Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3657
Title: | ความพึงพอใจของสถานประกอบการอุตสาหกรรมและบริการต่อการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Industrial and Survice Establishment's Satisfaction on Service of Private Security Guards in Samutprakarn Province |
Authors: | สุภรัฐ หงษ์มณี ประมวล ทองภู Pramual Tongpoo Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | พนักงานรักษาความปลอดภัย Police, Private การรักษาความปลอดภัยภาคเอกชน Private security services โรงงาน -- ไทย -- สมุทรปราการ Factories -- Thailand -- Samut Prakan ความพอใจของผู้ใช้บริการ User satisfaction การจูงใจในการทำงาน Employee motivation ความต้องการ (จิตวิทยา) Need (Psychology) สถานประกอบการ |
Issue Date: | 2003 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา ความต้องการของสถานประกอบการต่อการบริการรักษาความปลอดภัย ระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการอุตสาหกรรมและบริการต่อการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัย และปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัยของสถานประกอบการอุตสาหกรรมและบริการ โดยรวมกลุ่มตัวอย่างจากสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรม และบริการในเขตจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น 240 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสถานประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กในจำนวนใกล้เคียงกัน ส่วนด้านสถานบริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นสถานบริการขนาดกลาง สถานประกอบการส่วนใหญ่มีจำนวนพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนโดยเฉลี่ย 4.5 คน มีอัตราค่าจ้างของสถานประกอบการต่อพนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน เฉลี่ยอัตรา 6,250.50 บาทต่อ 1 คน สถานประกอบการมีความคิดเห็นต่อระดับคุณภาพงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนด้านคุณภาพงานในระดับปานกลาง ด้านประสิทธิภาพงานในระดับปานกลาง ด้านระดับความสามารถของพนักงานรักษาความปลอดภัยในระดับปานกลาง และพอใจกับจำนวนการชดใช้ค่าเสียหายในระดับปานกลาง สำหรับจำนวนบริษัทห้างร้านที่บริษัทรักษาความปลอดภัยรับผิดชอบเฉลี่ย 5.2 แห่ง โดยมีระดับความพึงพอใจของบริษัทต่อภูมิประวัติของผู้บริหารของพนักงานรักษาความปลอดภัยในระดับปานกลาง เกณฑ์การคัดเลือกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนของสถานประกอบการ พบว่า ประการแรก คือ ด้านการเอาใจใส่ในงาน ประการที่สอง คือ ด้านอายุของพนักงานรักษาความปลอดภัย ประการที่สาม คือ ด้านบุคลิกลักษณะท่าทาง และประการสุดท้าย คือ ด้านรูปร่างทางกายภาพระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อการให้บริการของพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีความพึงพอใจด้านการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการอำนวยการสะดวกจราจร ด้านการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลและด้านการช่วยประชาสัมพันธ์ต่ำที่สุด พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยองค์กรบริษัทรักษาความปลอดภัย 3 ตัวแปร จำแนกเป็นคุณภาพงาน การชดใช้ค่าเสียหาย และจำนวนบริษัทห้างร้านที่รับผิดชอบ 2) ปัจจัยเกณฑ์การคัดพนักงานรักษาความปลอดภัย 2 ตัวแปร คือ รูปร่างทางกายภาพและการเอาใจใส่ในงาน สำหรับความต้องการของสถานประกอบการ 2 ด้าน คือ ด้านพนักงานรักษาความปลอดภัย สถานประกอบการต้องการให้พนักงานรักษาความปลอดภัยมีความขยันในงานมากขึ้น มีการเพิ่มทักษะการเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆ ของสถานประกอบการให้เข้าใจ ให้พนักงานมีความรับผิดชอบในงาน รักงาน และสถานที่ทำงานโดยให้ความรู้สึกของการเป็นเจ้าของสถานที่ สามารถทำงานได้หลากหลายหน้าที่มากกว่าเดิม และมีความประพฤติที่เหมาะสมอยู่ในกรอบระเบียบในหน้าที่ของตนเอง ด้านบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน สถานประกอบการต้องการให้บริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน เพิ่มเครื่องอุปกรณ์ในการทำงาน ทำการฝึกอบรม ทักษะ จริยธรรม การรับรู้บทบาทหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็วทันใจมากกว่าเดิม การรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายอย่างยุติธรรมให้มากขึ้นกว่าเดิมและการเอาใจใส่ในงานให้มากขึ้นผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับบริษัทรักษาความปลอดภัยเอกชน คือ ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น ควรจัดการทำงาน หรือคัดเลือกให้พนักงานรักษาความปลอดภัยได้ทำงานในสถานที่ ที่เหมาะสมกับลักษณะความชอบ ควรเพิ่มโอกาสการสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้แก่พนักงานรักษาความปลอดภัย และการจัดระบบสวัสดิการที่เหมาะสมแก่พนักงาน ยกระดับให้งานรักษาความปลอดภัยสามารถเป็นอาชีพที่มั่นคง สามารถเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวได้ และจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นแก่ การทำงานอย่างเพียงพอ และในการวิจัยต่อไปควรทำการศึกษาในเชิงนโยบาย ถึงแนวทางการรวมตัวกันขององค์กรพนักงานรักษาความปลอดภัย การศึกษาเจาะลึกคุณภาพ รายละเอียดและวงจรลักษณะการทำงานของพนักงานรักษาความปลอดภัย และศึกษาถึงแนวทางการรวมตัวของพนักงานรักษาความปลอดภัย |
Description: | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3657 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Industrial-and-Service-Establishment-Satisfaction.pdf Restricted Access | 9.39 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.