Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/330
Title: | ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง |
Other Titles: | Self-Health Care Experiences of Caregiver's Older Adults with Bedridden Patients |
Authors: | กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม กนกพร นทีธนสมบัติ Kamonthip Khungtumneum Kanokporn Nateetanasombat สุริยา ฟองเกิด Suriya Fongkerd Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | ผู้ดูแลผู้สูงอายุ Older caregivers การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง Self-care, Health ผู้ดูแล Caregivers |
Issue Date: | 2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ ภรรยา บุตร หลาน และเหลน ที่อาศัยอยู่ในตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 12 คน โดยผู้วิจัยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง จำแนกได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง คือ 1) ภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.1) ตามภาวะสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัว พบว่า มีการเสื่อมของร่างกายเพิ่มขึ้นก่อนที่จะมาดูแล และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว พบว่า อาการของโรคเดิมกำเริบ 1.2) ตามกลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุมากจะมีอาการเสื่อมของร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น เข่าเสื่อม หลังเสื่อม ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และกลุ่มที่มีอายุน้อย พบว่า มีอาการเจ็บออดๆ แอดๆ และ 2. ภาวะสุขภาพด้านจิตใจ คือ ผู้ดูแลมีภาวะเครียด 2.1) ภาวะในการดูแล 2.2) ห่วงกังวลกับสุขภาพของผู้ป่วย และ 2.3) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ประเด็นที่ 2 การดูแลตนเองด้านสุขภาพ พบว่า มี 2 ประเด็น คือ 1) การดูแลสุขภาพทางกาย ประกอบด้วย การดูแลสุขภาพทั่วไปในภาวะปกติด ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ได้แก่ การหายามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย การนอนพักผ่อน ทำกายบริหาร ยืดเหยียดด้วยตนเอง การนวดด้วยตนเอง และ 2) การดูแลสุขภาพทางจิตใจ คือ การจัดการความเครียด ได้แก่ การละวางจากการดูแลและเลี่ยงที่จะปะทะกับผู้ป่วย ประเด็นที่ 3 ความต้องการการดูแลสุขภาพ พบว่า มี 2 ประเด็น คือ 1) ความต้องการด้านสุขภาพทางกาย ได้แก่ ต้องการให้บุคลากรทางสุขภาพมาเยี่ยม ดูแล และให้คำแนะนำด้านสุขภาพ 2) ความต้องการด้านสุขภาพทางจิตใจ ได้แก่ ต้องการให้บุคคลในครอบครัวและบุคคลรอบข้างเข้าใจและให้กำลังใจ การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าผู้ดูแลที่มีอายุมากจะมีความเสื่อมของร่างกาย ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว อ่อนเพลีย พยาบาลควรจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพทางกาย เช่น การออกกำลังกายให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ผู้ดูแลที่ความเครียดจากความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ พยาบาลควรประสานงานกับองค์กรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเรื่องสวัสดิการทางสังคมของผู้ดูแล และจัดกิจกรรมเพื่อจัดการความเครียดให้กับผู้ดูแล This qualitative research is aimed to investigate the self-care experiences of the caregivers of older adult with bedridden patients. The informants of this study, which were selected with purposive sampling, included 12 caregivers of older adult with bedridden patients. The data collection was carries out with in-depth interview, observation, and content analysis. The findings of this study revealed that the self-care experiences of the caregivers of older adult with bedridden patients can be discussed in three aspects. The first aspect was the health status covering the physical health status and mental health status. The findings were as follows: 1) Physical health status showed that caregivers without disease had including increasing degenerative conditions of body, and caregivers with recurrent disease will have the exacerbation. The older adult caregivers are also more likely to have inculding increasing degenerative conditions of body too, but caregivers at the youngest had mild illness. 2) The mental health condition was that caregivers were stressed from the burden of care concerned about patient health and economic security. The second aspect was self health caring which also included the physical and mental sides. 1) Physical health care includes regular health care, including healthy eating, exercise, health care when sick, including medication to relieve illness, sleep, physical therapy stretch themselves and massage. 2) mental health care includes stress management, such as relaxation, massage, go to the temple, merit making, calm and go out to friends to relax, avoid to clash with the patient by walking away. The third aspect was the needs with respect to health care. It was found that: 1) Physical health needs include access to health care and health advice. 2) mental health needs includes people around understand and encourage. This study suggested that older adult with bedridden patients would have a deterioration of the body. The nurse should arrang a visit to the home by focusing on physical health. Exercise to caregivers older adult with bedridden patients to prevent more severe health problems. Caregivers who are stressed out of econommic insecurity. Nurses should coordinate with the relevant local organizations to assist with the welfare of the caregiver and organize stress management activities for caregivers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2561 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/330 |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
SURIYA-FONGKERD.pdf Restricted Access | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.