Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3836
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล | - |
dc.contributor.advisor | Thipaporn Phothithawil | - |
dc.contributor.author | พัชรนันท์ อิ่มทั่ว | - |
dc.contributor.author | Phatcharanan Imthua | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2025-05-04T04:14:33Z | - |
dc.date.available | 2025-05-04T04:14:33Z | - |
dc.date.issued | 2007 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3836 | - |
dc.description | การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัย เรื่อง “การรับรู้ทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และความสนใจในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ :ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และเพื่อศึกษาความสนใจของนักเรียนในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการศึกษาสังคมสงเคราะห์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาครั้งนี้นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 395 คนผลการศึกษา พบว่า ด้านการรับรู้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์โดยมีแหล่งของการรับรู้มาจากสถานีโทรทัศน์มากที่สุดและเหตุผลหลักที่ต้องการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ คือต้องการรับรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาด้านทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่แน่ใจกับทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ในด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ย 3.22กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ด้านความรู้สึก มีค่าเฉลี่ย 3.95และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ด้านการปฏิบัติโดยทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ มีค่าเฉลี่ย 3.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .78โดยเข้าใจว่าการสังคมสงเคราะห์ คือ การให้/การทำทาน/การบริจาค ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ว่าคนในสังคมยังมีเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสงเคราะห์และการสังคมสงเคราะห์นั่นเองด้านความสนใจในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนก็ได้และส่วนใหญ่มีแนวโน้มที้ต้องการศึกษาต่อถึงระบบปริญญาโทแต่ไม่ต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์โดยให้เหตุผลที่ไม่เลือกศึกษาต่อในสาขาวิชานี้เพราะไม่ชอบ ส่วนผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชานี้ให้เหตุผลว่า ต้องการเรียนเพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือผู้อื่นและยังพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 2 แห่ง คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเปิดสอนหลักสูตรสงเคราะห์ศาสตร์ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาการศึกษาสังคมสงเคราะห์ คือการศึกษาสังคมสงเคราะห์ไม่เป็นที่นิยม น่าจะมาจากมีการประชาสัมพันธ์ที่น้อยเกินไปควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น ควรเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ให้บุคคลอื่นรู้จักมากขึ้นควรสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนว่าหากจบการศึกษาแล้วมีงานรองรับแน่นอนรัฐควรให้ความสนับสนุนการศึกษาด้านนี้ เพื่อให้มีผู้ปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์มากขึ้นเป็นกำลังในการพัฒนาสังคม ควรขยายการศึกษาสังคมสงเคราะห์ให้เปิดสอนในมหาวิทยาลัยทุกแห่งและควรเพิ่มรายได้ให้กับผู้ทำงานด้านนี้เพื่อให้มีคนสนใจเรียนมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาการศึกษาสังคมสงเคราะห์โดยเพิ่มบทบาทของสถาบันการศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตทางสังคมสงเคราะห์ให้กว้างและครอบคลุมในด้านการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และต้องทำให้การศึกษาสังคมสงเคราะห์ได้รับความสนใจ เป็นที่ยอมรับและมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนโทรทัศน์เป็นแหล่งที่เยาวชนนิยมและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกใช้สื่อโทรทัศน์ในการเผยพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และควรพิจารณาสื่ออื่น ๆ ที่เยาวชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เช่น อินเตอร์เน็ต บริการแนะแนวในโรงเรียนเป็นต้น ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิชาชีพสงเคราะห์เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของความเป็นวิชาชีพสำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงการเรียนการสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ ในระดับอุดมศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ควรมีการวางแผนสำหรับประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ ในการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและควรจัดให้มีโครงการพิเศษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อฝึกทักษะเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ในหน่วยงานทางสังคมสงเคราะห์ ในช่วงปิดภาคเรียนโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนในการตัดสินเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์สำหรับนักเรียนทีเข้าร่วมโครงการต้องได้รับสิทธิพิเศษในการพิจารณาเข้าศึกษาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย – ไทย – กรุงเทพฯ – ทัศนคติ | en |
dc.subject | High school students – Thailand – Bangkok – Attitudes | en |
dc.subject | การรับรู้ | en |
dc.subject | Perception | en |
dc.subject | สังคมสงเคราะห์ -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | Public welfare -- Study and teaching | en |
dc.subject | การศึกษาขั้นอุดมศึกษา | en |
dc.subject | Education, Higher | en |
dc.title | การรับรู้ทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และความสนใจในการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3 โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | Perception, Attitude and Interest to Study Further in Social Work Profession : A Case Study of Mathyom 6th Students in Three Schools in Bangkok Metropolis | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การบริหารสังคม | en |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Perception-Attitude-and-Interest-to-Study-Further-in-Social-Work-Professional.pdf Restricted Access | 8.91 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.