Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3834
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชคชัย สุทธาเวช | - |
dc.contributor.advisor | Chokchai Suttawet | - |
dc.contributor.author | พิมพ์นิภา แก้วเกิด | - |
dc.contributor.author | Pimnipa Kaewkerd | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2025-05-04T03:32:23Z | - |
dc.date.available | 2025-05-04T03:32:23Z | - |
dc.date.issued | 2005 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3834 | - |
dc.description | สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง สภาพการจ้างในสถานประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ มีวัตถุประสงค์คือ 1) ต้องการสำรวจถึงสภาพการจ้างงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ 2) ศึกษาปัจจัยต่างๆ รวมทั้งบทบาทของสหภาพแรงงานที่มีผลต่อการกำหนดและปรับเปลี่ยนสภาพการจ้าง 3) ศึกษาว่าสถานประกอบการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการจ้างตามที่กฎหมายกำหนดได้มากน้อยเพียงใด ผลการศึกษาสภาพการจ้างในอุตสาหกรรมยานยนต์ พบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีลูกจ้าง 1-49 ร้อยละ 84.9 ประกอบกิจการประเภททำชิ้นส่วนพิเศษ หรืออุปกรณ์รถยนต์หรือรถพ่วง จ่ายค่าจ้างลูกจ้างเป็นรายเดือน ส่วนใหญ่ประกอบกิจการอยู่ในช่วง 1-10 ปี ประกอบธุรกิจแบบครอบครัวโดยบริหารงานโดยเจ้าของ/เครือญาติภาวะทางการตลาดส่วนใหญ่ไม่มีคู่แข่ง (ผูกขาดรายเดียว) สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่จำหน่ายในประเทศร้อยละ 57.9 ลูกจ้างส่วนใหญ่จบปริญญาตรี ร้อยละ 26.0 มีอายุกากรทำงานในช่วง 5-10 ปี รายได้ต่อเดือนๆ ละ 5,100.00-10,000.00 บาท ลูกจ้างส่วนใหญ่ไม่มีเงินออมร้อยละ 34.2 มีรายได้จากเงินทิปของลูกค้าร้อยละ 25.0 ในกรณีของปัจจัยของสถานประกอบการ ประเภทการผลิต รูปแบบการบริหารงาน ภาวะทางการตลาด ผลการประกอบการ การจัดโครงสร้างองค์กรบริหารมีผลต่อสภาพการจ้างงาน ในสถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา รวมถึงสวัสดิการทางสังคมและทางเศรษฐกิจ มาตรฐานการจ้างส่วนใหญ่จ่ายค่าจ้างรายเดือน การจ่ายค่าจ้างล่วงเวลาในวันหยุด มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนเงินทดแทน อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการทำงานวันละ 8 ชม. มีวันหยุดประจำสัปดาห์ได้รับค่าจ้างร้อ้ยละ 97.1 ได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน ร้อยละ 61.7 ได้รับค่าจ้างล่วงเวลาในวันทำงานปกติ 1.5 เท่าของค่าจ้างร้อยละ 57.2 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ในกรณีบทบาทสหภาพแรงงานนั้น สถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีสหภาพแรงงาน สำหรับสถานประกอบการที่มีสหภาพแรงงาน พบว่า สหภาพแรงงานมีบทบาทในการดำเนินการจัดทำแผนและเสนอนโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการของลูกจ้าง การมีสวัสดิการเงินช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ การมีส่วนร่วมในการผลักดันเงินโบนัส เบี้ยขยันและการเพิ่มค่าจ้างในระดับมากที่สุด สำหรับการผลักดันให้นายจ้างปรับปรุงสวัสดิการนันทนาการ และการเสริมความรู้ การปรับเพิ่มวุฒิให้กับลูกจ้างสหภาพแรงงานมีบทบาทในระดับมาก แต่โดยภาพรวมสหภาพแรงงานจะมีบทบาทในระดับมากที่สุด จากผลการศึกษาพบประเด็นที่ใคร่ของเสนอแนะดังนี้ 1. ด้านความมั่นคงในการทำงานจากการศึกษา พบว่า ลูกจ้างบางส่วนยังเป็นลูกจ้างรายวันและลูกจ้างเหมาค่าแรง ความมั่นคงในการทำงานจีงมีค่อนข้างต่ำ ภาครัฐควรจัดระบบการจ้างให้เป็นมาตรฐานให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เช่น ควรบรรจุลูกจ้างรายวันเป็นลูกจ้างรายเดือน เมื่ออายุงานไม่เกิน 2 ปี เพื่อที่จะสร้างความมั่นคงให้ลูกจ้างในการทำงาน รวมถึงควรจัดตั้งกองทุนเงินสะสมหรือเงินบำเหน็จเงินบำนาญเกษียณอายุโดยบริษัทเป็นผู้สมทบฝ่ายเดียวในกรณีที่ทำงานจนเกษียณอายุ 2. ด้านเศรษฐกิจ ลูกจ้างส่วนใหญ่มีรายได้ประมาณ 5,001-10,000 บาท และไม่มีเงินออมเป็นส่วนมาก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดียิ่งขึ้น ควรจัดให้มีโครงสร้างค่าจ้างให้มีการปรับเงินเดือน ปรับเบี้ยขยันขึ้นทุกปี รวมทั้งควรจัดให้มีการช่วยเหลือในด้านสวัสดิการต่าง ๆ ให้เพิ่มขึ้น เช่น สวัสดิการเงินกู้ (ดอกเบี้ยต่ำ) 3. ด้านการศึกษา เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ควรมีการพัฒนาความรู้ทางด้านภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 4. ด้านสวัสดิการ ควรผลักดันให้สถานประกอบการทุกแห่งมีการประกันภัยชีวิตหมู่ให้กับลูกจ้างทุกคนเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | สวัสดิการในโรงงาน | en |
dc.subject | Industrial welfare | en |
dc.subject | สวัสดิการลูกจ้าง | en |
dc.subject | สหภาพแรงงาน | en |
dc.subject | Labor unions | en |
dc.subject | ค่าจ้าง – คนงานอุตสาหกรรมรถยนต์ | en |
dc.subject | Wages -- Automobile industry workers | en |
dc.subject | ความพอใจในการทำงาน | en |
dc.subject | Job satisfaction | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมยานยนต์ | en |
dc.subject | Motor vehicle industry | en |
dc.subject | การจ้างงาน | en |
dc.subject | Employment | en |
dc.title | การศึกษาสภาพการจ้างในสถานประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ | en |
dc.title.alternative | A Study of Terms of Empolyment in the Automobili Industry | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | en |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
A-Study-of-Terms-of-Employment-in-the-Automobile-Industry.pdf Restricted Access | 21.07 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.