Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจุฬาวรรณ จิตดอน-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ คงพรหม-
dc.contributor.authorJurawan Jitdon-
dc.contributor.authorSupaporn Kongprom-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingen
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursingen
dc.date.accessioned2024-10-26T06:31:45Z-
dc.date.available2024-10-26T06:31:45Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.citationวารสาร มฉก. วิชาการ 24,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563) : 197-201en
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3135-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/187111/167566en
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเครียดขณะฝึกปฏิบัตติงานของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดชณะฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต 3) แนวทางวิธีการจัดการความเครียดที่เลือกใช้และความต้องการการช่วยเหลือในการจัดการกับความเครียดจากคณะพยาบาลศาสตร์ของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้นปีที่ 3-4 ที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสุขภาพและความเครียด แบบวัดความเครียดสวนปรุง แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ ด้านสิ่งแวดล้อมในแหล่งฝึกปฏิบัติด้านอาจารย์ (พยาบาลนิเทศ) ในสถานที่ฝึกปฏิบัติ และด้านภาระงานขณะฝึกปฏิบัติ โดยหาความเที่ยงของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลเขิงปริมาณจากแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าจำนวน ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้การคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product correlation coefficient) ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความเครียดในระดับน้อย ร้อยละ 4.80 มีความเครียดในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.50 มีความเครียดในระดับมาก ร้อยละ 42.50 และมีความเครียดในระดับรุนแรง ร้อยละ 10.20 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลขณะฝึกปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยด้านอาจารย์ (พยาบาลนิเทศ) ในสถานที่ฝึกปฏิบัติ (r = -.161, p = .038) และปัจจัยด้านภาระงานขณะฝึกปฏิบัติ (r = -212, p = .006) ผลการสำรวจแนวทางวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลเลือกใช้มากที่สุด คือ การทำกิจกรรมนันทนาการด้วยการเล่นดนตรี/ร้องเพลง/ฟังเพลง รองลงมา คือ การปรึกษาผู้อื่น และการนอนหลับ ตามลำดับ โดยความต้องการการช่วยเหลือในการจัดการกับความเครียดจากคณะพยาบาลศาสตร์ของนักศึกษา คือ ต้องการให้อาจารย์มีความเอื้อเฟื้อ จิตใจเมตตา เข้าใจนักศึกษา และมีความยุติธรรม รองลงมา คือ ลดปริมาณการบ้าน/ขยายเวลาการส่งการบ้าน และจัดตารางการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมอื่นๆ ตามลำดับen
dc.description.abstractThis descriptive research aims to study 1) stress during the practice of the Bachelor of Nursing Science students 2) factors related to stress during practice of Bachelor of Nursing Science students 3) guidelines for managing the stress that is selected and the need for help in managing stress among nursing students. The sample group was a Bachelor of Nursing Science students. The population included 167 nursing students in years 3-4 of Huachiew Chalermprakiet University. The study tools consisted of a personal information questionnaire, health and stress information questionnaire, Suanprung stress test-20 and questionnaires about factors of readiness before practice environment aspects in the practice of teachers (supervisory nurses) in practice and workload while practicing, and the reliability of the questionnaire was found to be equal to 0.97. The data were analyzed by descriptive statistic and Pearson product-moment correlation coefficient. The results showed that 4.80 percent of the nursing students had a mild level of stress, 42.50 percent had a moderate level of stress, 42.50 percent had a high level of stress and 10.20 percent had a severe level of stress. The factors related to stress during practice training for Bachelor of Nursing Science students with statistical significance at .05 level, such as teachers’ factor (supervisory nurses) in practice (r = -.161, p = .038) and workload factor while practicing (r = -212, p = .006). From the survey results, the stress management methods most used by nursing students were as follows; playing music/singing/listening to music, consulting others and sleeping, respectively. The need for assistance in dealing with stress from the Faculty of Nursing for the students was to provide teachers with generosity, compassion, understanding and justice. It was followed by lowering the amount of homework/extending the homework assignment and arranging teaching schedules to facilitate other activities in the faculty, respectively.en
dc.language.isothen
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)en
dc.subjectStress (Psychology)en
dc.subjectมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์ – นักศึกษาen
dc.subjectHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing -- Studentsen
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen
dc.subjectNursing studentsen
dc.subjectพยาบาล -- การฝึกอบรมในงานen
dc.subjectNurses -- In-service trainingen
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดขณะฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.title.alternativeFactors Relates to Stress during Practice Training in the Bachelor of Nursing Science Program: Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet Universityen
dc.typeArticleen
Appears in Collections:Nursing - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Relates-to-Stress-during-Practice-Training.pdf97.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.