Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/307
Title: ผลของการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับอัลบูมินในเลือดของผู้ป่วยเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Other Titles: Effects of Transaction on Food Consumption Behaviors and Serum Albumin Levels in Chronic Kidney Disease Patients Receiving Hemodialysis
Authors: กนกพร นทีธนสมบัติ
พรศิริ พันธรังสี
Kanokporn Nateetanasombat
Pornsiri Pantasri
เสาวลักษณ์ มีคุณ
Soawalux Meekun
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ไตวายเรื้อรัง
Chronic renal failure
การบริโภคอาหาร
Food consumption
อัลบูมินูเรีย
Albuminuria
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
Hemodialysis
Issue Date: 2014
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองนี้ (Quasi-experimental Research Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับอัลบูมินในเลือดของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก่อนและหลังการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในหน่วยไตเทียมโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการพยาบาลโดยการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2) คู่มือการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3) แบบบันทึกการรับประทานอาหารของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 4) แบบประเมินข้อมูลทั่วไปและระดับอัลบูมินในเลือด และ 5) แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลก่อน และหลังการทดลองห่างกัน 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ มัธยฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน dependent sample t-test และสถิติ Wilcoxon signed rank test ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรการบริโภคอาหารรายข้อและรายหมวดอาหารของกลุ่มตัวอย่างหลังให้การพยาบาลโดยการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายสูงกว่าก่อนให้การพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยหมวดอาหารที่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 6 หมวด คือ หมวดเนื้อสัตว์ (p<.001) หมวดข้าว (p=.02) หมวดไขมัน (p<.001) หมวดนมและผลิตภัณฑ์ (p<.001) หมวดเครื่องดื่ม (p<.001) และหมวดเครื่องปรุงรส (p<.001) และเมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดของคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารพบว่า ก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ยังพบว่าระดับอัลบูมินในเลือดของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับอัลบูมินในเลือดสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.000) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายในผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสามารถทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรการบริโภคอาหารที่ดีขึ้นทั้งชนิดและปริมาณของอาหารและสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมให้เหมาะสมได้
The quasi-experimental research aimed to compare food consumption behaviors and serum albumin level of patients with chronic kidney disease receiving hemodialysis before and after transaction. Twenty-eight samples were specifically selected from patients with chronic kidnet disease receiving hemodialysis at the private hospital. The research instruments consist of five sets: 1) the nursing care plan regarding to transaction of food consumption behaviors in patients with chronic kidney disease receiving hemodialysis; 2) the handbook for self-care and food consumption of patients with chronic kidnet disease receiving hemodialysis; 3) the recording form for food consumption of patients with chronic kidney disease receiving hemodialysis; 4) the assessment form for demographic data and serum albumin level; and 5) the assessment form for food consumption behaviors. Data was collected before and after the experiment 4 weeks apart. Frequency distribution, percentage, median, mean, standard deviation, dependent sample t-test, and Wilconxon signed rank test were used as data analysis. This study found that mean of food consumption behaviors score on each item and each food category of the sample after providing nursing care by transaction had significantly higher than before providing nursing care. There had significantly differences in six food categories for instance meat (p<.001) rice (p=.02) fat (p.001) milk and diary product (p<.001), beverrage (p<.001) and seasoning (p<.001). There had significantly different in overall of food consumption behaviors score before and after the experiment as well (p<.001). Moreover, the serum albumin after the experiment was significantly higher mean of serum albumin than before the experiment (p=.000). This study showed that transaction in patients with chronic kidney disease receiving hemodialysis could make these patients to have a better food consumption behaviors both categories and amount. This study would also apply to be a guideline for improving food consumption behaviors of patients with chronic kidney disease receiving hemodialysis in appropriately.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/307
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SOAWALUX-MEEKUN.pdf8.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.