Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3872
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฎฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.advisor | Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya | - |
dc.contributor.author | พิศมัย เสนาวงค์ | - |
dc.contributor.author | Pismai Sanawong | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2025-05-19T11:14:27Z | - |
dc.date.available | 2025-05-19T11:14:27Z | - |
dc.date.issued | 2005 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3872 | - |
dc.description | ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับการตอบสนองความต้องการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง จำนวน 257 คน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและด้านการลดการพึ่งพาผู้อื่นสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านความรักความอบอุ่น ด้านการงานและด้านเศรษฐกิจ และด้านการงานอยู่ในลำดับสุดท้าย การศึกษาปัจจัยด้านลักษณะของผู้สูงอายุ การสนับสนุนทางสังคม การทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ และสัมพันธภาพในครอบครัวของผู้สูงอายุ กับการได้รับการตอบสองความต้องการของผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยมีดังนี้ การได้รับการตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับลักษณะการถดถอยของผู้สูงอายุ การได้รับการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์และสังคม และด้านข่าวสาร และการดูแลสุขภาพของตนเอง หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีรายได้และสิ่งอำนวยความสะดวกมาก จะเป็นผู้ที่ได้รับความรักและการดูแลจากครอบครัว ได้รับช้อมูลข่าวสารจากโลกภายนอก และมีการตรวจสุขภาพและปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์เป็นประจำด้วย การได้รับการตอบสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทุกด้าน คือ ผู้สูงอายุที่มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแข็งแรง สภาพแวดล้อมดี จะได้รับการสนับสนุนเงินทอง สิ่งของจากครอบครัว ได้รับความรักความอบอุ่น และข้อมูลข่าวสารจากครอบครัว ทำกิจกรรทั้งทางศาสนาภารกิจในบ้าน และใช้เวลาว่างได้ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัว มีการดูแลเรื่องอาหารการกินดี รวมทั้งรักษาความสะอาดของร่างกายและมีการขับถ่ายดีด้วย การได้รับการตอบสนองความต้องการด้านความรัก มีความสัมพันธ์กับการได้รับการสนับสนุนด้านปัจจัย 4 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากครอบครัว มีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและมีการดูแลตนเองด้านอาหารการกินดีด้วย การได้รับการตอบสนองความต้องการด้านการงาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายลักษณะ คือ ผู้สูงอายุที่มีงานทำจะเป็นผู้ที่ยอมรับการสูงอายุได้ดี ได้รับความรัก ความอบอุ่นและข้อมูลข่าวสารจากครอบครัว ทำกิจกรรมทั้งทางศาสนา ภารกิจในบ้านและใช้เวลาว่างได้ดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัว ดูแลสุขภาพตนเองดี ทั้งการรับประทานอาหาร การดูแลตนเอง การรักษาความสะอาดร่างกายและการขับถ่าย การได้รับการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายด้าน เช่นกัน คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลยามเจ็บป่วย โดยลกหลานเป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนปัจจัย 4 จากครอบครัว ได้รับการยอมรับและความรักความอบอุ่น ได้รับข้อมูลข่าวสาร ทำกิจกรรมทางศาสนาได้ดี และการดูแลตนเองดีทั้งด้านการรับประทานอาหาร ความสะอาดของร่างกายและการขับถ่าย การได้รับตอบสนองความต้องการด้านการลดการพึ่งพาผู้อื่น มีความสัมพันธ์กับการได้รับการสนับสนุนทางร่างกายด้านอารมณ์และสังคม ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านการดูแลสุขภาพของตนเอง หมายความว่า ผู้สูงอายุที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองได้ดี เป็นผู้ที่ได้รับความรักความอบอุ่นและข้อมูลข่าวสารจากครอบครัว และมีการตรวจสุขภาพและปฏิบัติตนตามแพทย์แนะนำด้วย จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรจะมีการส่งเสริมในเรื่องชองการจัดบริการต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ และควรส่งเสริมในเรื่องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป | en |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.rights | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ – ไทย | en |
dc.subject | Older people – Thailand | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ – ความสัมพันธ์ในครอบครัว | en |
dc.subject | Older people -- Family relationships | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ – บริการที่ได้รับ | en |
dc.subject | Older people -- Services for | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ – สุขภาพและอนามัย | en |
dc.subject | Older people -- Health and hygiene | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ – การดำเนินชีวิต | en |
dc.subject | Older people -- Conduct of life | en |
dc.subject | ความต้องการ (จิตวิทยา) | en |
dc.subject | Need (Psychology) | en |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | en |
dc.subject | Social support | en |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับการตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ | en |
dc.title.alternative | Factors Relating to Need Fulfilment of Agings in Teparuk District, Amphur Muang, Samutprakarn Province | en |
dc.type | Independent Studies | en |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | การบริหารสังคม | en |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Factors-Related-to-Need-Fulfilment-of-Aging.pdf Restricted Access | 8.65 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.