Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/389
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กนกพร นทีธนสมบัติ | - |
dc.contributor.advisor | นภาพร แก้วนิมิตชัย | - |
dc.contributor.advisor | Kanokporn Nateetanasombat | - |
dc.contributor.advisor | Napaporn Kaewnimitchai | - |
dc.contributor.author | บุษกร แก้วเขียว | - |
dc.contributor.author | Budsakorn Kaewkhieo | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing | - |
dc.date.accessioned | 2022-06-06T13:34:45Z | - |
dc.date.available | 2022-06-06T13:34:45Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/389 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2559 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ ระดับความรู้ของโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร และความรู้ด้านการพยาบาลโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เรของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานทางคลินิกในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานทางคลินิกในหอผู้ป่วยอายุกรรม และหอผู้ป่วยหนักอายุกรรม จำนวน 74 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ของโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร แบบประเมินความรู้ด้านการพยาบาลโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ พยาบาลวิชาชีพมีระดับความสามารถอยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญเป็นส่วนใหญ่ จำนวน 36 คน ร้อยละ 48.6 ซึ่งเป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี รองลงมา ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพระดับผู้เริ่มต้น จำนวน 18 คน ร้อยละ 24.3 ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 1-2 ปี พยาบาลวิชาชีพ ระดับชำนาญ จำนวน 8 คน ร้อยละ 10.8 ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 8-10 ปี พยาบาลวิชาชีพระดับผู้ปฏิบัติ จำนวน 7 คน ร้อยละ 9.5 ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 5-7 ปี พยาบาลวิชาชีพระดับผู้เรียนรู้ จำนวน 5 คน ร้อยละ 6.8 ซึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3-4 ปี ซึ่งพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานทางคลินิกมีความรู้ของโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร คะแนนความรู้เฉลี่ย 12.43, S.D. = 1.86 พิจารณาว่าเป็นผู้มีความรู้ระดับปานกลางมากที่สุด คือ ช่วงคะแนน 11-15 คะแนน จำนวน 62 คน ร้อยละ 63.8 รองลงมา ช่วงคะแนน 6-10 คะแนน จำนวน 11 คน ร้อยละ 14.9 มีความรู้ระดับน้อยและช่วงคะแนน 16-20 คะแนน จำนวน 1 คน ร้อยละ 1.4 มีความรู้ระดับมาก โดยที่คะแนนต่ำสุด คือ 9 คะแนน ร้อยละ 7.7 และคะแนนสูงสุด คือ 16 คะแนน ร้อยละ 1.5 พยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานทางคลินิกมีความรู้ด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร คะแนนความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 24.39 คะแนน S.D.= 1.81 พิจารณาว่ามีความรู้ด้านการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ระดับมาก อยู่ในช่วงคะแนน 22-28 คะแนน จำนวน 70 คน ร้อยละ 94.6 รองลงมา คือ ช่วงคะแนน 15-21 คะแนน จำนวน 4 คน ร้อยละ 5.4 มีความรู้ปานกลางโดยคะแนนต่ำสุด คือ 17 คะแนน ร้อยละ 1.4 และคะแนนสูงสุด คือ 28 คะแนน ร้อยละ 1.4 เมื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของระดับความสามารรถของพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานทางคลินิก ระดับความรู้ของโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร และความรู้ด้านการพยาบาลโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับความสามารถของพยาบาลผู้ปฏิบัติงานทางคลินิกไม่มีความสัมพันธ์กับการมีความรู้ของโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร และความรู้ด้านการพยาบาลโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ไปพัฒนาคุณภาพการพยาบาลแก่ผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | th |
dc.description.abstract | This descriptive research aimed to study the relationship between registered nurse' competencies, knowledge on Guillain-Barré Syndrome, a nd nursing knowledge on Guillain-Barré Syndrome in clinical practice in a tertiary hospital in Bangkok. The sample of this study consisted of 74 registered nurses who clinically performed at Medical Ward and Intensive Care Unit. The research instruments consisted of a demographic data, assessment form of Knowledge on Guillain-Barré Syndrome, and assessment form of Nursing Knowledge on Guillain-Barré Syndrome. Data were analyzed through descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation. The results of this research were as follows. The sample mostly was registered nurses in the level of expert (n=36, 48.6%) with over 10 years of work experience. It was followed by those registered nurses in the level of novice (n=18, 24.3%) with 1-2 year (s) of work experience ; registered nurses in the level of proficient (n=8, 10.8%) with 8-10 years of work experience ; registered nurses in the level of competent (n=7, 9.5%) with 5-7 years of work experience ; and registered nurses in the level of advance beginner (n=5, 6.8%) with 3-4 years of work experience. The samples had mean score of knowledge on Guillain-Barré Syndrome at 12.43 (S.D. =1.86). They mostly had moderate level of knoeledge on Guillain-Barré Syndrome with score from 11-15 points (n=62, 63.8%). It was followed by those with low level of knowledge on Guillain-Barré Syndrome with 6-10 points (n=11, 14.9%) ; a registered nurse with high level of knowledge on Guillain-Barré Syndrome with 16-20 points (n=1, 1.4%). The lowest mean score was 9 points (7.7%) and highest mean score was 16 points (1.2%). The samples had had mean score of nursing knoeledge on Guillain-Barré Syndrome at 24.39 (S.D.=1.81). They mostly had high level of nursing knowledge on Guillain-Barré Syndrome with score from 22-28 points (n=70, 94.6%). It was followed by those with moderate level of nursing knowledge on Guillain-Barré Syndrome with 15-21 points (n=4, 5.4%). The lowest mean score was 17 points (1.4%) and highest mean score was 28 points (1.4%). The results of relationship between variables showed that there was no statistically significant relationship between registered nurses' stage of clinical competence, knowledge of Guillain-Barré Syndrome, Nursing knowledge on Guillain-Barré Syndrome. The results of this research could be used to improve knowledge of Guillain-Barré Syndrome to nurses who provide care for patients with Guillain-Barré Syndrome and enhance knowledge of nursing care for having the quality of care with Guillain-Barré Syndrome patients. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | โรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร | th |
dc.subject | Guillain-Barré syndrome | th |
dc.subject | พยาบาล | th |
dc.subject | Nurses | th |
dc.subject | การพยาบาล | th |
dc.subject | Nursing | th |
dc.title | ความสัมพันธ์ของระดับความสามารถในการปฏิบัติงานทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพความรู้ของโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร และความรู้ด้านการพยาบาลในการดูแล | th |
dc.title.alternative | The Relationship of Registered Nurses' Stage of Clinical Competence, Knowledge of Guillain-Barre' Syndrome, and Nursing Care for Patients with Guillain-Barre' Syndrome | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การพยาบาลผู้ใหญ่ | th |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
BUDSAKORN-KAEWKHIEO.pdf Restricted Access | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.