Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/329
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กนกพร นทีธนสมบัติ | - |
dc.contributor.advisor | กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม | - |
dc.contributor.advisor | Kanokporn Nateetanasombat | - |
dc.contributor.advisor | Kamonthip Khungtumneum | - |
dc.contributor.author | สุมิตรา คำประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | Sumitra Kumparsert | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-28T16:06:43Z | - |
dc.date.available | 2022-05-28T16:06:43Z | - |
dc.date.issued | 2019 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/329 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ระบบบริการพยาบาลพัฒนาระบบบริการพยาบาลตลอดจนศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการพยาบาลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน จำนวน 39 ราย และสมาชิกในครอบครัว จำนวน 39 ราย และผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งหมด 9 ท่าน ซึ่งการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลนั้นได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วันและครอบครัว 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับสหสาขาวิชาชีพ 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 4) แบบประเมินความเครียด 5) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน และครอบครัวต่อระบบบริการพยาบาลที่ฯ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน และครอบครัวมีความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวานจากบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากเมื่อกลับบ้านไม่สามารถปฏิบัติตนได้ และไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ จากการวิเคราะห์ระบบบริการพยาบาล พบว่า แพทย์ พยาบาลไม่มีเวลาในการให้คำแนะนำกับสตรีตั้งครรภ์ เนื่องจากมีผู้รับบริการจำนวนมาก และต้องเร่งทำงานให้ทันเวลา รวมถึงยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ไม่มีระบบการดูแลและการติดตามสตรีตั้งครรภ์เบาหวานชนิดเอ วัน ที่ชัดเจน สำหรับระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การประเมินปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก 2) สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน และครอบครัวได้รับคำแนะนำเรื่องโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์และโภชนาการอาหารสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน จากพยาบาลวิชาชีพคลินิกฝากครรภ์ โดยจัดทำคู่มือและแบบบันทึกการรักษาพยาบาล แล้วให้นำไปทบทวนที่บ้าน 3) สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน ได้รับการติดตามค่าระดับน้ำตาลในเลือด FBS และ 2hrPP ทุกครั้ง ที่มาตรวจตามนัด 4) มีระบบติดตามดูแลในระยะคลอดและหลังคลอดโดยการเยี่ยมมารดาและทารกที่หอผู้ป่วย แล้วบันทึกข้อมูล 5) ระบบติดตามในระยะหลังคลอด 6 สัปดาห์ โดยวิธี 75g OGTT และความพึงพอใจของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน และครอบครัวอยู่ในระดับสูง สำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อระบบบริการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น และมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยให้สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน และครอบครัวในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ | th |
dc.description.abstract | This action research was to study the situation of nursing service system, develop the nursing service system, and analyze the performance of family-centered nursing service system for glycemic control in pregnant women with gestational diabetes mellitus class A1 (GDM A1). The informants were 39 pregnant women with GDM A1 and 39 persons of their family members, and the minor informants were multidisciplinary teams: Nine people. The purposive sampling technique was used for selection of informants in this research. Tools used for collecting data were as follows: 1) in-depth interview forms for pregnant women with GDM A1 and their family members; 2) in-depth interview forms for multidisciplinary teams; 3) personal data questionnaires; 4) stress assessment forms; and 5) satisfaction assessment forms of pregnant women with GDM A1 their family members on the family-centered. This analysis was separated women with GDM A1 their family members on the family-centered. This analysis was separated into two parts: using content analysis for analyzing qualitative data and using descriptive statistics, mean, and percentage for analyzing the quantitative data. From this research, it was found that the pregnant women with GDM A1 and their family members need information about GDM self-care from medical personnel because they were unable to conduct self-care at home and lacked in knowledge about GDM in pregnant women. From analzing the nursing service system, it was found thay physicans and nurses had no time to give advice to pregnant women due to a lot of patients, rushing to work in time, including no direct responsible agency and certain system for caring and monitoring pregnant women with GDM A1. The nursing service system developed in this research consisted 1) assessing risk factors for diabetes in pregnant women who received the first antenatal care; 2) pregnant women with GDM A1 and their families received advices on GDM and nutrition for pregnant women with GDM A1 from antenatal nurses making as manuals and medical records for reviewing at their homes; 3) the pregnant women with GDM A1 were monitored blood glucose levels by FBS and 2hrPP tests every time they came to the examination according to the appointment; 4) there was a monitoring system during chilbirth and postnatal periods by visiting the mothers and infants at ward and recording data; and 5) monitoring system during postmartum period for 6 weeks by 75g-OGTT. The satisfaction of pregnant women with GDM A1 and their families on the nursing service system was at a high level. For multidisciplinary teams were satisfied with the nursing service system improved and were proud to help pregnant women with GDM A1 and their families for controlling blood sugar levels. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | เบาหวานขณะตั้งครรภ์ | th |
dc.subject | Diabetes in pregnancy | th |
dc.subject | การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย | th |
dc.subject | Patient education | th |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | th |
dc.subject | Self-care, Health | th |
dc.title | การพัฒนาระบบบริการพยาบาลที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดเอ วัน | th |
dc.title.alternative | Developmrnt of Family Centered Nursing Service for Glycemic Control in Pregnant Women with Gestational Diabets Mellitus Class A1 | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | th |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumitra-Kumprasert.pdf Restricted Access | 5.77 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.