Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3772
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ-
dc.contributor.authorAnothai Palitnonkert-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Healthen
dc.date.accessioned2025-03-30T12:46:39Z-
dc.date.available2025-03-30T12:46:39Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.citationวารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562) : 59-74en
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3772-
dc.descriptionสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.journals.apheit.org/jounal/science-Jul-Dec-2562/science_4.pdfen
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความ เสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ และศึกษาระดับความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ในตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มี โรคประจำตัวเรื้อรัง อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอด เลือดสมอง ที่อาศัยอยู่ในตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 109 คน เลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของ เนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความเครียดเท่ากับ 0.72 และแบบสอบถามความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมอง เสื่อมของผู้สูงอายุเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุด้วยสถิติ ทดสอบไคสแควร์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความเครียดที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของ ผู้สูงอายุด้วยการทดสอบผลการทำนายโดยการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัย พบว่า 1) เพศ และ อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อม ของผู้สูงอายุ (χ2 = 0.14, p > 0.05 และ χ2 = 3.67, p > 0.05 ตามลำดับ) 2) ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ กับความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ χ2 = 7.30, p = 0.02 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) โรคประจำตัวและประวัติของคนในครอบครัวที่เกิดภาวะสมองเสื่อม ไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยง ในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ (χ2 = 2.47, p > 0.05 และ χ2 = 3.64, p > 0.05 ตามลำดับ) และ 4) ความเครียดส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุสามารถทำนายความเสี่ยงในการเกิด ภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 8.40en
dc.description.abstractThis study was a survey research with a cross-sectional study. The objective of this study was to determine Factors Affecting the Risk of Elderly Dementia, including the risk level of dementia among the elderly in Bangyaphraek Sub-district, Phrapradaeng District, Samutprakan Province. There were109 subjects from the purposive sampling with their ages at 60 years old and over living in Bangyaphraek Sub-district, Phrapradaeng District, Samutprakan Province. All subjects had the underlying chronic disease among three following diseases, Diabetes Mellitus, hypertension and stroke.The research tool in this study was a questionnaire in which its content had been validated by 3 experts. This questionnaire had IOC (Index of item Objective Congruence) between 0.67 – 1.00. The reliability of stress was 0.72 and the risk of elderly dementia was 0.81. For data analysis, frequency, percentage, mean and standard deviation were used in this study. The relationship between personal factorsand the risk of elderly dementia was analyzed by using Pearson’s Chi-square statistic. Furthermore, stress affecting the risk of elderly dementia was done by the simple regression analysis. The result showed that 1) Gender and Age were not related to the risk of elderly dementia (χ2 = 0.14, p > 0.05 and = 3.67, p > 0.05, respectively), 2) an education level was related to the risk of elderly dementia (χ2 = 7.30, p = 0.02) at the significance level of 0.05, 3) an underlying disease and family history of dementia were not related to the risk of elderly dementia (χ2 =2.47, p > 0.05 and χ2 =3.64, p > 0.05, respectively) and 4) stress could affected the risk of elderly dementia with the prediction of 8.40% for the risk of elderly dementia.en
dc.language.isothen
dc.publisherสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยen
dc.subjectภาวะสมองเสื่อมen
dc.subjectDementiaen
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการen
dc.subjectOlder people -- Thailand -- Samut Prakanen
dc.subjectการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพen
dc.subjectHealth risk assessmenten
dc.subjectบางหญ้าแพรก (พระประแดง, สมุทรปราการ)en
dc.subjectBangyaphraek (Phrapradaeng, Samutprakan)en
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ในตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการen
dc.title.alternativeFactors Affecting the Risk of Elderly Dementia in Bangyaphraek Sub - District, Phrapradaeng District, Samutprakan Provinceen
dc.typeArticleen
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Artical Journals

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Affecting-the-Risk-of-Elderly-Dementia.pdf91.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.