Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3835
Title: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่องทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก
Other Titles: The Development of a Clinical Nursing Practice Guideline for Continuing Care in Low Birth Weight Preterm Infants with Respiratory Distress Syndrome
Authors: กนกพร นทีธนสมบัติ
Kanokporn Nateetanasombat
พรศิริ พันธรังสี
Pornsiri Pantasri
พัชรินทร์ กลิ่นสุคนธ์
Patcharin Klinsukon
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ทารกคลอดก่อนกำหนด
Premature infants
น้ำหนักทารกแรกเกิดต่ำ
Birth weight, Low
ทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต
Neonatal emergencies
แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก
Clinical nursing practice guideline
Issue Date: 2007
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่องทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำ หนักน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก โดยการประยุกต์รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based Practice Model ; Soukup. 2000) เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหาในการปฏิบัติงานของพยาบาลและปัญหาของทารกภายหลังการจำหน่าย ค้นหาหลักฐานเขิงประจักษ์ โดยกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นข้อมูล ได้งานวิจัยระหว่างปี ค.ศ. 1999-2007 ที่ตรงประเด็นปัญหา จำนวน 21 เรื่อง ประกอบด้วย การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ 3 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง 6 เรื่อง งานวิจัยกึ่งทดลอง 6 เรื่อง งานวิจัยแบบศึกษาไปข้างหน้า 2 เรื่อง งานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ 2 เรื่อง และ งานวิจัยที่ศึกษาน้อยไปข้างหลัง 2 เรื่อง ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานข้อมูลโดยใช้เกณฑ์ของ สเต็ทเลอร์ (Stetler, et. Al. 1998) จากนั้นทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัยดังกล่าว จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลต่อเนื่องทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แนวปฏิบัติการพยาบาล สำหรับพยาบาลในหออภิบาลทารกแรกเกิด ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงของทารกต่อการเกิดภาวะหายใจลำบาก การประเมินอายุครรภ์ การประเมินความรุนแรงของภาวะหายใจลำบาก และ แนวปฏิบัติการพยาบาลทารก ได้แก่ 1) การหายใจ และการให้ออกซิเจน 2) การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย 3) การให้สารน้ำและสารอาหาร 4) การป้องกันการติดเชื้อ 5) การลดความเจ็บปวดจากการทำหัตถการเล็ก 6) การส่งเสริมพัฒนาการ และ 7) การช่วยเหลือครอบครัว ระยะที่ 2 คือ แนวปฏิบัติการพยาบาล สำหรับพยาบาลเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ การประเมินการเจริญเติบโต การประเมินสุขภาพทารก การประเมินสภาพจิตสังคมของผู้ดูแลและการประเมินความรู้ของผู้ดูแล ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ได้รับการตอบสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ก่อนนำไปให้พยาบาลในหออภิบาลทารกแรกเกิด และพยาบาลเยี่ยมบ้าน โรงพยาบางอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี ทดลองใช้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ข้อเสนอแนะในการศึกษา เพื่อให้ทารกได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ควรมีการฝึกอบรมพยาบาลให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลภายหลังการจำหน่ายทารก 1 เดือน และควรปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ตามองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง
The purpose of this study was to develop a clinical nursing practice guideline (CNPG) for continuing care in Low Birth Weight Preterm Infants with Respiratory Distress Syndrome. The Evidence Based Practice Model (Soukup. 2000) was modified and used as a framework of the study. The development began with problem analysis from actual nursing practice experience and the infants problem after discharged. Keywords were specified for searching the relevant evidences. Then twenty-one related literatures in 1999-2007 were selected including three systematic reviews, six randomized control trials studies, six quasi-experimental studies, two prospective observational studies, two correlational studies and two retrospective studies. All relevant evidences were evaluated base on Stetler’s frame work (Stetler, et al. 1998). Then they were analyzed and synthesized in order to develop the CNPG which consisted of two phases. The first phase was for nurses in Neonatal Intensive Care Unit (NICU) that comprised of four parts: risk assessment for respiratory distress, gestational age assessment, severity of respiratory distress assessment and guideline for caring preterm infants such as 1) respiratory care and oxygen therapy 2) thermoregulation 3) intravenous fluid and nutrition management 4) infection prevention 5) pain management after minor procedure 6) development care and 7) family assistant. While the second phase was for nurses’ Home Health Care (HHC) which consisted of growth assessment, health assessment, psychosocial assessment of caregiver and knowledgeable assessment of caregiver. Thus CNPG was validated by three experts. Then it has been used by NICU nurses and HHC nurses at Ananthamahidol Hospital, Lopburi province for two weeks. Suggestion for the effectiveness of this CNPG, training courses for nurses should be carried out in order to improve knowledges and skills along with this guideline. Evaluation of the guideline should be performed within one month after discharges. Furthermore guideline should be continuously refined to ensure its usefulness whenever further research and knowledge become available.
Description: การศึกษาอิสระ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3835
Appears in Collections:Nursing - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The-Development-of-a-Clinical-Nursing-Practice-Guideline-for-Continuing-.pdf
  Restricted Access
24.05 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.