Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3639
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย | - |
dc.contributor.advisor | Saowanit Nitananchai | - |
dc.contributor.author | บุญมาดา บุญญคุณากร | - |
dc.contributor.author | Boonmada Boonyakunakorn | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2025-02-08T08:26:16Z | - |
dc.date.available | 2025-02-08T08:26:16Z | - |
dc.date.issued | 2007 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3639 | - |
dc.description | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (บริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยนี้ เรื่อง “ทัศนคติต่อการประทับตราและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิงในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติต่อการประทับตราของหญิงรักหญิง 2) ศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของหญิงรักหญิง 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นหญิงรักหญิง มีประชากรไม่สามารถกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ จึงได้ทำโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จึงโดยใช้วิธีการติดต่อผ่านกลุ่มหญิงรักหญิงที่พบปะกันในกรุงเทพมหานคร มีผู้สมัครใจเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 71 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 10 - 50 ปี ผลการศึกษาด้านปัจจัยบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุระหว่าง 21-30 ปี และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีอายุระหว่าง 41-50 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีระดับการศึกษาที่ระดับต่ำกว่ามัธยมปลาย/ปวช. กับระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพ พนักงานบริษัท/องค์กรเอกชน และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีอาชีพว่างงาน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001-20,000 บาท และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยมีรายได้ 20,001-30,000 บาท ผลการวิเคราะห์ทัศนคติต่อการประทับตราพบว่า ทัศนคติต่อการประทับตราโดยรวมสังคมทุกกลุ่มยอมรับกลุ่มตัวอย่างหญิงรักหญิงในระดับปานกลาง มีความสัมพันธเชิงบวกต่อการปรับตัว ทางสังคมของหญิงรักหญิง ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้กล่าวคือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างทัศนคติต่อการประทับตรากับความสามารถในการปรับตัวทางสังคม กล่าวคือ หญิงรักหญิงได้รับทัศนคติต่อการประทับตราที่ดี มีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมสูงกว่าหญิงรักหญิงที่ได้รับทัศนคติต่อการประทับตราต่ำกว่าผลการวิเคราะห์การสนับสนุนทางสังคม พบว่า การสนับสนุนทางสังคม โดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างหญิงรักหญิงให้รับการสนับสนุนทางสังคมจากสังคมทุกกลุ่มในระดับมากมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิง ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้กล่าวคือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการปรับตัวทางสังคม ทั้งนี้พบว่าหญิงรักหญิงที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่ระดับมาก มีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมสูงกว่าหญิงรักหญิงที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อยกว่าผลการวิเคราะห์การมีคุณค่าในตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างหญิงรักหญิงมีคุณค่าในตนเองสูง มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิง ตรงตามสมมติฐานที่ตั้งไว้กล่าวคือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการมีคุณค่าในตนเองกับความสามารถในการปรับตัวทางสังคม ทั้งนี้พบว่าหญิงรักหญิงที่มีคุณค่าในตนเองที่สูง มีความสามารถในการปรับตัวทางสังคมสูงกว่าหญิงรักหญิงที่มีคุณค่าในตนเองต่ำกว่าจากการศึกษาลักษณะการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิง พบว่า หญิงรักหญิงมีการแสดงออกที่เหมาะสมอยู่ในระดับสูง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่น อยู่ในระดับสูง มีทัศนคติที่ดีต่อคนอื่นอยู่ในระดับสูง และมีการปรับตัวทางสังคมด้านพอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่ในระดับสูงข้อเสนอแนะ ทุกคนในสังคมควรจะให้ความเสมอภาค ความเป็นธรรม และการสนับสนุนที่ดีต่อหญิงรักหญิงเทียบท่าสังคมทั่วไปเพื่อความเป็นสังคมแห่งสมานฉันท์สถาบันการศึกษา จะต้องมีวิชาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเพศศึกษาในลักษณะที่ถูกต้องไม่ปลูกฝังจิตใจเด็กให้เข้าใจในเรื่องรักฤษลดียวกันในทางที่ผิดสื่อมวลชน ต้องนำเสนอภาพลักษณ์ของหญิงรักหญิงในทางที่เป็นจริง ไม่ควรสร้างหรือปลุกกระแสแฟชั่นนิยมแบบผิด ๆ ควรนำเสนอในลักษณะสอดแทรกความรู้ และเป็นข้อเท็จจริงดังเช่นสังคมทั่ว ๆ ไป หรือเม้แต่ระดับกว้างออกไปควรมีการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารสุขและองค์กรพัฒนาเอกชน จัดให้มีหน่วยบริการให้คำปรึกษาแก่หญิงรักหญิงที่ประสบปัญหาไม่ทราบว่าจะปรึกษาใครได้ควรจัดให้มีโครงการส่งเสริมสุขภาพสำหรับหญิงรักหญิง เพื่อให้หญิงรักหญิงได้มีความรู้ในด้านการป้องกันโรคความรู้เรื่องทศศึกษาและการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | เลสเบี้ยน -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en |
dc.subject | Lesbianism -- Thailand -- Bangkok | en |
dc.subject | รักร่วมเพศ -- แง่สังคม. | en |
dc.subject | Homosexuality -- Social aspects | en |
dc.subject | การปรับตัวทางสังคม | en |
dc.subject | Social adjustment | en |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | en |
dc.subject | Social support | en |
dc.subject | ความภูมิใจแห่งตน | en |
dc.subject | Self-esteem | en |
dc.subject | ความรู้สึกเป็นตราบาป | en |
dc.subject | Stigma (Social psychology) | en |
dc.title | ทัศนคติต่อการประทับตราและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวทางสังคมของหญิงรักหญิงในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Attitude towards Stigmatization and Social Support Related to the Social Adjustment of Lesbian Couples in Bangkok | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | บริหารสวัสดิการสังคม | en |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Attitude-Towards-Stigmatization-and-Social-Support.pdf Restricted Access | 19.98 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.