Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3044
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทัตพิชา พงษ์ศิริ | - |
dc.contributor.author | ดวงพร เบญจนราสุทธิ์ | - |
dc.contributor.author | นงนภัส เจริญพานิช | - |
dc.contributor.author | Tatpicha Pongsiri | - |
dc.contributor.author | Duangporn Benjanarasut | - |
dc.contributor.author | Nongnapas Charoenpanich | - |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Faculty of Sports Science | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy | en |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Faculty of Sports Science | en |
dc.date.accessioned | 2024-10-18T00:22:12Z | - |
dc.date.available | 2024-10-18T00:22:12Z | - |
dc.date.issued | 2020 | - |
dc.identifier.citation | วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 21, 1 (มกราคม-เมษายน 2563) : 49-60. | en |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3044 | - |
dc.description | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/spsc_journal/article/view/241523/164474 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของการออกตัวแบบเท้านำ เท้าตามที่ระยะทางใกล้ที่สุด และ ระยะทางไกลที่สุดที่นักกีฬาสามารถทำ ได้ (Maximum Effort) วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาว่ายน้ำชายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 13 คน ทำการออกตัวแบบเท้านำ เท้าตามด้วยความเร็วในการออกตัวสูงสุดจำนวน 10 ครั้ง เลือกครั้งที่ออกตัวได้ระยะทาง ใกล้ที่สุด จำนวน 1 ครั้ง และระยะทางไกลที่สุดที่นักกีฬาสามารถทำได้ จำนวน 1 ครั้ง บันทึกข้อมูลการเคลื่อนไหวด้วยกล้องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ ทำการติดมาร์คเกอร์ตามรูปแบบ Plug-In Gait Body Marker Placement จำนวน 4 จุด ส่วนยอดของกะโหลกศีรษะ, ปลายนิ้วกลางข้างซ้าย, ปุ่มกระดูกอุ้ง เชิงกรานข้างซ้าย และส่วนปลายของนิ้วเท้าที่ห้าข้างซ้าย นำค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลทางคิเนเมติกส์เปรียบเทียบผลระหว่างการออกตัวแบบเท้านำ เท้าตามระยะทางใกล้ที่สุด และระยะทางไกลที่สุด ด้วยค่าทีรายคู่ (Paired t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า ความเร็วในแนวราบขณะออกตัว มุมในการออกตัว ระยะเวลาในการลอยตัว มุมในการลงสู่น้ำ และระยะเวลาในการมุดน้ำระหว่างการออกตัวแบบเท้านำ เท้าตามระยะทางใกล้ที่สุด และระยะทางไกลที่สุด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเมื่อระยะทางในการออกตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ระยะเวลาในการลอยตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่มุมในการลงสู่น้ำ และระยะเวลาในการมุดน้ำน้อยลง อย่างไรก็ตาม ความเร็วในแนวราบขณะลงสู่น้ำออกตัวไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การกระโดดออกตัวแบบเท้านำ เท้าตามที่มีประสิทธิภาพควรมีระยะทางในการกระโดดออกตัวไกลที่สุดเท่าที่นักกีฬาสามารถทำได้ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลงสู่น้ำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งควรมีระยะประมาณ 2 เท่าของความสูงของนักกีฬา | en |
dc.description.abstract | Purpose: The purpose of this research was to study and compare the kinematics data of track swimming start during short and long flight distance in male university swimmers. Methods: Thirteen male swimmers from Chulalongkorn University were recruited for this study. Each swimmer performed a track swimming start with a maximum start speed ten times in which the shortest and the longest flight distance were chosen for analysis. 3-D kinematic was captured with four markers were placed on vertex of the skull, tip of left middle finger, tip of left iliac crest and head of left fifth metatarsal based on the Plug-In Gait Body Marker Placement. The paired t-test was used to compare differences in kinematics data of short and long flight distance. A level of significant was set at p-value ≤ 0.05. Results: The results showed that the horizontal velocity at take-off, take-off angle, flight time, entry angles, and time to entry were differences (p<0.05) between the longest and shortest flight distance. When the flight distance increased, the flight time increased but not time to entry. However, the horizontal velocity to entry was not significant different between two flight distances. Conclusion: A long-flight distance (about 2 times the height of athlete) is more effective in allowing swimmers to enter the water quickly compared to a short-flight distance. | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.subject | การว่ายน้ำ | en |
dc.subject | Swimming | en |
dc.subject | การกระโดดน้ำแบบเท้านําเท้าตาม | en |
dc.subject | Track swimming start | en |
dc.subject | จลนศาสตร์ | en |
dc.subject | Kinematics | en |
dc.subject | ช่วงออกตัว | en |
dc.subject | Swimming start | en |
dc.subject | นักว่ายน้ำ | en |
dc.subject | Swimmers | en |
dc.title | การวิเคราะห์ข้อมูลทางคิเนมาติกส์ของการออกตัวแบบเท้านำ เท้าตาม ในนักกีฬาว่ายน้ำชายระดับมหาวิทยาลัย | en |
dc.title.alternative | Kinematics Analysis of a Track Swimming Start in Male University Swimmer | en |
dc.type | Article | en |
Appears in Collections: | Physical Therapy - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kinematic-Analysis-of-a-Track-Swimming.pdf | 90.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.