Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/336
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด เอ วัน
Other Titles: Factors Related to Self-Care Behaviors on Glycemic Control of Pregnant Women with Gestational Diabetes Mellitus Class A1
Authors: กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
กนกพร นทีธนสมบัติ
Kamonthip Khungtumneum
Kanokporn Nateetanasombat
สุภานัน ชัยราช
Supanun Chairat
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: เบาหวานขณะตั้งครรภ์
Diabetes in pregnancy
ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
Pregnancy -- Complications
น้ำตาลในเลือด -- การควบคุม
Blood sugar -- Control
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Self-care, Health
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด เอ วัน อายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ มารับบริการแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 127 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม 6 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้เกี่ยวกับโรคและความรุนแรงของโรคเบาหวาน การจัดการตนเองที่เป็นเบาหวานชนิด เอ วัน การปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยบริการฝากครรภ์กับสตรีตั้งครรภ์ พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด เอ วัน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค ได้เท่ากับ 0.79, 0.75, 0.80, 0.83 และ 0.81 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระดับปานกลาง (x̄=2.60,S.D.=.25) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล พบว่า 1) อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.183, p=.04) 2) สถานภาพสมรสที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (F=.392, p=.759) 3) ระดับการศึกษาแตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกัน จำนวน 2 คู่ (F=5.708, p=.001) 4) การรับรู้เกี่ยวกับโรคและความรุนแรงของโรคเบาหวานชนิด เอ วัน (r=1.61, p=.070) และสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด (r=.054,p=.547) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 5) การจัดการตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวานชนิด เอ วัน (r=.535, p<.001) การปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว (r=.302, p=.001) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยบริการฝากครรภ์กับสตรีตั้งครรภ์ (r=.185, p=.038) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This research aimed to study factors related to self-care behaviors on glycemic control blood sugar level of pregnant women with GDM A1. The participants were 127 pregnant women with GDM A1 at gestational age 24 to 28 weeks, who received antenatal care at Rajavithi Hospital. Data collection was gathered by using questionnaires, which consisted of six parts including demographic data, perception on disease and severity about GDM A1, self-management of pregnant women with GDM A1, family interaction and stressful factors, receiving information from antenatal care health providers, and self-care behaviors for controlling blood sugar level of pregnant women with GDM A1. Content validity of questionnaire was confirmed by thress experts. Reliability of the questionnaires was examined using Cronbach's alpha coefficient at 0.79, 0.75, 0.80, 0.83, and 0.81. The findings revealed that the participants had mean score of self-care behaviors on glycemic control blood sugar level in the medium level (x̄=2.60,S.D.=.25). According to the factors analysis on self-care behaviors on glycemic control blood sugar level of pregnant women GDM A1, the results illustrated that 1) Age was statistically significantly negative related to self-care behaviors on glycemic control blood sugar level (r=-.183, p=.04) 2) Marital status had mean of self-care behaviors on glycemic control blood sugar level with no statistically significantly different (F=.392, p=.759) 3) Level of education had mean of self-care behaviors on glycemic control blood sugar level with differently statistically significant in couple factors (F=5.708, p=.001) 4) Perception of disease and severity about GDM A1 (r=1.61, p=.070), and self-management of pregnant women with GDM A1 (r=.054, p=.547) were positibe relationship in the low level with self-care behaviors on glycemic control blood sugar level, which had no statistically significant. In addition 5) Self-management with diagnosed GDM A1 (r=.535, p<.001), family interaction (r=,302, p=.001) and interaction between antenatal care health providers and pregnant wome (r=.185, p=.038) were statistically significant positive related to self-care behaviors on glycemic control blood sugar level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/336
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SUPANUN-CHAIRAT.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.