Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3013
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิภพ ดีแพ-
dc.contributor.authorกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม-
dc.contributor.authorนพนัฐ จําปาเทศ-
dc.contributor.authorPipop Deepae-
dc.contributor.authorKamontip Khungtumneam-
dc.contributor.authorNopphanath Chumpathat-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing. Student of Master of Nursingen
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingen
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing.en
dc.date.accessioned2024-10-12T13:48:14Z-
dc.date.available2024-10-12T13:48:14Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.citationวารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 35,3 (กันยายน-ธันวาคม 2562) : 46-59en
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3013-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/view/239651/163475en
dc.description.abstractบทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 95 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.79 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราห์ห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมในระดับดี (Mean=3.21, SD=0.38) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความเสี่ยงต่อกเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (F=0.575, p=.633) ปัจจัยการรับรู้ ประโยชน์และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r=.402, p<.001 และ r=.617, p<.001 ตามลําดับ) ขณะที่ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคต่อการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r= -.530, p<.001) จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมสร้างเสริมพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง โดยเน้นให้มีการรับรู้ประโยชน์และความสามารถของตนเอง ร่วมกับการลดการรับรู้อุปสรรคต่อการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดen
dc.description.abstractThis descriptive study aimed to assess factors related to health promoting behaviors for cardiovascular disease (CVD) prevention among diabetes with hypertension (DM with HTN) patients in Muang District, Chachoengsao province. Ninety-five DM with HTN patients were recruited using two-stage random sampling technique. A set of questionnaires was used including: (1) Personal data record form and health data; (2) questionnaire of health promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients with reliability of 0.79; and (3) questionnaire of factors related to health promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients with reliability of 0.70. Data were analyzed using descriptive statistics, one-way ANOVA, and the Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results revealed that sample reported a good level of health promoting behavior for CVD prevention (Mean = 3.21, SD = 0.38). There was not significantly different between participants with different CVD risk on health promoting behaviors for CVD prevention (F = 0.575, p = .633). The perceive benefits and self-efficacy of CVD promoting behaviors for prevention was significantly positively correlated to promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients (r = .402, p <.001 and, r = .617, p <.001, respectively). The perceived barriers to health promoting behavior of CVD prevention is significantly negatively correlated to promoting behaviors for CVD prevention among DM with HTN patients (r = -.530, p <.001). The results of can be used to develop programs on CVD health promoting for DM with HTN patients. Our finding suggested that we should increase the perception of the benefits and self-efficacy of cardiovascular disease health promoting and reduce the perception of the barriers.en
dc.language.isothen
dc.subjectหลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรคen
dc.subjectCoronary heart diseaseen
dc.subjectหัวใจ -- โรคen
dc.subjectHeart -- Diseasesen
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานen
dc.subjectDiabeticsen
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen
dc.subjectSelf-care, Healthen
dc.subjectเบาหวาน -- ภาวะแทรกซ้อนen
dc.subjectDiabetes -- Complicationsen
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen
dc.subjectHealth behavioren
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราen
dc.title.alternativeFactors Related to Health Promoting Behaviors for Cardiovascular Disease Prevention among Diabetes with Hypertension Patients in Muang District, Chachoengsao Provinceen
dc.typeArticleen
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Related-to-Health-Promoting-Behaviors-for-Cardiovascular-Disease-Prevention.pdf90.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.