Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3715
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร-
dc.contributor.advisorJaturong Boonyarattanasoontorn-
dc.contributor.authorประสิทธิ์ ปล้องทอง-
dc.contributor.authorPrasit Plongtong-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2025-03-16T07:18:51Z-
dc.date.available2025-03-16T07:18:51Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3715-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543en
dc.description.abstractการวิจัย เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดสวัสดิการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน : ศึกษากรณี การมีส่วนร่วมในการจัดตั้งตำรวจชุมชนประจำตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับตำรวจชุมชน และทัศนคติของประชาชนประจำตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีต่อการจัดตั้งตำรวจชุมชนบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดตั้งตำรวจชุมชนประจำตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 21-30 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ระหว่าง 200-5,000 บาทต่อเดือน อาศัยอยู่ในชุมชน 1-10 ปี การเข้าร่วมในกิจกรรมชุมชน พบว่าส่วนใหญช่วยดูแลบ้านให้เพื่อนบ้านใกล้เคียง การเข้าร่วมป้องกันอาชญากรรม พบว่า ส่วนใหญ่มีการเตือนและเล่ารายละเอียดกลอุบายให้สมาชิกในบ้านระวังคนแปลกหน้า หรือกลอุบายของคนร้าย ทัศนคติต่อตำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่รู้สึกว่าตำรวจมีส่วนช่วยลดปัญหาจราจร การรับรู้เกี่ยวกับกับตำรวจชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่รับรู้ว่าการดำเนินงานของตำรวจชุมชน ต้องมีประชาชนเป็นอาสาสมัครให้ความร่วมมือ และม่บทบาทเพื่เสริมสร้างความสงบสุขให้แก่ชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งตำรวจชุมชนประจำตำบลบ้านระกาศ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วม ส่วนการวัดความต้องการมีส่วนร่วมของตำรวจชุมชนปรจำตำบลบ้านระกาศ ในกิจกรรมด้านต่างาๆ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมในเรื่องการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้านที่ประสบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและไม่ต้องการมีส่วนร่วมในเรื่องร่วมกับสายตรวจออกตรวจตราพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานของตำรวจชุมชน พบว่า กิจกรรมที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานของตำรวจชุมชน เป็นตัวแปรแรกที่เข้าสู่สมการถดถอยพหุคูณ รองลงมา คือ ทัศนคติที่ดีต่อตำรวจ สถานภาพสมรส และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ยาวนานเป็นตัวแปรสำคัญลำดับสุดท้ายจากผลการศึกษาวิจัย ดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเฉพาะในการกำกับดูแลกิจการตำรวจชุมชนประจำตำบลอย่างแท้จริง เป็นรูปธรรมชัดเจน ควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษาค้นคว้าวิจัยและประเมินผลการดำเนินงานของตำรวจชุมชน ควรกำหนดนโยบายในด้านการจัดสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้แก่ผู้ทำหน้าที่ตำรวจชุมชนประจำตำบลอย่างแท้จริงและชัดเจน ควรกำหนดให้กิจการตำรวจชุมชนประจำตำบลเป็นนโยบายสำคัญอยู่ในลำดับต้นๆ และควรศึกษาวิจัยปัญหาและความตัองการของชุมชนก่อนที่จะมีการจัดตั้งตำรวจชุมชนแต่ละแห่งสำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภารกิจและหน้าที่ของตำรวจชุมชนประจำตำบล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจชุมชนประจำตำบลและทำการศึกษาอย่างเจาะลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลทำให้ผู้ที่อยู่ในสถานภาพสมรสแล้ว ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งตำรวจชุมชนประจำตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectตำรวจชุมชนสัมพันธ์ – การมีส่วนร่วมของประชาชนen
dc.subjectPolice-community relations -- Citizen participationen
dc.subjectทัศนคติen
dc.subjectAttitude (Psychology)en
dc.subjectบ้านระกาศ (บางบ่อ)en
dc.subjectBarnrakard (Bangbo)en
dc.subjectตำรวจชุมชนสัมพันธ์ – ไทย -- สมุทรปราการen
dc.subjectPolice-community relations – Thailand – Samut Prakanen
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดสวัสดิการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน : ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งตำรวจชุมชนประจำตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการen
dc.title.alternativePeople's Participation in Welfare Management in Lives and Properties Safety : A Case Study of Participation in Setting Community Police in Tambol Barnrakard, Amphur Bangbo, Samut Parkarn Provinceen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
People’s-Participation-in-Welfare-Management-in-Lives-and-Properties-Safety.pdf
  Restricted Access
10.94 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.