Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3051
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ขัตติยา กรรณสูต | - |
dc.contributor.author | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร | - |
dc.contributor.author | Kattiya Karnasuta | - |
dc.contributor.author | Jaturong Boonyarattanasoontorn | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | en |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | en |
dc.date.accessioned | 2024-10-18T02:13:45Z | - |
dc.date.available | 2024-10-18T02:13:45Z | - |
dc.date.issued | 2018 | - |
dc.identifier.citation | วารสารสังคมภิวัฒน์ 9, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2561) : 70-90. | en |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3051 | - |
dc.description | สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/thaijss/article/view/177837/126557 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการก่อเกิด พัฒนาการ รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม การเข้าถึงกองทุน และปัญหา ข้อเสนอแนะจากผลการดําเนินงานโดยการรับฟังความเห็นขององค์กรสวัสดิการสังคมซึ่งเป็นกลุ่มผู้รับประโยชน์จากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในการเข้าถึงกองทุนฯ เพื่อนําไปแก้ไขปัญหา อุปสรรค และปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อศึกษากลไกระบบการคลังเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ เพื่อการหารายได้เข้ากองทุนให้สามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมกําเนิดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ซึ่งมีกลไก 3 ระดับ คือ กลไกระดับชาติ กลไกระดับจังหวัด และกลไกของกรุงเทพมหานคร กรอบการสนับสนุนงบประมาณ แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ โครงการขนาดเล็ก คือโครงการที่ขอสนับสนุนไม่เกิน 50,000 บาท โครงการขนาดกลาง คือโครงการที่ขอสนับสนุนในวงเงิน 50,000 – 300,000 บาท โครงการขนาดใหญ่ คือโครงการที่ขอสนับสนุนในวงเงิน 300,000 – 3,000,000 บาท การจัดสรรงบประมาณมี 2 ระบบ คือ ระบบปกติ องค์การสวัสดิการสังคมเสนอโครงการผ่าน พมจ. หรือสํานักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร มายังกองทุนส่วนกลาง โดยมีคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการเป็นผู้พิจารณาก่อนนําเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนอนุมัติ เปิดรับข้อเสนอโครงการตลอดปี และมีการพิจารณาอนุมัติโครงการทุกเดือน และระบบกระจายสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น โดยให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาโครงการ ปัญหา อุปสรรค ในการเข้าถึงกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมประกอบด้วย (1) ปัญหากลไกการพิจารณาโครงการไม่เป็นอิสระจากส่วนกลาง (2) กรอบงบประมาณบางรายการขอไม่ได้ เช่น ค่าตอบแทนหรือค่าล่วงเวลาคนทํางาน หรือค่าอาหารว่างจํากัดวงเงินไว้ต่ํามาก (3) ปัญหาการสื่อสารและข้อมูล เขียนโครงการมาแล้วไม่ได้ และไม่ได้คําตอบที่ชัดเจนว่าเป็นเพราะอะไร (4) ปัญหาการเขียนโครงการไม่เป็น เพราะเป็นแบบวิชาการค่อนข้างยาก (5) ปัญหาข้อจํากัดด้านงบประมาณของกองทุนซึ่งมาจากงบประมาณรายจ่ายประจําปีของรัฐบาลเท่านั้น ข้อเสนอแนะกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมควรรักษาจุดเด่นที่เป็นกองทุนหลักในการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในภาพรวมของประเทศ ระบบการกระจายทุนไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น มีการปรับปรุงการกลั่นกรองโครงการ และอนุมัติโครงการ ให้งบประมาณกระจายออกเร็วขึ้น ควรแก้ไขระเบียบที่กําหนดให้โครงการที่ของบประมาณจากส่วนกลางต้องผ่านการเห็นชอบและลงนามโดยประธานคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯประจําจังหวัดก่อน ควรทบทวนเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณที่แบ่งออกเป็นเชิงประเด็น และเชิงพื้นที่วามีความเหมาะสมหรือไม่ พมจ. ควรจัดการอบรมการเขียนโครงการให้กับองค์กรสวัสดิการชุมชนให้สามารถเขียนโครงการได้ด้วยตนเอง ควรเปิดช่องทางให้ภาคประชาสังคมเข้ามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลหรือกลั่นกรองโครงการเบื้องต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในการกระจายทุนสูงพื้นที่ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง และคณะทํางานติดตามประเมินผลการบริหารกองทุนระดับจังหวัด เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ควรใช้ระบบการคลังเพื่อสังคมเพื่อเพิ่มรายได้และส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม เปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบการจัดทํางบประมาณแผ่นดิน และสนับสนุนสินเชื่อเพื่อคนจน | en |
dc.description.abstract | The objectives of research on “Social Welfare Promotion Fund” is threefold: 1. to study the formation, development, form of management, accessibility to fund, problems, and suggestion by listening to social welfare organizations which is the target group of fund, 2. to solve the problems and improve the efficiency of management, 3. to study mechanism and social finance system to raise fund for improving efficiency and sustainability. The findings is Social Welfare Promotion Fund was established under the Social Welfare Act B.E. 2003 There are 3 level mechanism: national mechanism, provincial mechanism, and Bangkok mechanism. Framework for fund supporting divided to 3 size: small size support not exceed than 50,000 Bath, medium size support 50,000 – 300,000 Bath, big size support 300,000 – 3,000,000 Bath. There are 2 system of budget allocation namely: normal system; social welfare organizations present project through provincial social development and social security or social development department, Bangkok Metropolitan Administration to the national mechanism. The national mechanism will assign subcommittee to screen the proposal before passing to the administrative committee for approval. The project proposal is welcome all year round and approval project proposal is monthly. There is also decentralization system to regional and local for consideration project proposal which is done by provincial subcommittee. Problems and obstacles of accessibility to social welfare promotion fund composed of (1) the mechanism of project proposal is not independent (2) some item of budget can not be apply i.e allowance or overtime of personnel or the very low budget for coffee break (3) problem of communication and data such as no reason to explain why the project is rejected (4) common people have no capacity to write a perfect project proposal (5) problem of limited budget of the fund which solely come from the government annual expenditure budget. Suggestion : Social Welfare Promotion Fund should keep its strong point as a core fund to promote the overall social welfare project of the country, having allocation budget system to regional and local, improving efficiency of its management, targeting at strengthening the social welfare organization to depend on itself in the long run, coordinating with the others for fund raising, the national administrative committee should improve its performance in screening and approving project to speed up budget distribution, should modify regulation on the condition of any project proposal from provincial and local must be accepted and singed by the chairman of administrative provincial subcommittee, should revise whether the criteria on issue based and area based is still suitable, training on project writing should be arrange for community social welfare organizations to be able to write project proposal, should open channel for civil society organizations to participate in providing information or screening project proposal at the beginning to increase efficiency of budget allocation to the areas, the provincial screening committee appoint should include the working group for monitoring and evaluation, should fund raising by using social finance to promote social welfare management, opening channel and facilitating people participation to follow up the national budgeting, and supporting microfinance for the poor. | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.subject | กองทุนส่งเสริมสวัสดิการสังคม | en |
dc.subject | Social Welfare Promotion Fund | en |
dc.subject | สวัสดิการสังคม | en |
dc.subject | บริการสังคม | en |
dc.subject | Social service | en |
dc.title | การบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม : การเข้าถึง ปัญหา และข้อเสนอแนะ | en |
dc.title.alternative | Social Welfare Promotion Fund Management : Accessibility, Problems, and Suggestions | en |
dc.type | Article | en |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Artical Journals |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Social-Welfare-Promotion-Fund-Management.pdf | 84.78 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.