Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3723
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล-
dc.contributor.advisorThipaporn Phothithawil-
dc.contributor.authorปริทัศน์ รัตนวรรณปทีป-
dc.contributor.authorParithut Rattanawanpateep-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2025-03-16T11:19:04Z-
dc.date.available2025-03-16T11:19:04Z-
dc.date.issued2008-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3723-
dc.descriptionการศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551en
dc.description.abstractการศึกษาอิสระเรื่องความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษระของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยสัมพันธภาพ ปัจจัยองค์กร ปัจจัยประสบการณ์ และปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทนของบุคลากรสายสนับสนุนฯ (2) ศึกษาระดับของความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนฯ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนฯ (4) ศึกษาความคาดหวังของบุคลากรสายสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีต่อสวัสดิการเสริมสร้างความมั่นคงในการทำงานกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนของภาควิชา สำนักงาน และหน่วยงานต่างๆ ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เป็นข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินนอกงบประมาณ ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ และลูกจ้างเงินนอกงบประมาณเต็มเวลา (ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว) จำนวน 197 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Window เพื้อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบหาปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนฯ โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า1. ปัจจัยส้่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี อัตราเงินเดือนมากกว่า 12,001 บาท และส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างเงินนอกงบประมาณประจำ2. ปัจจัยของบุคลากรสายสนับสนุนฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คือ ปัจจัยลักษณะงาน ได้แก่ ความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบ ปัจจัยสัมพันธภาพ ได้แก่่ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ใช้บริการ ปัจจัยองค์กร ได้แก่ การได้รับการยอมรับ การควบคุมแนะนำทั่วไป นโยบายและการบริหาร ปัจจัยประสบการณ์ ได้แก่ ความสำคัญของตนต่อองค์กร ส่วนปัจจัยของบุคลากรสายสนับสนุนฯ ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ปัจจัยลักษณะงาน ได้แก่ สภาพการทำงาน ปัจจัยองค์กร ได้แก่ การปกครองบังคับบัญชา ปัจจัยประสบการณ์ ได้แก่ ความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทน ได้แก่ ความพึงพอใจในเงินเดือน และความพึงพอใจในสวัสดิการ3. ระดับความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนฯ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการทำงาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และประเภทการจ้าง ปัจจัยลักษณะงาน ได้แก่ ความสำเร็จของงาน ปัจจัยสัมพันธภาพ ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน ปัจจัยองค์กร ได้แก่ นโยบายและการบริหาร ปัจจัยประสบการณ์ ได้แก่ ความสำคัญของตนตอองค์กร ความก้าวหนาในตำแหน่งงานและปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทน ได้แก่่ ค่าตอบแทนมีอิทธิพลต่อความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ส่วนปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลกับความมั่นคงในการทำงาน พบว่า ปัจจัยส้่วนบุคคล ได้แก่ สถานภาพสมรส การศึกษา และเงินเดือน ปัจจัยลักษณะงาน ได้แก่ สภาพการทำงานและความรับผิดชอบ ปัจจัยสัมพันธภาพ ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ใช้บริการและการยอมรับนับถือ ปัจจัยองค์กร ได้แก่ การควบคุมแนะนำทั่วไป และการปกครองบังคับบัญชา และปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทน ได้แก่ สวัสดิการไม่พบว่ามีอิทธิพลกับความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี5. ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีการสนับสนุนด้านความสำเร็จของงาน โดยการให้บุคลากรมีการศึกษาเพิ่มเติม สนับสนุนให้มีการพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน และควรมีการปรับวุฒิหรือเลื่อนขั้นให้กับบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาหรือผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการกระตุ้นการทำงานของบุคลากร ควรมีการสนับสนุนความสัมพันธ์ทั้งที่มีต่อผู้บังคับบัญชาและที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน โดยการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ควรมีการสนับสนุนความสำคัญของบุคลากรต่อองค์กร โดยการจัดให้มีบุคลากรดีเด่นเพื่อให้บุคลากรเกิดขวัญและกำลังในการปฏิบัติงาน และเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ควรสนับสนุนให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในตำแหน่งาน โดยจัดทำโครงสร้างตำแหน่งงานให้ชัดเจน ตลอดจนควรมีการลดขั้นตอนของการเปลี่ยนตำแหน่ง การเลื่อนขั้น ควรมีการจัดโครงสร้างของระบบการจ่ายค่าจ้าง และควรพิจารณาจัดสวัสดิการเพื่อเป็นการส่งเสริมความมั่นคงในการทำงานให้กับบุคลากร เช่น เงินโบนัสหรือเงินพิเศษประจำปี ที่พักอาศัย การจัดบริการให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว เงินช่วยเหลือครอบครัวและบุตร เงินบำเหน็จ เงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุหรืออันตราย ที่ไม่ได้เกิดจากการทำงาน การศึกษาต่อ อาหาร รถรับส่ง เงินกู้ฉุกเฉิน การจัดบริการนันทนาการต่างๆ เงินช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการทำงาน เงินสะสมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ การจัดบริการห้องสมุด และการตรวจสุขภาพประจำปีen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectความมั่นคงในการทำงานen
dc.subjectJob securityen
dc.subjectสภาพแวดล้อมการทำงานen
dc.subjectWork environmenten
dc.subjectการยอมรับทางสังคมen
dc.subjectSocial acceptanceen
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลen
dc.subjectInterpersonal relationsen
dc.subjectการจูงใจในการทำงานen
dc.subjectEmployee motivationen
dc.subjectสวัสดิการลูกจ้างen
dc.subjectมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์. โรงพยาบาลรามาธิบดี -- พนักงานen
dc.subjectMahidol University. Faculty of Medicine. Ramathibodi Hospital -- Employeesen
dc.titleความมั่นคงในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน :คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลen
dc.title.alternativeJob Security of the Supportive Personnel : Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol Universityen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Job-Security-of-the-Supportive-Personnel.pdf
  Restricted Access
20.78 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.