Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3043
Title: การวิเคราะห์ข้อมูลทางคิเนเมติคส์ในช่วงการเคลื่อนไหวใต้น้ำภายหลังการออกตัวแบบเท้านํา เท้าตาม
Other Titles: Kinematic Analysis of Underwater Undulatory Swimming Phase after a Track Start
Authors: ปนัดดา ลี้ยาง
เสาวณีย์ วรวุฒางกูร
นงนภัส เจริญพานิช
Panadda Leeyang
Saowanee Woravutrangkul
Nongnapas Charoenpanich
Chulalongkorn University. Faculty of Sports Science
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy
Faculty of Sports Science. Chulalongkorn University
Keywords: การว่ายน้ำ
Swimming
การกระโดดน้ำแบบเท้านําเท้าตาม
Track swimming start
จลนศาสตร์
Kinematics
การเคลื่อนไหวใต้น้ำ
Underwater undulatory swimming
นักว่ายน้ำ
Swimmers
Issue Date: 2020
Citation: วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 21, 1 (มกราคม-เมษายน 2563) : 84-96
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของการว่ายน้ำใต้น้ำ หลังกระโดดที่ระยะทางใกล้และระยะไกล (A maximum effort) ช่วงมุดน้ำ และช่วงว่ายน้ำใต้น้ำ วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำชายอายุระหว่าง 18-25 ปี จํานวน 6 คน มีความถนัดในการกระโดดน้ำแบบเท้านํา เท้าตาม (A track start) และเคยเข้าร่วมการแข่งขันระดับกีฬาแห่งชาติ กีฬามหาวิทยาลัย หรือการแข่งขันว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย โดยให้นักกีฬากระโดดนนำแบบเท้านํา เท้าตามที่ระยะใกล้และไกล บันทึกภาพการเคลื่อนไหวใต้น้ำ โดยกล้องความถี่สูงจํานวน 6 ตัว ทําาการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Qualisys Motion Capture เพื่อหาระยะที่ศีรษะลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะที่เท้าลงลึกที่สุดจากผิวน้ำ ระยะทางที่เริ่มเตะขาครั้งแรก ความเร็วแนวราบขณะเตะขาใต้น้ำ และขณะว่ายน้ำใต้น้ำ ทําการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวแปรดังกล่าว ระหว่างเงื่อนไขโดยใช้การทดสอบค่าทีรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบช่วงว่ายน้ำใต้น้ำทั้ง 3 รอบการเตะด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ กําหนดระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ 0.05 ผลการวิจัย การกระโดดนำที่ระยะไกลส่งผลให้ระยะที่ศีรษะและเท้าลงลึกที่สุดน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการกระโดดที่ระยะใกล้ ในขณะที่ระยะทางที่เริ่มเตะ ขาครั้งแรกไกลกว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตาม ความเร็วในแนวราบไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้การกระโดดที่ระยะใกล้มีความเร็วในแนวราบของการเตะขารอบที่ 1 น้อยกว่ารอบที่ 3 อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย การกระโดดน้ำแบบเท้านําเท้าตามที่ระยะไกลใช้เวลาในการมุดน้ำไม่แตกต่างจาก การกระโดดที่ระยะใกล้ อย่างไรก็ตามการกระโดดที่ระยะไกลส่งผลให้ศีรษะและเท้าจมน้ำน้อยกว่าซึ่งอาจส่งผลให้ใช้เวลาในช่วงออกตัวน้อยกว่าการกระโดดที่ระยะใกล้
Purpose: This study aimed to determine and compare the kinematic data of underwater undulatory swimming (UUS) after a short and long (maximum effort) distance jumping. Methods: Six male swimmers aged 18-25 years old were recruited for this study. Each swimmer had experienced in swimming competition at either the University game or National game levels. Each swimmer was asked to jump with a track start at either a short or a long (farthest) distance. Six underwater high speed cameras were used to collect data at a swimming pool. Qualisys motion capture system was used for data analysis. Maximum depth of head and foot, a distance of first kick from a start point, a horizontal velocity of gliding and underwater swimming phases were recorded. The mean differences of all dependent variables were compared between jumping conditions by using a paired t-test and between three underwater kicks by using one-way ANOVA respectively. The statistical significant was set at p-value ≤ .05. Results: A long-distance jumping produced the lesser depth of head and foot in the water compared with a short-distance jumping. Whereas, the first kick was start at the farther distance during a long jumping compared with shorter jumping, the horizontal velocity was not significant different between conditions. Moreover, a short distance jumping showed a significant less horizontal velocity of the first kick than of the third kick. Conclusion: A long-distance of track swimming start showed no difference in time to gliding the water, but produced the lesser depth of head and foot in the water than a short-distance jumping. Thus, it can lead to the lesser time in a track start.
Description: สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/spsc_journal/article/view/241474/164473
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3043
Appears in Collections:Physical Therapy - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kinematic-Analysis-of-Underwater-Undulatory-Swimming.pdf91.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.