Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3727
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฎฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorNuttsa Sanitvong Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorปัญญวุฒิ จินตมาศ-
dc.contributor.authorPanyawuth Chintamas-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2025-03-17T06:23:22Z-
dc.date.available2025-03-17T06:23:22Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3727-
dc.descriptionภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548en
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้ เป็นการศึกษาความต้องการสวัสดิการแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการแรงงานที่สถานประกอบการจัดให้ของแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ 2) เพื่อศึกษาถึงความพอเพียงในการจัดสวัสดิการแรงงานของแรงงานในอุตสาหรรมสิ่งทอ 3) เพื่อศึกษาความต้องการเพิ่มเติมในสวัสดิการที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ของแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอในกลุ่มบริษัท สหยูเนี่ยน เขตบางปู จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 257 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้เป็นแบบสอบถามความต้องการด้านสวัสดิการแรงงาน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาหาค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า แรงงานส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี มีภูมิลำเนาส่วนใหญ่อยู่ในเขตปริมณฑล มีสถานภาพสมรสแล้ว มีสมาชิกในครอบครัว 3 คน และ 4 คน มีจำนวนบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ 2 คน การอยู่อาศัย ส่วนใหญ่พักหอพักพนักงาน ได้รับการศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษา ประเภทของลูกจ้างรายวัน และลูกจ้างรายเดือน มีอายุงานในช่วง 21-30 ปี ส่วนใหญ่เป็นพนักงานฝ่าย มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง ระหว่าง 4.550-10,000 บาท มีช่วงเวลาทำงานประจำเช้า และทำงานประจำผลัด จากการศึกษาความตรงกับความต้องการของแรงงานในการจัดสวัสดิการแรงงาน 10 ด้าน พบว่าสวัสดิการที่มีความตรงกับความต้องการมากที่สุด ดังนี้ 1) สวัสดิการบริการด้านสุขภาพอนามัย คือ บริการสวัสดิการด้านเอ็กซ์-เรย์ ปอด 2) สวัสดิการบริการด้านความปลอดภัย คือ การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ 3) สวัสดิการบริการด้านความมั่นคง คือ การจัดสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชพ 4) สวัสดิการบริการด้านจ่ายค่าตอบแทนในวันลาที่ได้รับอนุญาตตามระเบียบบริษัทฯ คือ การจัดสวัสดิการค่าตอบแทนวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าตอบแทนวันลาป่วย 30 วันต่อปี 5) สวัสดิการบริการดด้านการศึกษา คือ การฝึกอบรมให้ความรู้ระหว่างการทำงาน 6) สวัสดิการบริการด้านเศรษฐกิจ คือ การบริการเงินกู้ฉุกเฉิน เงินกู้สามัญ และเงินปันผล ดอกเบี้ยเฉลี่ยคืนของสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ 7) สวัสดิการบริการด้านให้คำปรึกษา คือ การให้คำปรึกษาภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุในงาน 8) สวัสดิการบริการด้านนันทนาการ คือ การจัดกิจกรรมาทอดกฐินสามัคคี 9) สวัสดิการบริการด้านเงินโบนัสและสวัสดิการ คือ เงินรางวัลพนักงานปฏิบัติงนานด้วยความวิริยะอุตสาหะ เงินรางวัลพนักงานปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ 5 ปี ติดต่อกัน และเงินรางวัลพนักงาน ปฏิบัติงานดีเด่น 10) สวัสดิการบริการด้านอื่นๆ คือ เกียรติบัตรพนักงานปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะในหนึ่งปี เกียรติบัตรพนักงานปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ 5 ปี ติดต่อกันและเกียรติบัตรพนักงานปฏิบัติงานดีเด่น จากการศึกษาความพอเพียงกับความต้องการของแรงงานในการจัดสวัสดิการแรงงาน 10 ด้าน พบว่า สวัสดิการที่มีความพอเพียงกับความต้องการมากที่สุด ดังนี้ 1) สวัสดิการบริการด้านสุขภาพอนามัย คือ บริการสวัสดิการด้านเอ็กซ์-เรย์ ปอด 2) สวัสดิการบริการด้านความปลอดภัย คือ การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ 3) สวัสดิการบริการด้านความมั่นคง คือ การจัดสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 4) สวัสดิการบริการด้านจ่ายค่าตอบแทนในวันลาที่ได้รับอนุญาตตามระเบียบบริษัทฯ คือ ค่าตอบแทนวันลาคลอด 5) สวัสดิการบริการด้านการศึกษา คือ การฝึกอบรมให้ความรู้ก่อนการทำงาน 6) สวัสดิการบริการด้านเศรษฐกิจ คือ บริการเปิดบัญชีเงินฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ 7) สวัสดิการบริการด้านให้คำปรึกษา คือ บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประกันสังคม 8) สวัสดิการบริการด้านนันทนาการ คือ การจัดกิจกรรมทอดกฐินสามัคคี 9) สวัสดิการบริการด้านเงินโบนัสและสวัสดิการ คือ เงินโบนัส 10) สวัสดิการบริการด้านอื่นๆ คือ เกียรติบัตรพนักงานปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะในหนึ่งปี เกียรติบัตรพนักงานปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะ 5 ปี ติตด่อกัน และเกียรติบัตรพนักงานปฏิบัติงานดีเด่น จากการศึกษาด้านความต้องการที่สถานบริการไม่ได้จัดให้ สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัยที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการให้มีการอบรมปฐมพยาบาลและการตรวจสารตะกั่วในเลือด ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านความปลอดภัยที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อม รองลงมา การอบรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านความมั่นคงที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการให้มีข้อมูลข่าวสารเกีย่วกับการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านจ่ายค่าตอบแทนในวันลาที่ได้รับอนุญาตตามระเบียบบริษัทฯ ที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการน้อย ในด้านค่าตอบแทนในวันหยุดประเพณี และค่าตอบแทนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านการศึกษาที่สถานประกอบการไมได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการให้มีการให้ทุนศึกษาต่อในประเทศ ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านเศรษฐกิจที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการเงินสวัสดิการสงเคราะห์กรณีประสบปัญหาชะตาชีวิต และกิจกรรมช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบภัย ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านให้คำปรึกษาที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการ บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องครอบครัว บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประกันสังคม บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาษี และบริการให้คำปรึกษาภายหลักจากเกิดอุบัติเหตุในงาน ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านนันทนาการที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี และการจัดกิจกรรมบรรยายธรรม ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านเงินโบนัสและสวัสดิการที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่า แรงงานมีความต้องการ ด้านความต้องการในสวัสดิการด้านอื่นๆ ที่สถานประกอบการไม่ได้จัดให้ พบว่าแรงงานมีความต้องการ รางวัลของที่ระลึกพนักงานปฏิบัติงานครบ 10 ปี จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อสถานประกอบกิจการ ได้แก่ เป็นสวัสดิการที่สถานประกอบการจัดให้ หรือที่ไม่ได้จัดให้ โดยที่ผ่านมา สถานประกอบการควรจัดให้มีการทบทวนสวัสดิการสำหรับพนักงานที่มีอายุงานนานๆ หรือควรจัดประชาสัมพันธ์ นิทรรศการเกี่ยวกัยสวัสดิการแรงานให้พนักงานทราบโดยทั่วถึงกัน ในด้านการจัดการสวัสดิการต่างๆ ที่ไม่แตกต่างในแต่ละหน่วยงาน ควรมีการชี้แจงวัตถุประสงค์และเหตุผลในการจัดสวัสดิการให้พนักงาน โดยทั่วไปทราบโดยทั่วถึงกันเพื่อป้อองกันความไม่เข้าใจ ในด้านการเสริมสร้างความรู้ให้กับตัวเอง สถานประกอบการควรมีนโยบายสนับสนุนทางด้านการศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองของพนักงาน อันจะส่งผลให้สถานประกอบการมีพนักงานที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น และจัดบริการการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับครอบครัว จัดให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ คอยให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือแก่พนักงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีแก่พนักงานen
dc.language.isothen
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.rightsมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติen
dc.subjectแรงงานen
dc.subjectLaboren
dc.subjectอุตสาหกรรมสิ่งทอen
dc.subjectTextile industryen
dc.subjectคนงานทอผ้าen
dc.subjectTextile workersen
dc.subjectสวัสดิการในโรงงานen
dc.subjectIndustrial welfareen
dc.subjectสวัสดิการแรงงานen
dc.subjectสถานประกอบการen
dc.subjectกลุ่มสหยูเนี่ยนen
dc.subjectSahaunion Groupen
dc.titleการสำรวจ สวัสดิการแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ : ศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทในกลุ่มสหยูเนี่ยน เขตบางปู จังหวัดสมุทรปราการen
dc.title.alternativeA Survey on Social Welfare Needs in Textile Industry : A Case Study of Sahaunion Group, Bangpoo District, Amphur Muang, Samutprakan Provinceen
dc.typeIndependent Studiesen
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมen
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
A-Survey-on-Social-Welfare-Needs-in-Textile-Industry.pdf
  Restricted Access
12.68 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.