Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/320
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จริยาวัตร คมพยัคฆ์ | - |
dc.contributor.advisor | นภาพร แก้วนิมิตชัย | - |
dc.contributor.advisor | Jariyawat Kompayak | - |
dc.contributor.advisor | Napaporn Kaewnimitchai | - |
dc.contributor.author | กฤษณา ดวงแก้ว | - |
dc.contributor.author | Kritsana Duangkaew | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-24T13:35:41Z | - |
dc.date.available | 2022-05-24T13:35:41Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/320 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตา ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพศชายและเพศหญิง ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาระดับปานกลาง อายุ 20 ขึ้นไป จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบบันทึกการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคเบาวหานและภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตา ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับคำนิยามของพฤติกรรมการดูแลตนเอง เท่ากับ 0.92 และเมื่อนำไปทดลองใช้ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.74 ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลในระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยพบกลุ่มตัวอย่าง 4 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละประมาณ 45-60 นาทีแต่ละครั้งห่างกัน 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบความแตกต่างของรดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาด้วยค่าร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยสถิติ Pair t-test ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมและรายด้านทั้ง 5 ด้าน ดีขึ้นกว่าก่อนได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 2)ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 และ 3) ระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตาเท่าเดิมร้อยละ 86.68 ลดลงร้อยละ 11.11 | th |
dc.description.abstract | The study is designed as a quasi-experimental research one-group pre-posttest design. The aim of this study is effects of educative supportive nursing system on self-care behaviors fasting plasma glucose and level of diabetic retinopathy in type 2 diabetes mellitus. The sample of this study consisted of 45 patients with type 2 diabetes mellitus, male and femalr. Moderate non-proliferative diabetic retinopathy, ages 20 year above. The research instruments consisted of educative supportive nursing system activities and based on conceptual framework of Orem's theory, a self-care behavior questionnaire and records about illness inculde diabetes mellitus and diabetic retionapathy. The instruments were tested for the content validity by 3 expertise. The content validity index of self-care behaviors questionnaire =0.92 and try out reliability was 0.74. Intervention and collect data for a period of 12 weeks, met for times sample takes about 45-60 minutes each time, four weeks apart, to compare the different level of diabetic retinopathy by percentage. Compare the difference of the average self-care behaviors and fasting plasma glucose by Pair t-test with statistical significance at the 0.05. Results of the research study showed that the intervention (1) 5 parts and the total score for self-care behaviors in post intervention were significantly higher than pre-intervention scores at the 0.001 level. (2) fasting plasma glucose better by statistically significant at p<0.001 and (3) level of diabetic retionpathy was moderate NPDR 86.68 percent and mild NPDR 11.11 percent. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | th |
dc.subject | Self-care, Health | th |
dc.subject | ผู้ป่วยเบาหวาน | th |
dc.subject | Diabetics | th |
dc.subject | น้ำตาลในเลือด | th |
dc.subject | Blood sugar | th |
dc.subject | เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน | th |
dc.subject | Diabetes Mellitus, Type 2 | th |
dc.subject | Non-insulin-dependent diabetes | - |
dc.title | ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางจอประสาทตา ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 | th |
dc.title.alternative | Effects of Educative Supportive Nursing System on Self-Care Behaviors Fasting Plasma Glucose and Level of Diabetic Retinopathy in Tpye 2 Diabetes Mellitus Patients | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | th |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KRITSANA-DUANGKAEW.pdf Restricted Access | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.