Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3716
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorNuttsa Sanitvong Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorปรัชญา นวลฉวี-
dc.contributor.authorPrachaya Nunlchawee-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2025-03-16T07:35:46Z-
dc.date.available2025-03-16T07:35:46Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3716-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม และปัจจัยที่ทำให้นักศึกษามีจริยธรรมต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2545 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 330 คน วิเคระห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้สถิติเชิงพรรณา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-23 ปี มีระดับผลการศึกษาเฉลี่ย 2.01-3.00 กลุ่มตัวอย่างได้รับการอบรมจริยธรรมจากครอบครัวแบบได้รับการอบรมสั่งสอนบ้าง ห้ามปรามบ้าง ทำโทษเมื่อทำผิด รองลงมา คือ ได้รับการอบรมสั่งสอนมาก ห้ามปรามไม่ให้ทำผิดและทำโทษเมื่อทำผิด การอบรมจริยธรรมจากคุณครูในอดีต คือ คุณครูเป็นแบบอย่างที่ดีพอสมควร และสั่งสอนให้ทำความดี รองลงมา คือ คุณครูส่วนใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี สั่งสอนให้ทำความดีและลงโทษเมื่อทำความผิด การอบรมจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า สถาบันนี้มีความเข้มงวดในการสั่งสอนจริยธรรมในระดับปานกลาง ผลการศึกษาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความเสียสละสูงที่สุด รองลงมา คือ การเคารพกฎหมาย ความรักชาติ ความเมตตา ความรับผิดชอบ ส่วนพฤติกรรมจริยธรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การมีระเบียบวินัย เมื่อศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพบว่า - นักศึกษาหญิงมีจริยธรรมสูงกว่านักศึกษาชายในด้านความซื่อสัตย์สุจริต การเคารพกฎหมาย ความเสียสละและความรักชาติ - นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีระเบียบวินัยสูงที่สุด รองลงมา คือ ชั้นปีที่ 2 3 และ 4 ตามลำดับ - นักศึกษาที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจริยธรรมจากครอบครัว โดยได้รับการสั่งสอนบ้าง ห้ามปรามบ้าง และลงโทษเมื่อทำความผิดและแบบได้รับการสั่งสอนให้ทำความดีมาก ห้ามไม่ให้ทำผิดและทำโทษเมื่อทำความผิด มีจริยธรรมสูงกว่านักศึกษาที่ได้ค่อยได้รับการอบรมจากครอบครัว โดยปล่อยให้รู้เองว่าควรทำอย่างไร จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้สถาบันการศึกษาจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม สร้างระเบียบวินัย และประกาศเกียรติคุณนักศึกษาที่ทำความดีเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่นักศึกษาอื่นๆ ต่อไปen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectจริยธรรมนักศึกษาen
dc.subjectStudent ethicsen
dc.subjectมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม – นักศึกษาen
dc.subjectHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare -- Studentsen
dc.subjectจริยศึกษา (อุดมศึกษา)en
dc.subjectMoral education (Higher)en
dc.titleพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.title.alternativeMoral Behavior of Students of Faculty of Social Work and Social Welfare Huacheiw Chalermprakiat Universityen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Moral-Behavior-of-Students-of-Faculty-of-Social-Work.pdf
  Restricted Access
8.7 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.