosis, Pulmonary | th |
dc.subject | การเยี่ยมบ้าน | th |
dc.subject | Friendly visiting | th |
dc.title | ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเรมต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อรายใหม่ | th |
dc.title.alternative | The Effectiveness of Home Visit Underpinning Orem's Nursing Theory for Enhancing Self-Care Capabilities of Pulmonary Tuberculosis Patients Who Are Sputum Smear-Positive with New Case. | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | th |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf Restricted Access | 125.35 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Tableofcontents.pdf Restricted Access | 71.98 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter1.pdf Restricted Access | 140.32 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 488.74 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 240.98 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter4.pdf Restricted Access | 146.78 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter5.pdf Restricted Access | 95.33 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
References.pdf Restricted Access | 292.2 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.