Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3645
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร-
dc.contributor.advisorJaturong Boonyarattanasoontorn-
dc.contributor.authorปกรวรรธน์ ศรีล่า-
dc.contributor.authorPakornwat Srila-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2025-02-08T14:20:37Z-
dc.date.available2025-02-08T14:20:37Z-
dc.date.issued1998-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3645-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541en
dc.description.abstractปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดวินัยของข้าราชการตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาทัศนคติต่อการเป็นตำรวจ การขัดเกลาทางสังคม และการกระทำผิดวินัยของข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดวินัย ของข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ 3) เสนอแนะนโยบายและมาตรการ ในการป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการกลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ ปีงบประมาณ 2541 รวม 9 หน่วยงาน จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบวัดความคิดเห็น มี 3 ตอน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว 2) แบบวัดทัศนคติต่อการเป็นตำรวจ 3) แบบวัดการขัดเกลาทางสังคม เมื่อ ได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการ ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อายุราชการอยู่ในช่วง 1-10 ปี มีตำแหน่งชั้นประทวน สายงานป้องกันและปราบปราม รายได้รวมต่อเดือนที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 5,001 - 7,000 บาท ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่เพียงพอ มีสถานภาพสมรส และไม่เคยได้รับทัณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวินัยตำรวจ พ.ศ. 2477ทัศนคติต่อการเป็นตำรวจ ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการเป็นตำรวจอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีทัศนคติที่ดีสูงสุดในเรื่องการเป็นตำรวจเป็นอาชีพที่ต้องเสียสละ และมีทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่อง นักการเมืองมีอิทธิพลต่อการสร้างวินัยตำรวจ และผู้มีอิทธิพลมีอิทธิพลต่อการส่งเสริมให้ตำรวจทุจริตต่อหน้าที่การขัดเกลาทางสังคม ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่ได้รับการขัดเกลาทางสังคมทั้งจากโรงเรียนตำรวจ ผู้บังคับบัญชา และเลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับสูง โดยการปลูกฝังจากโรงเรียนตำรวจเรื่อง การอดทนต่อความเจ็บใจและให้ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้สติปัญญา อยู่ในระดับสูงสุด แต่ไม่เห็นด้วยกับการเลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อนร่วมงาน เกี่ยวกับการได้รับรางวัลหรือความดีความชอบในการทำงานเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการกระทำผิดวินัยสูงสุด โดยวิธีการถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดวินัยของข้าราชการตำรวจ คือ ตำแหน่งงานสอบสวน งานสืบสวน งานจราจร งานป้องกันปราบปราม รายได้รวมต่อเดือนที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ ความเพียงพอของรายได้จากการปฏิบัติหน้าที่ และการขัดเกลาทางสังคมข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ซึ่งจะส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อการกระทำผิดวินัยของข้าราชการตำรวจมีดังนี้ การเพิ่มเงินเดือนของข้าราชการตำรวจ เน้นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน การพัฒนาอาชีพและทัศนคติ ค่านิยม ของสมาชิกในครอบครัว เน้นแม่บ้านตำรวจชั้นประทวน การปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล เน้นการใช้ระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการที่พักอาศัย เน้นสวัสดิการที่พักสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นประทวน การปรับปรุงอัตรากำลัง เน้นการกระจายกำลังที่เหมาะสม การคัดเลือกและการจัดหลักสูตรการศึกษาอบรม เน้นความเหมาะสมในวิชาชีพ วุฒิภาวะ ทัศนคติ และพื้นฐานทางจิตใจ นอกเหนือจากความรู้ความสามารถ การจัดการด้านทรัพยากรบริหาร เน้นความคล่องตัว ความพร้อมในการใช้งาน และการสนับสนุนจากหน่วยอื่น การอบรมวินัย และจริยธรรมในวิชาชีพตำรวจ เน้นการแก้ปัญหาที่เป็นอยู่จริง การปรับเปลี่ยนค่านิยมและทัศนคติ การให้ผู้บังคับบัญชาเป็นตัวอย่างที่ดีและการประเมินผลการเข้าถึงประชาชน เน้นหลักการชุมชนสัมพันธ์แบบถาวร และผลประโยชน์นอกระบบเงินเดือน เน้นการลด ละ เลิก โดยจะต้องยอมรับความเป็นจริงทางธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectตำรวจ -- ไทยen
dc.subjectPolice -- Thailanden
dc.subjectตำรวจ -- วินัยen
dc.subjectPolice -- Disciplineen
dc.subjectตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการen
dc.subjectSamutprakarn Provincial Policeen
dc.subjectข้าราชการตำรวจ -- วินัยen
dc.subjectข้าราชการตำรวจ -- ไทยen
dc.subjectการขัดเกลาทางสังคมen
dc.subjectสังคมประกิตen
dc.subjectSocializationen
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดวินัยของข้าราชการตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการen
dc.title.alternativeFactors Effecting Police's Disciplinary Violation : A Case Study of Policein Samut Prakan Provinceen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Effecting-Policies-Disciplinary-Violation.pdf
  Restricted Access
19.1 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.