Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3308
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล | - |
dc.contributor.advisor | Thipaporn Phothithawil | - |
dc.contributor.author | นงลักษณ์ แสงพิทักษ์ | - |
dc.contributor.author | Nongluk Saenpithak | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2024-12-01T03:30:27Z | - |
dc.date.available | 2024-12-01T03:30:27Z | - |
dc.date.issued | 2005 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3308 | - |
dc.description | ภาคนิพนธ์ (สส.ม) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง "ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อระบบการให้บริการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) : กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อระบบการให้บริการด้านบริการบุคลากรผู้ให้บริการ และขั้นตอนการให้บริการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อระบบการให้บริการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 145 คน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสมุทรสาครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป มีสถานภาพการสมรสคู่ ระดับการศึกษาของผู้สูงอายุอยู่ในระดับประถมศึกษา ด้านรายได้ของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อเดือน แหล่งที่มาของรายได้นั้นผู้สูงอายุได้มาจากลูกหลาน และเมื่อแยกประเภทการมารับบริการของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสมุทรสาคร ไม่เคยมารับบริการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) คิดเป็นร้อยละ 52.4 ส่วนผู้สูงอายุที่เคยมารับบริการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) นั้น ส่วนใหญ่มารับบริการกรณีเจ็บป่วยเรื้อรัง มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตา และโรคกระดูก ดังนั้น จำนวนครั้งของผู้สูงอายุที่เคยมารับบริการจากโรงพยาบาลสมุทรสาครตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) นั้น ส่วนใหญ่จำนวนครั้งจึงมากกว่า 5 ครั้งต่อไป ส่วนแหล่งของสื่อที่ได้รับทราบสิทธิประโยชน์นั้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุได้รับทราบทางสื่อโทรทัศน์ และบุคลากรด้านสาธารณสุขจากโรงพยาบาลและสถานีอนามัย ผู้สูงอายุส่วนน้อยที่สุดที่ได้รับทราบจากสื่อแผ่นพับความพึงพอใจต่อระบบการให้บริการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ในภาพรวมแล้ว ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในระดับมากทั้ง 3 ด้านคือ 1. ด้านการบริการ ผู้สูงอายุส่วนมากมีความพึงพอใจต่อการให้บริการมากที่สุดในเรื่อง การมีส่วนร่วมของกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และการบริการป้องกันโรคต่างๆ ได้แก่ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย และการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า 2. ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ผู้สูงอายุส่วนมากมีความพึงพอใจต่อบุคลากรผู้ให้บริการมากที่สุดในเรื่อง เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลมีกิริยามารยาทเรียบร้อย พูดจาไพเราะ 3. ด้านขั้นตอนการให้บริการ ผู้สูงอายุส่วนมากมีความพึงพอใจต่อขั้นตอนการให้บริการมากที่สุดในเรื่อง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ให้บริการเป็นอย่างดี เสมอต้นเสมอปลาย และขั้นตอนการให้บริการมีความสะดวกอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาอุปสรรคต่อระบบการให้บริการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) นั้น ผู้สูงอายุโดยภาพรวมแล้วมีความพึงพอใจต่อระบบการให้บริการ และได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในเรื่องการปรับปรุงความสะอาดของห้องสุขาในบางจุดอย่างสม่ำเสมอ และควรลดระยะเวลาการรอพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาและการรอรับยา ซึ่งจะทำให้บริการของโรงพยาบาลดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาจเนื่องจากผู้สูงอายุยังมีความมั่นใจต่อการบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลจึงมีความยินดีที่จะรอคอย และโดยที่ชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมุทรสาครมีการประชุมทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุมีความยินดีที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมและได้สังสรรค์กันด้วย ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ คือ ภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง ควรจัดให้มีการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) แก่ผู้สูงอายุทุกคน อย่างเท่าเทียมกัน ควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้ามาร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ให้มีการจัดทำสื่อแผ่นพับด้านสิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้เข้าใจและสามารถอ่านได้ชัดเจน และหน่วยบริการควรมีการพัฒนาบุคลากรที่ให้บริการต่อผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และมีมาตรการแรงจูงใจสำหรับบุคลากรด้วยเพื่อทำให้ระบบการให้บริการต่อผู้สูงอายุคงรักษาสภาพความพึงพอใจในระดับมากต่อไป | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | ประกันสุขภาพ | en |
dc.subject | Health insurance | en |
dc.subject | สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล | en |
dc.subject | National health insurance | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- บริการทางการแพทย์ | en |
dc.subject | Older people -- Medical care | en |
dc.subject | ความพอใจ | en |
dc.subject | Satisfaction | en |
dc.subject | ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ | en |
dc.subject | โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en |
dc.subject | โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค | en |
dc.title | ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อระบบการให้บริการของโครงการหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า ( 30 บาทรักษาทุกโรค) : กรณีศึกษา ชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร | en |
dc.title.alternative | The Satisfaction of Agings on Health Service System of Health Insurance for All (30 Bahts Cure All Diseases) Project : A Case Study of Aging Association of Samutsakhon Hospital, Amphur Muang, Samutsakhon Province | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การบริหารสังคม | en |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
The-Satisfaction-of-Agings-on-Health.pdf Restricted Access | 15.93 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.