Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3317
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล-
dc.contributor.advisorThipaporn Phothithawil-
dc.contributor.authorนภมณี ขุนฤทธิ์-
dc.contributor.authorNopmanee Kunrit-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2024-12-01T05:31:12Z-
dc.date.available2024-12-01T05:31:12Z-
dc.date.issued2009-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3317-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตและความต้องการบริการทางสังคมของครอบครัวเด็กพิการทางจิต ออทิสติก และครอบครัวเด็กพิการทางสติปัญญา โดยศึกษาบริการทางสังคมด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคม ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริการทางสังคมสำหรับครอบครัวเด็กพิการทางจิต ออทิสติก และครอบครัวเด็กพิการทางสติปัญญา การศึกษาครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น (1) กลุ่มตัวอย่างทางจิต ออทิสติก และผู้พิการที่มีลักษณะทางสติปัญญา จำนวน 4 ครอบครัว (2) กลุ่มตัวอย่างเป็นหน่วยงานที่ให้บริการ หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 หน่วยงาน และหน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 5 หน่วยงาน มีพื้นที่ศึกษาอยู่ในกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการดำเนินชีวิตของครอบครัวเด็กพิการทางจิต ออทิสติก และผู้พิการทางสติปัญญา มีสภาพการดำเนินชีวิตอยู่ในสภาพปกติ เพราะครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการดูแลเอาใจใส่เด็กพิการเหล่านี้ ให้ดำรงชีวิตได้เช่นคนปกติมากที่สุด ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กพิการทางสติปัญญา จึงทำให้บทบาทในการดูแลสมาชิกในครอบครัวของเด็กพิการเหล่านี้ ชัดเจน บทบาทหน้าที่ และปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกันภายในครอบครัวเด็กพิการทางจิต ออทิสติก และผู้พิการทางสติปัญญา พบว่า บทบาทหน้าที่ในการหาเลี้ยงครอบครัวและในการดูแลบุตรซึ่งพิการ ครอบครัวเด็กเหล่านี้สามารถทาบทบาทได้อยู่ในระดับดี ในส่วนของปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว พบว่า เด็กพิการมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ทำให้ปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวเป็นไปในทางบวก การสื่อสารกันภายในครอบครัวก็จะเป็นไปในเชิงบวก ทั้งนี้ เนื่องจากความผูกพันและความเข้าใจกันของสมาชิกในครอบครัว 2. บริการทางสังคมสำหรับครอบครัวเด็กพิการ จากการศึกษาพบว่า หน่วยงานภาครัฐให้บริการทางสังคมสำหรับครอบครัวเด็กพิการ ครอบคลุมบริการต่างๆ มากกว่า 1 ด้าน ส่วนภาคเอกชนให้บริการทางสังคมเฉพาะกลุ่ม ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ภาครัฐ ควรกำหนดนโยบายด้านส่งเสริมความตระหนักรู้ เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อตนเอง และต่อผู้พิการ กระทรวงศึกษาธิการ ควรสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กพิการ ได้รับบริการด้านการศึกษา โดยเน้นการเรียนร่วมกับเด็กปกติให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งดูแลสำนักงานส่งเสริมคุณภาพชีวติคนพิการแห่งชาติ ควรบูรณาการการทำงานด้านการบริการทางสังคมเชิงรุกกับกระทรวงสาธารณสุข และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างเป็นรูปธรรม หน่วยงานภาครัฐและองค์กรด้านคนพิการ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่แก่คนพิการ ครอบครัว สังคม สถานประกอบการ ตลอดจนบุคลากรของทั้งภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับคนพิการ โดยการจัดฝึกอบรม การจัดทำตัวชี้วัดเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของคนพิการและมีการเร่งรัด ปรับปรุงแก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคหรือจำกัดสิทธิคนพิการรวมทั้งการพัฒนากฎระเบียบให้คนพิการสามารถเข้าถึงสิทธิมากขึ้น จัดโครงการกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กพิการและครอบครัวได้รับบริการครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ บริการด้านการแพทย์ บริการด้านการศึกษา บริการด้านอาชีพ และบริการด้านสังคม ส่งเสริมให้ครอบครัวที่มีสมาชิกพิการได้เรียนรู้ วิธีการดูแล ปฏิบัติด้านพิการ เพื่อให้ระดับปฏิบัติกับคนพิการแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม รวมถึงสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลคนพิการ กระตุ้นให้ครอบครัวให้การสนับสนุนแก่คนพิการในการออกมาสู่ต่อโลกภายนอก ปรับเปลี่ยนเจตคติที่มีต่อความพิการและคนพิการจากลักษณะเวทนานิยมไปสู่สังคมคุณธรรมในมิติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิ ช่วยสร้างความตระหนักรู้และสร้างเสริมเจตคติเชิงบววกด้านคนพิการen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาen
dc.subjectChildren with mental disabilitiesen
dc.subjectเด็กออทิสติกen
dc.subjectAutistic childrenen
dc.subjectผู้ปกครองเด็กออทิสติกen
dc.subjectParents of autistic childrenen
dc.subjectบริการสังคมen
dc.subjectSocial servicesen
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen
dc.subjectSocial supporten
dc.titleสภาพการดำเนินชีวิตและบริการทางสังคมสำหรับครอบครัวเด็กพิการ : ศึกษากรณีครอบครัวเด็กพิการทางจิต ออทิสติก และพิการทางสติปัญญาen
dc.title.alternativeLiving Situation and Social Services for Families of Disabled Children : A Case Study of Families with Psychiatric, Autistic and Intellectual Disabled Childrenen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineบูรณาการนโยบายสวัดิการสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Living-Situation-and-Social-Services.pdf
  Restricted Access
24.98 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.